เมนู

ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่เหลือ เพราะเป็นคณปูรกะ. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา
พึงทราบจตุกกะด้วยอำนาจแม้แห่งภิกษุผู้ได้จีวรทานสมัยเป็นต้น.
ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งในภิกษุ 4 รูป แม้ผู้รับนิมนต์แล้วไป
กล่าวว่า ผมจักแยกคณะของพวกท่าน, ขอพวกท่านจงรับการนิมนต์ เมื่อพวก
ชาวบ้านจะรับบาตรเพื่อประโยชน์แก่ภัต ในที่สุดแห่งยาคูและของควรเคี้ยว
ไม่ให้ (บาตร) กล่าวว่า พวกท่านให้ภิกษุเหล่านั้นฉัน แล้วส่งกลับไปก่อน,
อาตมาทำอนุโมทนาแล้วจักไปตามหลัง แล้วนั่งอยู่, ครั้นภิกษุเหล่านั้นฉันเสร็จ
แล้วไป, เมื่ออุบาสกกล่าวว่า โปรดให้บาตรเถิด ขอรับ แล้ว รับบาตรไป
ถวายภัตฉันเสร็จทำอนุโมทนาแล้วจึงไป, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป
จริงอยู่ ความผิดสังเกตในคณโภชนะ ย่อมไม่มีด้วยอำนาจแห่งโภชนะ
5 อย่างเลย. พวกภิกษุรับนิมนต์ด้วยข้าวสุก แม้รับขนมกุมมาส ก็ต้องอาบัติ
และโภชนะเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้รับรวมกัน. แต่มีความผิดสังเกตด้วย
อาหารวัตถุมียาคูเป็นต้น. ยาคูเป็นต้นเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นรับรวมกันได้แล.
ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่ง ย่อมทำไม่ให้เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุเหล่าอื่น ด้วยประการ
อย่างนี้.

[ว่าด้วยวิธีนิมนต์พระรับภิกษา]


เพราะฉะนั้น ถ้าคนบางคนถูกผู้ประสงค์จะทำสังฆภัต วานไปเพื่อ
ต้องการให้นิมนต์ (พระ) มายังวิหาร ไม่กล่าวว่า ท่านขอรับ พรุ่งนี้นิมนต์
รับภิกษาในเรือนของพวกกระผม กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับภัต ก็ดี ว่า นิมนต์
ท่านรับสังฆภัต ก็ดี ว่า ขอสงฆ์จงรับภัต ก็ดี, พระภัตตุทเทสก์พึงเป็นผู้ฉลาด.
พึงเปลื้องพวกภิกษุผู้รับนิมนต์จากคณโภชน์ , พึงเปลื้องภิกษุพวกถือปิณฑิ-
ปาติกธุดงค์จากความแตกแห่งธุดงค์.

คืออย่างไร ? คือ พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวอย่างนั้นก่อนว่า พรุ่งนี้
ไม่อาจ (รับ) อุบาสก ! เมื่ออุบายสกกล่าวว่า มะรืนนี้ ขอรับ ! พึงกล่าวว่า
มะรืนนี้ก็ไม่อาจ (รับได้) อุบายสกเลื่อนไปอย่างนั้น แม้จนถึงกึ่งเดือน พระ-
ภัตตุทเทสก์พึงพูดอีกว่า ท่านพูดอะไร ? ถ้าแม้นอุบายสกพูดย้ำอีกว่า นิมนต์
ท่านรับสังฆภัต, ลำดับนั้น พระภัตตุทเทสก์พึงทำไขว้เขวไปอย่างนี้ว่า อุบาสก !
จงทำดอกไม้นี้ จงทำหญ้านี้ ให้เป็นกัปปิยะก่อน แล้วย้อนถามอีกว่า ท่าน
พูดอะไร ? ถ้าแม้น เขายังพูดซ้ำแม้อย่างนั้นนั่นแหละ, พึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ !
ท่านจักไม่ได้พระมหาเถระ ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ท่านจักได้พวกสามเณร.
และเมื่อเขาถามว่า ท่านขอรับ ! พวกคนในบ้านโน้นและบ้านโน้น นิมนต์ให้
พระคุณเจ้าผู้เจริญฉัน มิใช่หรือ ผมจะไม่ได้ เพราะเหตุไร ? พึงกล่าวว่า
พวกเขารู้จักนิมนต์ (ส่วน) ท่านไม่รู้จักนิมนต์. เขาถามว่า ท่านขอรับ !
พวกเขานิมนต์อย่างไร ? พึงกล่าวว่า พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์รับภิกษา
ของพวกกระผมขอรับ ! ถ้าแม้นเขากล่าวเหมือนอย่างที่พูดนั้นแล, การนิมนต์
นั้นสมควร.
ถ้าเขายังกล่าวซ้ำอีกว่า นิมนต์รับภัต พึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ! คราวนี้
ท่านจักไม่ได้ภิกษุมาก จักได้เพียง 3 รูปเท่านั้น. ถ้าเขาถามว่า ท่านขอรับ !
พวกชาวบ้านโน้นบ้านโน้นและบ้านโน้น นิมนต์ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดให้ฉันมิใช่หรือ ?
ผมจะไม่ได้เพราะเหตุไรเล่า ? พึงกล่าวว่า ท่านไม่รู้จักนิมนต์. ถ้าเขาถามว่า
ท่านขอรับ ! พวกเขานิมนต์อย่างไร พึงกล่าวว่า พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านขอรับ ! นิมนต์รับภิกษาของพวกกระผม. ถ้าแม้นเขากล่าวเหมือนอย่างที่
พูดนั้นนั่นแหละ, การนิมนต์นั่นสมควร.

ถ้าเขาพูดว่า ภัตรเท่านั้น แม้อีก. ทีนั้น พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวว่า
ไปเสียเถิดท่าน, พวกเราไม่มีความต้องการด้วยภัตของท่าน บ้านนี้เป็นที่เที่ยว
ไปบิณฑบาตประจำของพวกเรา, พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนี้. เขา
กล่าวว่า นิมนต์ท่านเที่ยวไปยังบ้านนั้นเถิด ขอรับ ! แล้วกลับมา ชาวบ้าน
ถามว่า ผู้เจริญ ! ท่านได้พระแล้วหรือ ? เขาพูดว่า ในเรื่องนิมนต์นี้ มีคำ
จะต้องพูดมาก, จะมีประโยชน์อะไร ด้วยคำพูดที่จะพึงกล่าวให้มากนี้. พระเถระ
ทั้งหลายพูดว่า พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตพรุ่งนี้, คราวนี้พวกท่านอย่า
ประมาท.
ในวันรุ่งขึ้น พระสังฆเถระพึงบอกภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำเจติยวัตรแล้ว
ยืนอยู่ว่า คุณ ! ที่บ้านใกล้มีสังฆภัต, แต่คนไม่ฉลาดได้ไปแล้ว, ไปเถิด
พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านใกล้. พวกภิกษุพึงทำตามคำของพระเถระ
ไม่พึงเป็นผู้ว่ายาก, พึงเที่ยวไปบิณฑบาต อย่ายืนที่ประตูบ้านเลย. เมื่อชาวบ้าน
เหล่านั้นรับบาตรนิมนต์ให้นั่งฉัน พึงฉันเถิด. ถ้าเขาจัดวางภัตไว้ที่หอฉันแล้ว
เที่ยวไปบอกในถนนว่า นิมนต์รับภัตที่หอฉัน ขอรับ ! ไม่สมควร. แต่ถ้าเขา
ถือเอาภัตไปในที่นั้น ๆ เรียนว่า นิมนต์รับภัตเถิด หรือรีบนำไปยังวิหารทีเดียว
วางไว้ในที่อันสมควร แล้วถวายแก่พวกภิกษุผู้มาถึงแล้ว ๆ, ภิกษานี้ ชื่อว่า
ภิกษาที่เขานำมาจำเพาะ ย่อมสมควร.
แต่ถ้าเขาเตรียมทานไว้ที่โรงครัว แล้วเที่ยวไปยังบริเวณนั้น ๆ เรียน
ว่า นิมนต์รับภัตที่โรงครัว ไม่สมควร. แต่พวกชาวบ้านใด พอเห็นพวกภิกษุ
ผู้เข้าไปบิณฑบาต ก็ช่วยกันกวาดหอฉัน นิมนต์ให้นั่งฉัน ที่หอฉันนั้น. ไม่
พึงปฏิเสธชนเหล่านั้น. แต่ชนเหล่าใด เห็นพวกภิกษุผู้ไม่ได้ภิกษาในบ้าน
กำลังออกจากบ้านไป เรียนว่า นิมนต์รับภัตเถิด ขอรับ ! ไม่พึงปฏิเสธคน

เหล่านั้น. หรือว่า ไม่พึงกลับ ถ้าพวกเขาพูดว่า นิมนต์กลับเถิด ขอรับ !
ขอนิมนต์รับภัต จะกลับไปในบทที่เขากล่าวว่า นิมนต์กลับเถิด ก็ได้.
ชาวบ้านกล่าวว่า นิมนต์กลับเถิดขอรับ ! ภัตในเรือนทำเสร็จแล้ว,
ภัตในบ้านทำเสร็จแล้ว. จะกลับไปด้วยคิดว่า ภัตในเรือนและในบ้าน ย่อมมี
เพื่อใครคนใดคนหนึ่งก็ได้ สมควรอยู่. เขากล่าวให้สัมพันธ์กัน ด้วยคำว่า นิมนต์
กลับไปรับ ภัตเถิด ดังนี้ จะกลับไปไม่ควร. แม้ในคำที่ชาวบ้านเห็นพวกภิกษุ
ผู้กำลังออกจากโรงฉันไปเพื่อเที่ยวบิณฑบาต แล้วกล่าวว่า นิมนต์นั่งเถิด
ขอรับ ! ขอนิมนต์รับภัต ดังนี้ ก็นัยนี้นั่นแล.
ภัตประจำ เรียกว่า นิตยภัต. ชาวบ้านพูดว่า นิมนต์รับนิตยภัต
จะรับร่วมกันมากรูป ก็ควร. แม้ในสลากภัตเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแล. บทที่
เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตทกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
คณโภชนสิกขาบทที่ 2 จบ

โภชนวรรค สิกขาบทที่ 3


เรื่องบุรุษเข็ญใจ


[486] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร
ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ประชาชนได้จัดทั้งลำดับ
ภัตตาหารอัน ประณีตไว้ นพระนครเวสาลี คราวนั้น กรรมกรเข็ญใจคนหนึ่ง
ดำริว่า ทานนี้จักไม่เป็นกุศลเล็กน้อย เพราะประชาชนพวกนี้ทำภัตตาหารโดย
เคารพ ผิฉะนั้น เราควรทำภัตตาหารบ้าง ดังนั้นเขาจึงเข้าไปหานายกิรปติกะ
บอกความจำนงว่า คุณครับ กระผมปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ขอท่านโปรดให้ค่าจ้างแก่กระผม แม้นายกิรปติกะนั้น
ก็เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส เขาจึงได้ให้ค่าจ้างแก่กรรมกรเข็ญใจนั้นเกินปกติ
ฝ่ายกรรมกรเข็ญใจนั้น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลอาราธนาว่า ขอพระองค์พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อ
เจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่นัก เธอจงทราบ
กรรมกรนั้นกราบทูลว่า ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ก็ไม่เป็นไร พระพุทธเจ้าข้า ผล
พุทราข้าพระพุทธเจ้าจัดเตรียมไว้มาก อาหารที่เป็นเครื่องดื่มเจือด้วยผลพุทรา
จักบริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นเขาทราบการรับ
นิมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายทราบข่าวว่า กรรมกรเข็ญใจผู้หนึ่ง