เมนู

อนาปัตติวาร


[474] ภิกษุอาพาธ 1 ภิกษุไม่อาพาธฉันครั้งเดียว 1 ภิกษุเดินทาง
ไปหรือเดินทางกลับมาแวะฉัน 1 เจ้าของนิมนต์ให้ฉัน 1 ภิกษุฉันอาหารที่เขา
จัดไว้จำเพาะ 1 ภิกษุฉันอาหารที่เขามิได้จัดไว้มากมาย 1 ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด
เว้นโภชนะห้า 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

ปาจิตตีย์โภชนวรรคที่ 4


อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ 1


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 1 แห่งโภชนวรรคดังต่อไปนี้

[ว่าด้วยการฉันอาหารในโรงทาน]


ก้อนข้าว (อาหาร) ในโรงทาน ชื่อว่า อาวสถปิณฑะ. อธิบายว่า
อาหารที่เขาสร้างโรงทาน กั้นรั้วโดยรอบ มีกำหนดห้องและหน้ามุขไว้มากมาย
จัดตั้งเตียงและตั่งไว้ตามสมควร แก่พวกคนเดินทาง คนไข้ หญิงมีครรภ์
และบรรพชิต แล้วจัดแจงไว้ในโรงทานนั้น เพราะเป็นผู้มีความต้องการบุญ,
คือ วัตถุทุกอย่าง มีข้าวต้ม ข้าวสวย และเภสัชเป็นต้น เป็นของที่เขาจัดตั้งไว้
เพื่อต้องการให้ทานแก่พวกคนเดินทางเป็นต้นนั้น ๆ.
บทว่า ภิยฺโยปิ คือ แม้พรุ่งนี้.
บทว่า อปสกฺกนฺติ คือ ย่อมหลีกไป.

สองบทว่า มนุสฺสา อุชฺฌายนฺติ มีความว่า พวกชาวบ้านไม่เห็น
พวกเดียรถีย์ จึงถามว่า พวกเดียรถีย์ไปไหน ? ได้ฟังว่าพวกเดียรถีย์เห็นภิกษุ
ฉัพพัคคีย์เหล่านั้นหลีกไปแล้ว จึงพากันยกโทษ.
บทว่า กุกฺกุจายนฺโต มีความว่า กระทำความรังเกียจ คือ ให้
เกิดความสำคัญว่าไม่ควร.
หลายบทว่า สกฺโกติ ตมฺหา อาวสถา ปกฺกมิตุํ มีความว่าย่อม
อาจเพื่อจะไปได้กึ่งโยชน์ หรือโยชน์หนึ่ง.
บทว่า น สกฺโกติ คือ ย่อมไม่อาจเพื่อจะไปตลอดที่ประมาณเท่า
นี้นั่น แหละ
บทว่า อนุทฺทิสฺส มีความว่า เป็นของอันเขาจัดตั้งไว้เพื่อคนทุก
จำพวก ไม่เจาะจงลัทธิอย่างนี้ว่า แก่เจ้าลัทธิพวกนี้เท่านั้น หรือว่าแก่พวกนัก
บวชมีประมาณเท่านี้เท่านั้น.
บทว่า ยาวทตฺโถ มีความว่า เป็นของที่เขาจัดตั้งไว้มีพอแก่ความ
ต้องการ ไม่จำกัดแม้โภชนะว่า เพียงเท่านี้.
บทว่า สกึ ภุญฺชิตพฺพํ คือ พึงฉันได้วันเดียว. ตั้งแต่วันที่ 2
ไป เป็นทุกกฏในการรับประเคน เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.
ส่วนวินิจฉัยในสิกขาบทนี้ ดังต่อไปนี้. โภชนะที่ตระกูลเดียวหรือ
ตระกูลต่าง ๆ รวมกันจัดไว้ ในสถานที่แห่งเดียว หรือในสถานที่ต่าง ๆ กัน
ก็ดี ในสถานที่ไม่แน่นอนอย่างนั้น คือ วันนี้ ที่ 1 พรุ่งนี้ ที่ 1 ก็ดี. ภิกษุฉัน
วันหนึ่งในที่แห่งหนึ่งแล้ว ในวันที่ 2 จะฉันในที่นั้น หรือในที่อื่น ไม่ควร.
แต่โภชนะที่ตระกูลต่าง ๆ จัดไว้ในที่ต่าง ๆ กัน, ภิกษุฉันวันหนึ่งในที่หนึ่ง

แล้ว ในวันที่ 2 จะฉันในที่อื่นควรอยู่. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ก็ภิกษุฉันหมด
ลำดับแล้วจะเริ่มตั้งต้นไปใหม่ไม่ควร ดังนี้. แม้ในคณะเดียวกัน ต่างคณะกัน
บ้านเดียวกัน และต่างบ้านกัน ก็นัยนี้นั่นและ ส่วนภัตตาหารใด ที่ตระกูล
เดียวจัด หรือตระกูลต่าง ๆ รวมกันจัดไว้ ขาดระยะไปในระหว่างเพราะไม่มี
ข้าวสารเป็นต้น, แม้ภัตตาหารนั้น ก็ไม่ควรฉัน. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี
ว่า ก็ถ้าว่าตระกูลทั้งหลายตัดขาดว่า พวกเราจักไม่อาจให้ เมื่อเกิดน้ำใจงาม
ขึ้น จึงเริ่มให้ใหม่, จะกลับฉันอีกวันหนึ่ง 1 ครั้งก็ได้
สองบทว่า อนาปตฺติ คิลานสฺส ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ
อาพาธผู้พักฉันอยู่.
บทว่า คจฺฉนฺโต วา มีความว่า ภิกษุใด เมื่อไปฉันวันหนึ่งใน
ระหว่างทาง, และในที่ไปถึงแล้วฉันอีกวันหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น.
แม้ในภิกษุผู้มา ก็นัยนี้แล. จริงอยู่ ภิกษุผู้ไปแล้วกลับมา ย่อมได้เพื่อจะฉัน
ในระหว่างทางวันหนึ่ง และในขากลับอีกวันหนึ่ง. เมื่อภิกษุคิดว่า จักไป
ฉันแล้วออกไป แม่น้ำขึ้นเต็ม หรือว่ามีภัยคือโจรเป็นต้น, เธอกลับมาแล้ว
ทราบว่าปลอดภัยแล้วไป ย่อมได้เพื่อจะฉันอีกวันหนึ่ง, คำทั้งหมดดังว่ามานี้
ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีเป็นต้น.
ข้อว่า อุทฺทิสฺส ปญฺญตฺโต โหติ มีความว่า เป็นของที่เขาจัด
ไว้จำเพาะ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น .
บทว่า น ยาวทตฺโถ มีความว่า มิใช่เป็นของที่เขาจัดไว้เพียงพอ
แก่ความต้องการ คือ มีเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ, จะฉันโภชนะ แม้เช่นนั้นเป็น
นิตย์ก็ควร.

หลายบทว่า ปญฺจ โภชนานิ ฐเปตฺวา สพฺพตฺถ ได้แก่
ไม่เป็นอาบัติในของทุกชนิด เช่น ยาคู ของควรเคี้ยว และผลไม้น้อยใหญ่
เป็นต้น, จริงอยู่ ภิกษุจะฉันโภชนะมียาคูเป็นต้นแม้เป็นนิตย์ก็ควร. บทที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย 1
ทางกายกับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ
กายกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล
อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ 1 จบ

โภชนวรรคสิกขาบทที่ 2


เรื่องพระเทวทัต


[475] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น พระเทวทัตเสื่อมจากลาภและสักการะ พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหาร
ในตระกูลทั้งหลายมาฉัน ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้เที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า โภชนะ.
ที่ดีใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบใจ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัต
จึงได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระเทวทัตว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า
เธอพร้อมด้วยบริษัท เที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ.
พระเทวทัตทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
ได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า