เมนู

ภิกขุนีวรรค ปริปาจนสิกขาบทที่ 9


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 9 พึงทราบดังนี้

[ว่าด้วยบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้ถวาย]


คำว่า มหานาเค ติฏฺฐมาเน เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่าเมื่อพระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายมีปรากฏอยู่. อีกอย่างหนึ่ง
ผู้ศึกษาพึงเห็นปาฐะเหลือในคำนี้ ดังนี้ว่า เห็นพระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายมีปรากฏ
อยู่. ความจริง เมื่อว่าโดยประการหลังนี้ ความยังไม่เหมาะ.
ถ้อยคำที่ยังไม่ถึงที่สุด ถึงตรงท่ามกลางแห่งการเริ่มต้นกับที่สุด ชื่อว่า
อันตรากถา.
บทว่า วิปฺปกตา คือ กำลังทำค้างอยู่
คำว่า สจฺจํ มหา นาคา โข ตยา คหปติ มีความว่า ภิกษุณี
ถูลนันทา หลิ่วตามอง เห็นพระเถระทั้งหลายกำลังเข้ามา ทราบว่าพระเถระ
เหล่านั้นได้ยินแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า ภิกฺขุนีปริปาจิตํ ได้แก่ อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย. อธิบายว่า
อันภิกษุณีให้สำเร็จ คือ ทำให้เป็นของควรได้ด้วยการประกาศคุณ. แต่ใน
บทภาชนะแห่งบทนั้น เพื่อทรงแสดงภิกษุณีและอาการที่ภิกษุณีนั้น แนะนำ
ให้ถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ผู้ชื่อว่าภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบท
ในสงฆ์ 2 ฝ่าย, ที่ชื่อว่าแนะนำให้ถวาย คือ (ภิกษุณีบอก) แก่คนผู้ไม่ประสงค์
จะถวายแต่แรก ดังนี้เป็นต้น.
ในคำ ปุพฺเพ คิหิสมารมฺภา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า แต่แรกเริ่ม, ภัตที่เขาริเริ่มไว้แล้ว เรียกว่า
สมารัมภะ. คำว่า สมารัมภะ นี้ เป็นชื่อแห่งภัตที่เขาตระเตรียมไว้แล้ว.
การริเริ่มแห่งพวกคฤหัสถ์ ชื่อว่า คิหิสมารัมภะ. ภัตใดที่พวกคฤหัสถ์เตรียม
ไว้ก่อนแต่นางภิกษุณีแนะนำให้ถวาย, ภิกษุฉันบิณฑบาตอื่นนอกจากภัตนั้น
คือ เว้นบิณฑบาตนั้นเสีย เป็นอาบัติ. มีคำอธิบายว่า แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ฉันบิณฑบาตที่พวกคฤหัสถ์จัดแจงไว้นั้น. ส่วนในบทภาชนะ พระอุบาลีเถระ
กล่าวไว้ว่า คิหิสมารมฺโภ นาม ญาตกา วา โหนฺติ ปวาริตา ดังนี้
เพื่อแสดงแต่อรรถเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อถึงพยัญชนะ เพราะบิณฑบาต แม้ที่
พวกญาติและคนปวารณามิได้ปรารภไว้ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุก็เป็นอันเขา
ปรารภไว้แล้ว โดยอรรถ เพราะจะพึงให้นำมาได้ตามสบาย.
บทว่า ปกติปฏิยตฺตํวา มีความว่า เป็นภัตที่เขาจัดแจงไว้เพื่อ
ประโยชน์แก่ภิกษุนั้นนั่นเอง ตามปรกติว่า พวกเราจักถวายแก่พระเถระ ดังนี้
แต่ในมหาปัจจรีกล่าวไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นภัตที่เขาจัดแจงไว้ว่า
จักถวายแก่พวกภิกษุ ไม่ได้ระบุว่า ภิกษุรูปนั้น หรือรูปอื่น.
ข้อว่า ปญฺจ โภชนานิ ฐเปตฺวา สพพตฺถ อนาปตฺติ ได้แก่
ไม่เป็นอาบัติในยาคูของควรเคี้ยว และผลไม้น้อยใหญ่ทั้งหมด แม้ที่นางภิกษุณี
แนะนำให้ถวาย. บทที่เหลือคนทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชิก เกิดขึ้นทางกายกับจิต เป็น
กิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3
ดังนี้แล.
ปริปาจมสิกขาบทที่ 9 จบ

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 10


เรื่องพระอุทายี


[466] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ปุราณ-
ทุติยิกาของท่านพระอุทายีได้บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี นางมาในสำนักท่าน
พระอุทายีเนือง ๆ แม้ท่านอุทายีก็ไปในสำนักนางเนือง ๆ สมัยนั้นแล ท่าน
ตระอุทายีได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีนั้นหนึ่งต่อหนึ่ง
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉน
ท่านพระอุทายีผู้เดียว จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียวเล่า แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า
เธอผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียว จริงหรือ.
พระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ
เดียวจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียวเล่า การกระทำของเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุ่มชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น
ว่าดังนี้ :-