เมนู

ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ 5


* วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังต่อไปนี้ :-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องการห้ามภัต]


หลายบทว่า ภิกฺขู ภุตฺตาวี ปวาริตา มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย
อันพราหมณ์ปวารณา ด้วยปวารณาจนพอแก่ความต้องการอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงรับเท่าที่ที่ท่านปรารถนาเถิด และห้ามด้วยตนเอง
ด้วยการห้ามคือการปฏิเสธอย่างนี้ว่า พอละ อาวุโส ! จงถวายแต่น้อย ๆ เถิด.
บทว่า ปฏิวิสฺสเก คือ พวกเพื่อนบ้านผู้อยู่ในเรึอนใกล้เคียง.
บทว่า กาโกรวสทฺทํ ได้แก่ เสียงพวกนกการ้องเกรียวกราว คือ
เสียงฝูงนกกาจับกลุ่มกันร้องระเบ็งเซ็งแซ่ ในคำว่า อลเมตํ สพฺพนฺติ นี้
จะไม่ตรัส ติ อักษรเลย ตรัสเพียง อลเมตํ สพฺพํ (ทั้งหมดนั่นพอแล้ว)
เท่านี้ ก็สมควร.
บทว่า ภุตฺตาวี แปลว่า ผู้ฉันเสร็จ ก็เพราะภิกษุใด เคี้ยวก็ตาม
ไม่เคี้ยวก็ตาม กลืนกินเมล็ดข้าวแม้เมล็ดเดียวเข้าไป, ภิกษุนั้นถึงการนับว่า ผู้
ฉันเสร็จ ในบทว่า ภุตฺตาวี นั้น. เพราะเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทนั้น
จึงตรัสคำว่า ภุตฺตาวี นาม ปญฺจนฺนํ โภชนานํ ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ปวาริโต คือ ผู้มีการห้าม (ภัต) อันทำแล้ว คือ มีการ
ปฏิเสธอันทำแล้ว . ก็เพราะการห้ามแม้นั้น ไม่ใช่ว่าจะทำสำเร็จได้ด้วยเหตุเพียง
การปฏิเสธ, โดยที่แท้ ย่อมสำเร็จได้ด้วยอำนาจองค์ 5. ด้วยเหตุนั้น ใน
* ในสิกขาบทนี้ ศัพท์ทั่วไป และศัพท์ที่เป็นชื่อธัญชาติต่าง ๆ ที่แปลไว้เท่าที่หาได้ ไม่แน่ใจ
ว่าถกทั้งหมด จึงขอฝากท่านผู้รู้ไว้พิจารณาแก้ไขต่อไป. ผู้ชำระ.

บทภาชนะแห่งบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปวาริโต นาม อสนํ
ปญฺญายติ
เป็นต้น.
เพราะบรรดาองค์ 5 นั้น ด้วยองค์ว่า อสนํ ปญฺญายติ นี้ ภิกษุ
ผู้ฉันค้างอยู่ จึงเป็นอันเรียกว่า ผู้ห้ามภัต, ส่วนภิกษุใด ชื่อว่าผู้ฉันค้างอยู่,
โภชนะบางอย่างภิกษุนั้นฉัน แล้ว บางอย่างยังไม่ได้ฉัน และเพราะหมายเอา
โภชนะที่เธอฉันแล้ว จึงถึงการนับว่า ผู้ฉันเสร็จ ; เพราะฉะนั้น ด้วยคำว่า
ภุตฺตาวี เราจึงไม่เห็นความสำเร็จประโยชน์อะไรแผนกหนึ่ง. ก็คำว่า ภุตฺตาวี
นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยความเป็นบทบริวาร
แห่งบทว่า ปวาริตะ และโดยความเป็นพยัญชนะสละสลวย ดุจคำว่า 2 คืน
เป็นต้น ในคำว่า 2 - 3 คืน. . .6 คำ 5 คำ. . .เป็นต้น.
ในองค์ว่า อสนํ ปญฺญายติ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้. การฉัน
ค้างปรากฏ, อธิบายว่า ถ้าบุคคลผู้กำลังฉันนี้อยู่.
องค์ว่า โภชนํ ปญฺญายติ ได้แก่ โภชนะเพียงพอแก่การห้าม
ปรากฏอยู่. อธิบายว่า ถ้าโภชนะมีข้าวสุกเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะพึง
ห้ามมีอยู่.
องค์ว่า หตฺถปาเส ฐิโต มีความว่า หากทายกถือเอาโภชนะเพียง
พอแก่การห้ามอยู่ในโอกาสประมาณ 2 ศอกคืบ.
องค์ว่า อภิหรติ มีความว่า ถ้าทายกนั้น น้อมภัตนั้นถวายแก่ภิกษุ
นั้น ด้วยกาย.
องค์ว่า ปฏิกฺเขโป ปญฺญายติ คือ การห้ามปรากฏ. อธิบายว่า
ถ้าภิกษุนั้นปฎิเสธโภชนะที่เขาน้อมถวายนั้น ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี. ภิกษุ
ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าห้ามภัตแล้ว ด้วยอำนาจแห่งองค์ 5 ด้วยประการอย่างนี้แล.

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนอุบาลี ! การห้าม (ภัต)
ย่อมมี ด้วยอาการ 5 อย่าง คือ การฉันปรากฏ 1 โภชนะปรากฏ 1 ทายก
อยู่ในหัตถบาส 1 ทายกน้อมถวาย 1 การห้ามปรากฏ11.

[ว่าด้วยโภชนะและธัญชาติ 7 ชนิด]


ในปวารณาธิการนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสนํ เป็นต้นก่อน ภิกษุฉันโภชนะใด
และห้ามโภชนะใดที่ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย, โภชนะนั้นบัณฑิตพึงทราบ
ว่าเป็นโภชนะเหล่านี้ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ อย่างใด
อย่างหนึ่งนั่นแล.
บรรดาโภชนะมีข้าวสุกเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า ข้าวสุก ได้แก่ ข้าวสุก
ที่เกิดจากธัญชาติ 7 ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวละมาน
ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้.
บรรดาธัญชาติ 7 ชนิด มีข้าวสาลีเป็นต้นนั้น กำเนิดข้าวสาลี แม้
ทุกจำพวก ชั้นที่สุดจนกระทั่งลูกเดือย ชื่อว่า ข้าวสาลี. กำเนิดข้าวจ้าวแม้
ทุกชนิด ชื่อว่า วีหิ. ในข้าวเหนียวและข้าวละมาน ไม่มีความแตกต่างกัน.
เมล็ดข้าวฟ่าง เช่นข้าวฟ่างสีขาว สีแดง และสีดำ แม้ทุกชนิด ชื่อว่า กังคุ.
เมล็ดลูกเดือย มีสีขาว แม้ทุกชนิด ชั้นที่สุดจนกระทั่งข้าวฟ่างชาวเมือง (ข้าว
โพดกระมัง2?) ชื่อว่า วรกะ. หญ้ากับแก้ดำ และติณธัญชาติแม้ทุกชนิด
เช่น หญ้าข้าวนก (ข้าวละมานหรือข้าวฟ่างก็ว่า) เป็นต้น ชื่อว่า กุทรุสกะ.
1. วิ. ปริวาร. 8/461. 2. บางแห่งว่าแฝกหอม น่าจะเป็นข้าวโพด เพราะแปลตามศัพท์ว่า
ข้าวฟ่างชาวเมือง. - ผู้ชำระ