เมนู

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม กล่าวอย่างนั้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ


[838] ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ประสงค์จะทำให้อัปยศ ประสงค์จะ
ทำให้เก้อเขิน กล่าวกะอุปสัมบันผู้อัน สงฆ์มิได้สมมติให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
อย่างนั้น คือ กล่าวว่า เธอสั่งสอนเพราะเหตุจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้
การบูชา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[439] ภิกษุประสงค์จะแส่โทษ ประสงค์จะทำให้อัปยศ ประสงค์จะ
ทำให้เก้อเขิน กล่าวกะอนุปสัมบันผู้อันสงฆ์สมมติก็ตาม มิได้สมมติก็ตาม ให้
ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี อย่างนี้ คือ กล่าวว่า เธอสั่งสอนเพราะเหตุจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ. ความเคารพ ความ
นับถือ การกราบไหว้ การบูชา ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ติกทุกกฏ


[440] กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม... ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ... ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[441] ภิกษุผู้กล่าวกะภิกษุผู้สั่งสอนเพราะเหตุจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร สักการะ ความเคารพ ความนับถือ

การกราบไหว้ การบูชา ตามปกติ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1
ไม่ต้องอาบัติแล.
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

ภิกขุนีวรรค อามิสสิกขาบทที่ 4


วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 4 พึงทราบดังนี้
บทว่า น พหุกตา คือ ไม่ทำความทั่งใจ (สอนจริง). อธิบายว่า
ไม่ทำความเคารพมากในธรรมกล่าวสอน. ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถแห่งบท
ทั้งหลายว่า ภิกษุโนวาทกํ อวณฺณํ กตฺตุกาโม เป็นต้น โดยนัยดังที่
กล่าวแล้วในอุชฌาปนกสิกขาบทนั่นแล. ภิกษุที่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ หรือสงฆ์
มอบภาระให้ไว้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ภิกษุไม่ได้รับสมมติ ในคำว่า อุปสมฺปนฺนํ
สงฺเฆน อสมฺมตํ
นี้.
ส่วนในคำว่า อุปสมฺปนฺนํ สงฺเฆน สมฺมตํ วา อสมฺมตํ วา
นี้ ภิกษุผู้ได้รับสมมติในคราวเป็นภิกษุแล้ว ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร พึงทราบ
ว่าได้รับสมมติ. สามเณรพหูสูตที่ภิกษุผู้ได้รับสมมติหรือสงฆ์มอบหน้าที่ไว้
พึงทราบว่า ผู้มีได้รับสมมติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน 3 เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์สจิตตกะ. โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
อามิสสิกขาบทที่ 4 จบ