เมนู

ภิกษุคิดว่าเป็นคราวที่ถวายจีวร แล้วฉันได้
ที่ชื่อว่า คราวที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังทำจีวรกันอยู่.
ภิกษุคิดว่า เป็นคราวที่ทำจีวรกัน แล้วฉันได้.
เว้นไว้แต่สมัย ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[492] โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่าโภชนะทีหลัง เว้น ไว้แต่สมัย
ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
โภชนะทีหลัง ภิกษุสงสัย เว้น ไว้แต่สมัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่ามิใช่โภชนะทีหลัง เว้น ไว้แต่สมัย ฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ


ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่าโภชนะทีหลัง . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสงสัย. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่ามิใช่โภชนะทีหลัง . . .ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร


[493] ภิกษุฉันในสมัย 1 ภิกษุวิกัปแล้วฉัน 1 ภิกษุฉันบิณฑบาต
ที่รับนิมนต์ไว้ 2-3 แห่งรวมกัน 1 ภิกษุฉันตามลำดับที่รับนิมนต์ 1 ภิกษุ
รับนิมนต์ชาวบ้านทั้งมวลแล้วฉัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในตำบลบ้านนั้น 1

ภิกษุรับนิมนต์หมู่ประชาชนทุกเหล่าแล้วฉัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในประชาชน
หมู่นั้น 1 ภิกษุถูกเขานิมนต์ แต่บอกว่า จักรับภิกษา 1 ภัตตาหารที่เขา
ถวายเป็นนิตย์ 1 ภัตตาหารที่เขาถวายด้วยสลาก 1 ภัตตาหารที่เขาถวายใน
ปักษ์ 1 ภัตตาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ 1 ภัตตาหารที่เขาถวายในวัน
ปาฏิบท 1 ภิกษุฉันอาหารทุกชนิดเว้นโภชนะห้า 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

โภชนวรรค ปรัมปรโภชนสิกขาบทที่ 3


ในสิกขาบทที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องปรัมปรโภชนะ]


คำว่า น โข อิทํ โอรกํ ภวิสฺสติ ยถา อิเม มนุสฺสา
สกฺกจฺจํ ภตฺตํ กโรนฺติ
มีความว่า มนุษย์พวกนี้ทำภัตตาหารโดยเคารพ
โดยทำนองที่เป็นเหตุให้พระศาสนานี้ หรือทานในพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขนี้ ปรากฏชัด จักไม่เป็นทานต่ำต้อยเลย คือจักไม่เป็นกุศลเล็กน้อย
เลวทรามเลย.
คำว่า กิร ในบทที่ว่า กิรปติโก นี้ เป็นชื่อของกุลบุตรนั้น. ก็
กุลบุตรนั้นเขาเรียกว่า กิรปติกะ เพราะอรรถว่า เป็นอธิบดี (เป็นใหญ่).
ได้ยินว่า เขาเป็นใหญ่ เป็นอธิบดี ให้ค่าจ้างใช้กรรมกรทำงานโดยกำหนด
เป็นรายเดือน ฤดู และปี. กรรมกรผู้ยากจนนั้น กล่าวคำว่า พทรา
ปฏิยตฺตา
นี้ ด้วยอำนาจโวหารของชาวโลก.