เมนู

ไม่ต้องอาบัติ


ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน. . .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[455] มีสมัย 1 ไม่ได้ชักชวนกันไป 1 ภิกษุณีชักชวน ภิกษุไม่
ได้ชักชวน 1 ไปผิดนัด 1 มีอันตราย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1
ไม่ต้องอาบัติแล.
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ

ภิกขุนีวรรค สังวิธานสิกขาบทที่ 7


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 7 ดังต่อไปนี้
คำว่า ปจฺฉา คจฺฉนฺตีนํ โจรา อจฺฉินฺทึสุ มีความว่า เมื่อพวก
ภิกษุณีไปที่หลัง พวกโจรได้ชิงเอาบาตรและจีวรไป.
บทว่า ทูเลสุํ ได้แก่ พวกโจรประทุษร้ายพวกภิกษุณีเหล่านั้น.
อธิบายว่า ให้ถึงความเสียศีล.
บทว่า สํวิธาย คือ ชักชวนกัน, อธิบายว่า ทำการนัดหมายกัน
ในเวลาจะไป.

[อธิบายบ้านชั่วระยะไก่บินถึงเป็นต้น]


ไก่ออกจากบ้านใด แล้วเดินไปยังบ้านอื่น, บ้านนี้ท่านเรียกว่า ชั่วไก่
ไปถึง ในบทว่า กุกฺกุฏสมฺปาเท นี้. ในบทนั้น มีอรรถเฉพาะคำดังต่อไปนี้
ไก่ทั้งหลายย่อมเที่ยวไปถึงที่บ้านนี้ เหตุนั้น บ้านนี้จึงชื่อว่า เป็น
ที่ไปถึง. พวกไหนไปถึง ? พวกไก่. การเที่ยวไปถึงของพวกไก่ ชื่อว่า

กุกกุฏสัมปาทะ. อีกอย่างหนึ่ง การไปถึง ชื่อว่า สัมปาทะ. การไปถึง
ของพวกไก่ มีอยู่ที่บ้านนี้. เพราะเหตุนั้นบ้านนี้จึงชื่อว่า กุกกุฏสัมปาทะ.
ปาฐะว่า กุกฺกุฏสมฺปาเต ก็มี. ไก่บินโผขึ้นจากหลังคาเรือนแห่งบ้านใด แล้ว
ไปตกลงที่หลังคาเรือนแห่งบ้านอื่น, บ้านนี้ท่านเรียกว่า ชั่วไก่บินถึง ในปาฐะ
ว่า กุกฺกุฏสมฺปาเต นั้น. ส่วนอรรถเฉพาะคำในบทนี้ บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
ก็บ้านแม้มีประการดังกล่าวแล้ว 2 อย่างนี้ ใกล้ชิดกันนัก ย่อมไม่ได้
อุปจาร ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ก็เสียงไก่ขันอยู่ในเวลาใกล้รุ่งในบ้านใด
ได้ยินไปถึงในบ้านที่ถัดไป ต้องปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกบ้าน ในรัฐที่คับคั่ง
ด้วยหมู่บ้านเช่นนั้น. ท่านได้กล่าวคำนั้นไว้แล้ว แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น ก็เป็น
อาบัติเหมือนกัน แก่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่อุปจารแห่งบ้าน ซึ่งถ้าแม้นมีระยะห่างกัน
ประมาณศอกกำที่พวกชาวบ้านเว้นไว้ เพราะพระบาลีว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ ละแวกบ้าน ดังนี้. คำนั้นไม่สมด้วยพระบาลี. ถ้าว่า บ้านแม้เห็นปานนี้
โดยโวหารที่ได้แล้วอย่างนั้น เพราะไม่ใกล้ชิดกัน ย่อมได้โวหารว่า ชั่วไก่บินถึง
ดังนี้ ก็ดี ว่า ชั่วไก่บินไม่ถึง ดังนี้ก็ดี เพราะเป็นบ้านใกล้ชิดกัน. เพราะ
ฉะนั้น จึงไม่สมกันกับบาลี ฉะนั้นแล. ส่วนในบ้านนอกนี้ การเดินเลยอุปจาร
บ้านนี้ไป และก้าวลงสู่อุปจารบ้านอื่นเท่านั้นไม่ปรากฏ. เพราะฉะนั้น ที่ยก
อาบัติขึ้นปรับ จึงไม่ปรากฏเหมือนกัน.

[ว่าด้วยการกันชวนกันเดินทางร่วมกัน]


วินิจฉัยอาบัติในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส
นั้น ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ในเวลาชักชวนกัน ถ้าว่าภิกษุและภิกษุณีแม้ทั้ง
2 ยืนชักชวนกัน ในสำนักภิกษุณีก็ดี ในระหว่างวัดก็ดี ในโรงฉันก็ดี ในที่
อยู่แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ. ได้ยินว่า ภูมินี้ เป็นกัปปิยภูมิ. เพราะเหตุนั้น