เมนู

เรื่องจีวรการสมัย


[489] ต่อมาอีก ประชาชนนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำจีวรฉัน
ภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่าโภชนะทีหลัง พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำจีวรกัน
เราอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลังได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ 3


82.3 ง. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง
นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ คราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร
นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องจีวรการสมัย จบ

เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้


[490] ครั้งนั้นแลเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสก
แล้ว ทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จเข้าสู่ตระกูล
แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย จึงชาวบ้าน
เหล่านั้นได้ถวายโภชนาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและท่านพระอานนท์ ท่าน
พระอานนท์รังเกียจ ไม่รับประเคน.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า รับเถิด อานนท์.
พระอานนท์กราบทูลว่า ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า เพราะความหวัง
จะได้ภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงวิกัปแล้วรับเถิด.
ครั้นแล้วพระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้วิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้แล้วฉันโภชนะทีหลังได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงวิกัปอย่างนี้ :-
คำวิกัปภัตตาหาร
ข้าพเจ้าให้ภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ของข้าพเจ้า แก่ท่านผู้มีชื่อนี้.
เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[491] ที่ชื่อว่า โภชนะที่หลัง ความว่า ภิกษุรับนิมนต์ด้วย
โภชนะ 5 อย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้ว เว้นโภชนะนั้น ฉันโภชนะ 5 อย่างใด
อย่างหนึ่งอื่นนี่ชื่อว่า โภชนะทีหลัง.
บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า คราวเป็นไข้ คือ ไม่สามารถจะเป็นผู้นั่งบนอาสนะอันเดียว
ฉันจนอิ่มได้.
ภิกษุคิดว่าเป็นคราวอาพาธ แล้วฉันได้
ที่ชื่อว่า คราวที่ถวายจีวร คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน ได้ท้าย
ฤดูฝน 1 เดือน เมื่อกฐินกรานแล้ว เป็น 5 เดือน.