เมนู

กุกกุฏสัมปาทะ. อีกอย่างหนึ่ง การไปถึง ชื่อว่า สัมปาทะ. การไปถึง
ของพวกไก่ มีอยู่ที่บ้านนี้. เพราะเหตุนั้นบ้านนี้จึงชื่อว่า กุกกุฏสัมปาทะ.
ปาฐะว่า กุกฺกุฏสมฺปาเต ก็มี. ไก่บินโผขึ้นจากหลังคาเรือนแห่งบ้านใด แล้ว
ไปตกลงที่หลังคาเรือนแห่งบ้านอื่น, บ้านนี้ท่านเรียกว่า ชั่วไก่บินถึง ในปาฐะ
ว่า กุกฺกุฏสมฺปาเต นั้น. ส่วนอรรถเฉพาะคำในบทนี้ บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
ก็บ้านแม้มีประการดังกล่าวแล้ว 2 อย่างนี้ ใกล้ชิดกันนัก ย่อมไม่ได้
อุปจาร ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ก็เสียงไก่ขันอยู่ในเวลาใกล้รุ่งในบ้านใด
ได้ยินไปถึงในบ้านที่ถัดไป ต้องปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกบ้าน ในรัฐที่คับคั่ง
ด้วยหมู่บ้านเช่นนั้น. ท่านได้กล่าวคำนั้นไว้แล้ว แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ก็เป็น
อาบัติเหมือนกัน แก่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่อุปจารแห่งบ้าน ซึ่งถ้าแม้นมีระยะห่างกัน
ประมาณศอกกำที่พวกชาวบ้านเว้นไว้ เพราะพระบาลีว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ ละแวกบ้าน ดังนี้. คำนั้นไม่สมด้วยพระบาลี. ถ้าว่า บ้านแม้เห็นปานนี้
โดยโวหารที่ได้แล้วอย่างนั้น เพราะไม่ใกล้ชิดกัน ย่อมได้โวหารว่า ชั่วไก่บินถึง
ดังนี้ ก็ดี ว่า ชั่วไก่บินไม่ถึง ดังนี้ก็ดี เพราะเป็นบ้านใกล้ชิดกัน. เพราะ
ฉะนั้น จึงไม่สมกันกับบาลี ฉะนั้นแล. ส่วนในบ้านนอกนี้ การเดินเลยอุปจาร
บ้านนี้ไป และก้าวลงสู่อุปจารบ้านอื่นเท่านั้นไม่ปรากฏ. เพราะฉะนั้น ที่ยก
อาบัติขึ้นปรับ จึงไม่ปรากฏเหมือนกัน.

[ว่าด้วยการกันชวนกันเดินทางร่วมกัน]


วินิจฉัยอาบัติในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส
นั้น ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ในเวลาชักชวนกัน ถ้าว่าภิกษุและภิกษุณีแม้ทั้ง
2 ยืนชักชวนกัน ในสำนักภิกษุณีก็ดี ในระหว่างวัดก็ดี ในโรงฉันก็ดี ในที่
อยู่แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ได้ยินว่า ภูมินี้ เป็นกัปปิยภูมิ. เพราะเหตุนั้น

ท่านอาจารย์ทั้งหลายจึงไม่ปรับอาบัติทุกกฏ เพราะการชักชวนเป็นปัจจัย ใน
สำนักแห่งภิกษุณีเป็นต้นนี้ เป็นปาจิตตีย์ตามวัตถุทีเดียว แก่ภิกษุผู้เดินไป.
แต่ถ้าว่า ภิกษุกับภิกษุณีชักชวนกัน ภายในบ้าน ที่ถนนใกล้ประตู
สำนักของภิกษุณีก็ดี ในที่เหล่าอื่น มีทาง 4 แยก 3 แยก และโรงช้างเป็นต้น
ก็ดี, ภิกษุไม่ต้องทุกกฏ. ครั้นชักชวนกันอย่างนั้นแล้ว จึงออกจากบ้านไป.
ไม่เป็นอาบัติเพราะการออกจากบ้าน. แต่ในเพราะย่างลงสู่อุปจารแห่งบ้านที่
ถัดไป เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุ. ท่านกล่าวไว้ในในมหาปัจจรีว่า แม้ในการย่างลงสู่
อุปจารนั้น เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ 1 เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ 2. ก็ภิกษุ
ออกจากบ้านแล้ว แต่ยังไม่ย่างลงสู่อุปจารแห่งบ้านถัดไปเพียงใด, แม้เมื่อ
ชักชวนกันในระหว่างนี้ ก็เป็นทุกกฏแก่ภิกษุเพียงนั้น. ในการย่างลงสู่อุปจาร
แห่งบ้านถ้า ไป ไม่เป็นอาบัติโดยนัยก่อนเหมือนกัน. ถ้าภิกษุกับภิกษุณีมีความ
ประสงค์จะไปสู่บ้านไกลมาก, เป็นอาบัติทุก ๆ ครั้งที่ย่างลง (สู่อุปจารแห่งบ้าน)
โดยนับอุปจารแห่งบ้าน
ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า แต่ไม่เป็นอาบัติในเพราะการเดินเลยบ้าน
นั้น ๆ ไป. แต่ถ้าภิกษุณีคิดว่า เราจักไปยังบ้านชื่อโน้น แล้วเดินออกจาก
สำนักไป, ฝ่ายภิกษุก็คิดว่า เราจักไปยังบ้านโน้น แล้วเดินออกจากวิหาร
มุ่งหน้าไปยังบ้านนั้นนั่นแล, ถ้าภิกษุกับภิกษุณีแม้ทั้ง 2 ไปพบกันที่ประตูบ้าน
แล้ว ถามกันว่า ท่านจะไปไหน ? จะไปบ้านโน้น, ท่านจะไปไหน ? กล่าวว่า
แม้เราก็จะไปที่บ้านนั้นเหมือนกัน จึงชักชวนกันว่า มาเถิดท่าน พวกเราจะ
ไปกันเดี๋ยวนี้ แล้วเดินไป ไม่เป็นอาบัติ. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า
ภิกษุกับภิกษุณีต่างออกไปด้วยใส่ใจว่า เราจักไปตั้งแต่แรกนั่นเอง. คำที่กล่าว
ในมหาปัจจรีนั้น ไม่สมด้วยบาลี และไม่สมด้วยอรรถกถาที่เหลือ.
สองบทว่า อฑฺฒโยชเน อฑฺฒโยชเน มีความว่า ภิกษุเดินเลย
กึ่งโยชน์หนึ่ง ๆ ไปในขณะที่คิดว่า บัดนี้ เราจักเดินเลยไป เป็นทุกกฏใน

ย่างเท้าที่ 1 เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ 2. แท้จริง นัยนี้เป็นอาบัติในขณะที่
เดินเลยไป ไม่เป็นอาบัติในขณะย่างลง.
สองบทว่า ภิกฺขุ สํวิทหติ มีความว่า ภิกษุเห็นภิกษุณีที่ประตูเมือง
หรือที่ถนน กล่าวว่า ท่านเคยไปสู่บ้านชื่อโน้นไหม ? ภิกษุณีตอบว่า ดิฉัน
ยังไม่เคยไป พระผู้เป็นเจ้า ภิกษุกล่าวว่า มาเถิด เราจักไปด้วยกัน หรือว่า
ฉันจักไปพรุ่งนี้ แม้เธอก็พึงมาด้วย ดังนี้ก็ดี.
สองบทว่า ภิกฺขุนี สํวิทหติ มีความว่า ภิกษุณีเห็นภิกษุออกจาก
บ้าน เพื่อจะไหว้พระเจดีย์ในบ้านอื่น จึงกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า ท่านจะ
ไปไหน ภิกษุตอบว่า ฉันจะไปยังบ้านโน้น เพื่อไหว้พระเจดีย์ ดังนี้.
ภิกษุณีนั่น แล ชักชวนแม้อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ! แม้ดิฉันก็จักไปด้วย.
ภิกษุไม่ได้ชักชวน.
วินิจฉัยในคำว่า วิสงฺเกเตน นี้ พึงทราบดังนี้ ภิกษุกับภิกษุณี
กล่าวว่า เราจักไปกันก่อนฉัน แล้วไปภายหลังฉัน กล่าวว่า เราจะมากันใน
วันนี้ แล้วไปเสียวันพรุ่งนี้, อย่างนี้ไม่เป็นอาบัติ เพราะผิดนัดเวลาแล. แต่
แม้เมื่อมีการผิดนัดหมายประตู หรือผิดนัดหมายหนทาง เป็นอาบัติแท้.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ในเพราะรัฐถูกปล้น ชาวชนบททั้งหลาย
พากันขึ้นสู่ล้อทางเดินหรือล้อเกวียนอพยพไป, ไม่เป็นอาบัติ ในอันตรายมีรูป
เห็นปานนี้. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน 4 เกิดขึ้นทางกาย 1 ทางกายกับวาจา 1
ทางกายกับจิต 1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
สังวิธานสิกขาบทที่ 7 จบ

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 8


เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[456] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ชักชวนกัน แล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับพวกภิกษุณี ประชาชน
เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พวกเราพร้อมด้วยภรรยาเล่นเรือลำเดียวกันฉันใด
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ชักชวนกันแล้ว เล่นเรือลำเดียวกับพวก
ภิกษุณี ก็ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์
จึงได้ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับพวกภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูล
เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณี
ทั้งหลาย จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ชักชวนกันแล้วโดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า การ
กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .