เมนู

ไม่ต้องอาบัติ


ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[460] ข้ามฟาก 1 ไม่ได้ชักชวนกันโดยสาร 1 ภิกษุณีชักชวน
ภิกษุไม่ได้ชักชวน 1 โดยสารเรือผิดนัด 1 มีอันตราย 1 ภิกษุวิกลจริต 1
ภิกษุอาทิกัมนิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 8 จบ

ภิกขุนีวรรค นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ 8


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 8 ดังต่อไปนี้.

[ว่าด้วยการชักชวนกันโดยสารเรือลำเดียวกัน]


บทว่า สํวิธาย ได้แก่ ชักชวนกันมุ่งการเล่นเป็นเบื้องหน้า ด้วย
อำนาจมิตรสันถวะซึ่งเป็นความยินดีของชาวโลก.
บทว่า อุทฺธคามินึ คือ แล่นทวนกระแสของแน่น้ำขึ้นไป. ก็เพราะ
ผู้ซึ่งเล่นกีฬาทางเรือที่แล่นขึ้นทวนน้ำ โดยวิ่งทวนขึ้นไป ท่านเรียกว่า โดยสาร
เรือขึ้นน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อุทฺธคามินึ นั้น เพื่อ
แสดงเฉพาะอรรถเท่านั้น จึงตรัสว่า อุชฺชวนิกาย (แล่นขึ้นทวนน้ำ) ดังนี้.
บทว่า อุโธคามินึ คือ แล่นตามกระแสน้ำลงไป. ก็เพราะผู้ซึ่ง
เล่นกีฬาทางเรือที่แล่นลงตามน้ำ โดยแล่นลงไปทางได้ ท่านเรียกว่าโดยสาร
เรือล่องน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแม้แห่งบทว่า อโธคามินึ นั้น

เพื่อแสดงแต่อรรถเหมือนกัน จึงตรัสว่า โอชวนิกาย (แล่นลงตามน้ำ) ดังนี้.
ในเรือนั้น ชนทั้งหลาย ย่อมแล่นเรือใดไปเหนือ หรือใต้เพื่อให้ถึงท่าจอดเรือ,
ไม่เป็นอาบัติในการแล่นเรือนั้นไปที่นั่น.
คำว่า ติริยนฺตรณาย นี้ เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยา-
วิภัตติ.
ในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. แม่น้ำใด
มีฝั่งข้างหนึ่งต่อเนื่องกันด้วยหมู่บ้าน กำหนดชั่วไก่บินตก, ฝั่งข้างหนึ่งเป็นป่า
ไม่มีบ้าน, ในเวลาไปทางริมฝั่งที่มีหมู่บ้านแห่งแม่น้ำนั้น เป็นปาจิตตีย์หลายตัว
ด้วยจำนวนละแวกบ้าน. ในเวลาไปทางข้างริมฝั่งที่ไม่มีบ้าน เป็นปาจิตตีย์มาก
ตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์. แต่แม่น้ำใดมีความกว้าง 1 โยชน์ แม้ในการไป
โดยท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็พึงทราบปาจิตตีย์หลายตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์.
ในคำว่า อนาปตฺติ ติรยนฺตรณาย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ไม่ใช่
ในแม่น้ำอย่างเดียว. แม้ภิกษุใดออกจากท่าชื่อมหาดิษฐ์ ไปสู่ท่าชื่อตามพลิตติ
ก็ดี ชื่อสุวรรณภูมิ ก็ดี ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. จริงอยู่ ในทุก ๆ
อรรถกถา ท่านวิจารณ์อาบัติไว้ในแม่น้ำเท่านั้น ไม่ใช่ในทะเล.
ในคำว่า วิสงฺเกเตน แม้น้ำ ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะผิดนัดเวลา
เท่านั้น แต่เมื่อไปโดยผิดนัดท่าเรือโดยผิดนัดเรือเป็นอาบัติทีเดียว. คำที่เหลือ
พร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นกับปฐมสิกขาบททั้งนั้นแล.
นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ 8 จบ

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 9


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[461] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้ง
นั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นกุลุปิกาของตระกูลแห่งหนึ่ง เป็นผู้รับภัตตาหาร
ประจำอยู่ ก็แลคหบดีนั้นได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุณี
ถุลลนันทาครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ครั้นแล้ว
ไต่ถามคหบดีนั้นว่า ดูก่อนท่านคหบดี ท่านจัดของเคี้ยวของฉันนี้ไว้มากมาย
ทำไม.
ค. กระผมได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ
ถุ. ดูก่อนคหบดี พระเถระเหล่านั้นคือใครบ้าง.
ค. คือพระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระคุณเจ้า
มหากัจจานะ พระคุณเจ้ามหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้า
มหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้าเรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณ
เจ้าอานนท์ พระคุณเจ้าราหุล.
ถุ. ดูก่อนคหบดี ก็เมื่อพระเถระผู้ใหญ่มีปรากฏอยู่ ทำไมท่านจึง
นิมนต์พระเล็ก ๆ เล่า.
ค. พระเถระผู้ใหญ่เหล่านั้น คือใครบ้าง ขอรับ.
ถุ. คือพระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากฏโมรก-
ติสสกะ พระคุณเจ้าขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต.