เมนู

ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ไม่สามารถจะหลีกไปจากโรงทานนั้นได้.
ที่ชื่อว่า อาหารในโรงทาน ได้แก่ โภชนะ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเข้าจัดตั้งไว้ ณ ศาลา ปะรำ โคนไม้หรือที่กลางแจ้งมิได้จำเพาะใคร มี
พอแก่ความต้องการ
ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธฉันได้ครั้งหนึ่ง หากฉันเกินกว่านั้น รับประเคน
ด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก คำกลืน.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[473] มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ฉันอาหารในโรง
ทานยิ่งกว่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย ฉันอาหารในโรงทาน ยิ่งกว่านั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ ฉันอาหารในโรงทาน ยิ่งกว่า
นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกะทุกกฏ


ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ. . . ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[474] ภิกษุอาพาธ 1 ภิกษุไม่อาพาธฉันครั้งเดียว 1 ภิกษุเดินทาง
ไปหรือเดินทางกลับมาแวะฉัน 1 เจ้าของนิมนต์ให้ฉัน 1 ภิกษุฉันอาหารที่เขา
จัดไว้จำเพาะ 1 ภิกษุฉันอาหารที่เขามิได้จัดไว้มากมาย 1 ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด
เว้นโภชนะห้า 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

ปาจิตตีย์โภชนวรรคที่ 4


อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ 1


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 1 แห่งโภชนวรรคดังต่อไปนี้

[ว่าด้วยการฉันอาหารในโรงทาน]


ก้อนข้าว (อาหาร) ในโรงทาน ชื่อว่า อาวสถปิณฑะ. อธิบายว่า
อาหารที่เขาสร้างโรงทาน กั้นรั้วโดยรอบ มีกำหนดห้องและหน้ามุขไว้มากมาย
จัดตั้งเตียงและตั่งไว้ตามสมควร แก่พวกคนเดินทาง คนไข้ หญิงมีครรภ์
และบรรพชิต แล้วจัดแจงไว้ในโรงทานนั้น เพราะเป็นผู้มีความต้องการบุญ,
คือ วัตถุทุกอย่าง มีข้าวต้ม ข้าวสวย และเภสัชเป็นต้น เป็นของที่เขาจัดตั้งไว้
เพื่อต้องการให้ทานแก่พวกคนเดินทางเป็นต้นนั้น ๆ.
บทว่า ภิยฺโยปิ คือ แม้พรุ่งนี้.
บทว่า อปสกฺกนฺติ คือ ย่อมหลีกไป.