เมนู

ไปพร้อมกันเพื่อฉันในวันนี้ หรือเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ด้วยอำนาจแห่งเวลา
ที่เขากำหนดไว้รับรวมกัน ฉันรวมกัน จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ทั้งหมด.
ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์รวมกัน ต่างคนต่างฉัน ก็เป็นอาบัติเหมือน
กัน. จริงอยู่ การรับประเคนนั่นแหละเป็นประมาณในสิกขาบทนี้. ภิกษุทั้ง-
หลายรับนิมนต์รวมกัน จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกันก็ตาม, รับประเคนต่าง
กัน จะฉันรวมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุทั้งหลายไปยังบริเวณ หรือวิหาร 4 แห่ง รับนิมนต์ต่างกันหรือ
บรรดาภิกษุผู้ยืนอยู่ในที่แห่งเดียวกันนั่นแหละ รับนิมนต์ต่างกัน แม้อย่างนี้
คือ ลูกชายนิมนต์ 1 รูป บิดานิมนต์ 1 รูป จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกัน
ก็ตาม, จะฉันพร้อมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ถ้ารับประเคนรวมกัน จัดเป็น
คณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างนั้นก่อน.
ย่อมเป็นไปโดยวิญญัติอย่างไร คือ ภิกษุ 4 รูป ยืน หรือนั่งอยู่
ด้วยกัน เห็นอุบายสกแล้วออกปากขอว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่พวกเรา ทั้ง
4 รูป ดังนี้ ก็ดี ต่างคนต่างเห็นแล้วออกปากขอรวมกัน หรือขอต่างกัน อย่าง
นี้ว่า ท่านจงถวายแก่เรา, ท่านจงถวายแก่เรา ดังนี้ก็ดี จะไปพร้อมกัน หรือ
ไปต่างกันก็ตาม, แม้รับประเคนภัตแล้ว จะฉันร่วมกันหรือฉันต่างกันก็ตาม,
ถ้ารับประเคนรวมกัน, จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด, ย่อม
เป็นไปโดยวิญญัติอย่างนี้,

[ว่าด้วยสมัยที่ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้]


สองบทว่า ปาทาปิ ผาลิตา มีความว่า (เท้าทั้ง 2) แตกโดย
อาการที่เนื้อปรากฏให้เห็นข้างหน้าหนังใหญ่ เพียงถูกทรายหรือกรวดกระทบ

ก็ก่อให้เกิดทุกข์ขึ้น ไม่สามารถจะไปเที่ยวบิณฑบาตภายในบ้านได้. ในอาพาธ
เช่นนั้น ควรฉันได้ด้วยคิดว่า เป็นคราวอาพาธ (แต่) ไม่ควรทำให้เป็น
กัปปิยะด้วยเลศ.
สองบทว่า จีวเร กริยมาเน มีความว่า ในคราวที่พวกภิกษุได้ผ้า
และด้ายแล้วกระทำจีวร. แท้จริง ชื่อว่า จีวรการสมัย แผนกหนึ่งไม่มี. เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรทำในจีวรนั้น สมดังที่ท่าน
กล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ชั้นที่สุดภิกษุผู้ร้อยเข็ม (ผู้สนเข็ม) ดังนี้ก็มี, ภิกษุ
นั้นควรฉันได้ด้วยคิดว่า เป็นจีวรการสมัย.
ส่วนในกุรุนทีท่านกล่าวไว้โดยพิสดารทีเดียวว่า ภิกษุใด กะจีวร ตัด
จีวร ด้นด้ายเนา ทาบผ้าเพาะ เย็บล้มตะเข็บ ติดผ้าดาม ตัดอนุวาท ฟัน
ด้าย เย็บสอยตะเข็บในจีวรนั้น กรอด้าย ม้วนด้าย (ควบด้าย) ลับมีดเล็ก
ทำเครื่องปั่นด้าย, ภิกษุแม้ทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่า ทำจีวรทั้งนั้น, แต่ภิกษุ
ใดนั่งใกล้ ๆ กล่าวชาดกก็ดี ธรรมบทก็ดี ภิกษุนี้ไม่ใช่ผู้ทำจีวร, ยกเว้นภิกษุ
นี้เสีย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่เหลือ เพราะคณโภชนะ.
บทว่า อฑฺฒโยชนํ ได้แก่ ผู้ประสงค์จะเดินทางไกลแม้ประมาณ
เท่านี้ . ก็ภิกษุใดประสงค์จะเดินทางไกล, ในภิกษุนั้น ไม่มีถ้อยคำที่จะต้อง
กล่าวเลย.
บทว่า คจฺฉนฺเตน มีความว่า ภิกษุผู้เดินทางไกล จะฉันแม้ในที่
คาวุตหนึ่งภายในกึ่งโยชน์ ก็ควร.
สองบทว่า คเตน ภุญฺชิตพฺพํ คือ ผู้ไปแล้วพึงฉันได้วันหนึ่ง.
แม้ในเวลาโดยสารเรือไป ก็นัยนี้นั่นแล. ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้ :-
ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ภิกษุผู้โดยสารเรือไป แม้ถึงที่อันตนปรารถนาแล้ว พึง
ฉันได้ตลอดเวลาที่ตนยังไม่ขึ้น (จากเรือ).

กำหนดว่า จตุตฺเถ อาคเต นี้ เป็นกำหนดอย่างต่ำที่สุด. แม้เมื่อ
ภิกษุรูปที่ 4 มา ภิกษุทั้งหลายไม่พอเลี้ยงกัน ในสมัยใด สมัยนั้น จัดเป็นคราว
ประชุมใหญ่ได้. ก็ในคราวที่ภิกษุประชุมกันตั้ง 100 รูป หรือ 1,000 รูป
ไม่มีคำที่จะต้องกล่าวเลย, เพราะฉะนั้น ในกาลเช่นนั้น ภิกษุพึงอธิษฐานว่า
เป็นคราวประชุมใหญ่ แล้วฉันเถิด.
คำว่า โย โกจิ ปริพฺพาชกสมาปนฺโน ได้แก่ บรรดาพวก
สหธรรมิกก็ดี พวกเดียรถีย์ก็ดี นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง, ก็เมื่อนักบวชมี
สหธรรมิกเป็นต้นเหล่านั้น รูปใดรูปหนึ่งทำภัตตาหารแล้ว ภิกษุพึงอธิษฐานว่า
เป็นคราวภัตของสมณะ แล้วฉันเถิด.
สองบทว่า อนาปตฺติ สมเย ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติในสมัยทั้ง 7
สมัยใดสมัยหนึ่ง.
คำว่า เทฺว ตโย เอกโต มีความว่า แม้ภิกษุเหล่าได้ยินดีการ
นิมนต์ที่ไม่สมควร รับรวมกัน 2 รูป หรือ 3 รูป แล้วฉัน, ไม่เป็นอาบัติ
แม้แก่ภิกษุพวกนั้น.

[ว่าด้วยจตุตถะ 5 หมวดมีอนิมันติตจตุตถะเป็นต้น]


ในคำว่า เทฺว ตโย เอกโต นั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจ
จตุกกะ 5 หมวด คือ อนิมันติตจตุตถะ (มีภิกษุไม่ได้นิมนต์เป็นที่ 4)
1 ปิณฑปาติกจตุตถะ (มีภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรเป็นที่ 4) 1 อนุป-
สัมปันนจตุตถะ
(มีอนุปสัมบันเป็นที่ 4) 1 ปัตตจตุตถะ (มีบาตรเป็น
ที่ 4) 1 คิลานจตุตถะ (มีภิกษุอาพาธเป็นที่ 4) 1.
คืออย่างไร ? คือ คนบางตนในโลกนี้ นิมนต์ภิกษุ 8 รูปว่า นิมนต์
ท่านรับภัต (ข้าวสวย). ในภิกษุ 4 รูปนั้น ไป 3 รูป, ไม่ไป 1 รูป อุบาสก