เมนู

สิกขาบทวิภังค์


[448] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทาง
บิดาก็ดี ตลอด 7 ชั่วบุรพชนก
ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ 2 ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด ๆ ใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์
กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
บทว่า เย็บ คือ เย็บเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ รอยเข็ม.
บทว่า ให้เย็บ คือ ใช้ผู้อื่นเย็บ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ใช้หนเดียว แต่เย็บแม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[449] ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ เย็บก็ดี ให้เย็บ
ก็ดี ซึ่งจีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสงสัย เย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร
ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
ภิกษุณีมิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี
ซึ่งจีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ


ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร เพื่อภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์
ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ...ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ.. .ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[450] ภิกษุเย็บเพื่อภิกษุณีผู้เป็นญาติ 1 ภิกษุเย็บเองก็ดี ให้เย็
ก็ดี ซึ่งบริขารอื่นเว้นจีวร 1 ภิกษุเย็บเพื่อสิกขมานา 1 ภิกษุเย็บเพื่อสามเณรี 1
ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

ภิกขุนีวรรค จีวรสิพพนสิกขาบทที่ 6


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 6 พึงทราบดังนี้

[แก้อรรถ เรื่องเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ]


คำว่า อุทายี ได้แก่ พระโลลุทายี.
บทว่า ปฏฺโฐ แปลว่า ผู้มีความสามารถ. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้
เข้าใจและสามารถ.
สองบทว่า อญฺญตรา ภิกฺขุนี ได้แก่ ภิกษุณีผู้เป็นภรรยาเก่า
พระอุทายีนั้นนั่นเอง.