เมนู

ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ 2 ฝ่าย.
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด ๆ ใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์
กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน ความว่า ภิกษุให้ เว้นการแลกเปลี่ยน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[445] ภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้จีวร เว้นไว้
แต่แลกเปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย ให้จีวร เว้น ไว้แต่แลกเปลี่ยน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร เว้น ไว้แต่แลก
เปลี่ยน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกทุกกฏ


ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว เว้นไว้แต่แลก
เปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[446] ภิกษุณีผู้เป็นญาติ 1 ภิกษุแลกเปลี่ยน คือ เอาจีวรมีค่าน้อย
แลกเปลี่ยนจีวรมีค่ามาก หรือเอาจีวรมีค่ามากแลกเปลี่ยนจีวรมีค่าน้อย 1
ภิกษุณีถือวิสาสะ 1 ภิกษุณีถือเอาเป็นของขอยืม 1 ภิกษุให้บริขารอื่นเว้น
จีวร 1 ภิกษุให้แก่สิกขมานา 1 ภิกษุให้สามเณรี 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

ภิกขุนีวรรค จีวรทานสิกขาบทที่ 5


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังนี้.
บทว่า วิสิขาย แปลว่า ในตรอก.
สองบทว่า ปิณฺฑาย จรติ มีความว่า ย่อมเที่ยวไปเนือง ๆ ด้วย
สามารถแห่งการเที่ยวไปเป็นประจำ.
บทว่า สนฺทิฏฺฐา คือ ได้เป็นเพื่อนเห็นกัน. บทที่เหลือในสิกขา
บทนี้ โดยบท มีอรรถตื้น โดยวินิจฉัย พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในจีวร
ปฏิคคหณสิกขาบทนั้นแล พร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น. จริงอยู่ ในจีวร
ปฏิคคหณสิกขาบทนั้น ภิกษุเป็นผู้รับ ในสิกขาบทนี้ ภิกษุณีเป็นผู้รับ นี้เป็น
ความแปลกกัน. คำที่เหลือเป็นเช่นนั้นเหมือนกันแล.
จีวรทานสิกขาบทที่ 5 จบ