เมนู

จึงได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารฉัน อยู่ในตระกูลทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่าน
จงถวายภัตแก่ภิกษุ 1 รูปท่านจงถวายแก่ภิกษุ 2 รูป ดังนี้.
คำว่า จีวรํ ปริตฺตํ อุปฺปชฺชติ มีความว่า ชาวบ้านทั้งหลายไม่
ถวายจีวรแก่ภิกษุผู้ไม่รับภัตตาหาร ; เพราะเหตุนั้น จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย.
ข้อว่า จีวรการเก ภิกขู ภตฺเตน นิมนฺเตนฺติ มีความว่า พวก
ชาวบ้านเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ในบ้าน แล้วทำจีวรให้เสร็จช้า
จึงนิมนต์ด้วยความประสงค์บุญว่า ภิกษุทั้งหลายจักยังจีวรให้เสร็จแล้วใช้สอย
ด้วยอาการอย่างนั้น
บทว่า นานาเวรชฺชเก ได้แก่ ผู้มาจากรัฐต่าง ๆ คือ จากราช-
อาณาจักรอื่น. ปาฐะว่า นานาเวรญฺชเก ก็มี. เนื้อความก็อย่างนี้เหมือนกัน.

[อรรถาธิบายว่าด้วยการฉันเป็นคณะ]


บทว่า คณโภชเน คือ ในเพราะการฉันของหมู่ ( ในเพราะการ
ฉันเป็นหมู่) ก็ในสิกขาบทนี้ ทรงประสงค์เอาภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ชื่อว่า
ว่า คณะ (หมู่). พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงกำหนดด้วยคำนั้นนั่น
แล จึงตรัสว่า ยตฺถ จตฺตาโร ภิกฺขู ฯปฯ เอตํ คณโภชนํ นาม
ดังนี้.
ก็คณโภชนะนี้นั้น ย่อมเป็นไปโดยอาการ 2 อย่าง คือ โดยการ.
นิมนต์อย่าง โดยวิญญัติอย่าง 1. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างไร ? คือ
ทายกเข้าไปหาภิกษุ 4 รูป แล้วนิมนต์ระบุชื่อโภชนะทั้ง 5 โดยไวพจน์อย่าง
ใดอย่างหนึ่ง หรือโดยภาษาอื่น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ผมนิมนต์ท่านด้วย
ข้าวสุก, ขอท่านจงถือเอาข้าวสุกของผม, จงหวัง จงตรวจดู จงต้อนรับ
ซึ่งข้าวสุกของผม ดังนี้. ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป รับนิมนต์รวมกันอย่างนี้

ไปพร้อมกันเพื่อฉันในวันนี้ หรือเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ด้วยอำนาจแห่งเวลา
ที่เขากำหนดไว้รับรวมกัน ฉันรวมกัน จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ทั้งหมด.
ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์รวมกัน ต่างคนต่างฉัน ก็เป็นอาบัติเหมือน
กัน. จริงอยู่ การรับประเคนนั่นแหละเป็นประมาณในสิกขาบทนี้. ภิกษุทั้ง-
หลายรับนิมนต์รวมกัน จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกันก็ตาม, รับประเคนต่าง
กัน จะฉันรวมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุทั้งหลายไปยังบริเวณ หรือวิหาร 4 แห่ง รับนิมนต์ต่างกันหรือ
บรรดาภิกษุผู้ยืนอยู่ในที่แห่งเดียวกันนั่นแหละ รับนิมนต์ต่างกัน แม้อย่างนี้
คือ ลูกชายนิมนต์ 1 รูป บิดานิมนต์ 1 รูป จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกัน
ก็ตาม, จะฉันพร้อมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ถ้ารับประเคนรวมกัน จัดเป็น
คณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างนั้นก่อน.
ย่อมเป็นไปโดยวิญญัติอย่างไร คือ ภิกษุ 4 รูป ยืน หรือนั่งอยู่
ด้วยกัน เห็นอุบายสกแล้วออกปากขอว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่พวกเรา ทั้ง
4 รูป ดังนี้ ก็ดี ต่างคนต่างเห็นแล้วออกปากขอรวมกัน หรือขอต่างกัน อย่าง
นี้ว่า ท่านจงถวายแก่เรา, ท่านจงถวายแก่เรา ดังนี้ก็ดี จะไปพร้อมกัน หรือ
ไปต่างกันก็ตาม, แม้รับประเคนภัตแล้ว จะฉันร่วมกันหรือฉันต่างกันก็ตาม,
ถ้ารับประเคนรวมกัน, จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด, ย่อม
เป็นไปโดยวิญญัติอย่างนี้,

[ว่าด้วยสมัยที่ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้]


สองบทว่า ปาทาปิ ผาลิตา มีความว่า (เท้าทั้ง 2) แตกโดย
อาการที่เนื้อปรากฏให้เห็นข้างหน้าหนังใหญ่ เพียงถูกทรายหรือกรวดกระทบ