เมนู

สงเคราะห์ด้วยใครสิกขาทั้งสิ้น เป็นอันเธอบอกแล้ว. ภิกษุนั้นรับว่า ดีละ
แล้วพึงบอกแก่ภิกษุณีทั้งหลายในวันแรมค่ำ 1.
แม้ภิกษุณีสงฆ์ พึงส่งภิกษุณีเหล่านั้นไปว่า ไปเถิดแม่เจ้า ! จงถามว่า
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาทหรือ ? ภิกษุณี
เหล่านั้นรับว่า ดีละ พระแม่เจ้า ! แล้วไปยังอาราม เข้าไปหาภิกษุนั้น พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมได้การเข้ามาเพื่อรับ
โอวาทหรือ ? ภิกษุนั้น พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้
สั่งสอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์ จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมอันน่าเลื่อมใสเถิด. ภิกษุณี
เหล่านั้น พึงรับว่า ดีละ พระผู้เป็นเจ้า !
ก็ท่านกล่าวคำพหูพจน์ว่า ตาหิ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้มา
พร้อมกัน. ก็บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง พึงกล่าวและพึงรับ.
ภิกษุณีนอกนี้ พึงเป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น. ก็ถ้าว่าภิกษุณีสงฆ์ก็ดี ภิกษุสงฆ์
ก็ดี ไม่ครบ (องค์เป็นสงฆ์). หรือทั้ง 2 ฝ่ายเป็นเพียงคณะหรือบุคคลเท่านั้น
ก็ดี ภิกษุณีรูปเดียวถูกส่งไปจากสำนักภิกษุณีมากแห่ง เพื่อประโยชน์แก่โอวาท
ก็ดี. ในคำว่า ภิกฺขุนีสงฺโฆ วา น ปูรติ เป็นต้นนั้น มีพจนานุกรม
ดังต่อไปนี้

[ลำดับคำขอทั้งสองฝ่ายที่ครบสงฆ์และไม่ครบสงฆ์]


1. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไหว้เท้าของ
ภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้ยินว่า
พวกภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.
2. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการ
เข้ามาเพื่อรับโอวาท, ได้ยินว่า ดิฉันจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท

3. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ ไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ได้ยินว่า
ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.
4. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลายไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท. ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ได้ยินว่า
ภิกษุณีทั้งหลาย จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.
5. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ดิฉันย่อมไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย
และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ดิฉันจงได้การเข้ามา
เพื่อรับ โอวาท.
6. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ย่อมไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า
และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ได้ยินว่า ภิกษุณีสงฆ์
จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.
7. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไหว้เท้าพระผู้-
เป็นเจ้า และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีทั้งหลาย
จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.
8. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันไหว้เท้าพระผู้เป็นเจ้า และขอการ
เข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ดิฉันจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท
9. ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ภิกษุณีสงฆ์ไหว้ ภิกษุณีทั้งหลายไหว้
และภิกษุณีไหว้เท้าของภิกษุสงฆ์ ของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้า
และขอ ๆ ๆ การเข้ามาเพื่อรับโอวาท ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! นัยว่า ภิกษุสงฆ์
จงได้... นัยว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้ ... และนัยว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามา
เพื่อรับโอวาท.*
* ข้อนี้ท่านละเป็นเปยยาลไว้ ทางที่ถูกต้องแยกเปลเหมือนข้างต้น. - ผู้ชำระ.

ภิกษุนั้น พึงกล่าวในเวลาทำอุโบสถอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !
ภิกษุณีทั้งหลายย่อมไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่
ผู้เจริญ ! ได้ยินว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ภิกษุณีไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ามา
เพื่อรับโอวาท. ข้าแต่พระผู้เจริญ ! ได้ยินว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับ
โอวาท.
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ภิกษุณีสงฆ์ ฯ ล ฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !
ภิกษุณีไหว้เท้าของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย และขอการเข้ามาเพื่อรับโอวาท, ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ! ได้ยินว่า ภิกษุณี จงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท.
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ภิกษุณีสงฆ์ไหว้ ภิกษุณีทั้งหลายไหว้ และ
ภิกษุณีไหว้เท้าของภิกษุสงฆ์ ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย และขอ ๆ ๆ การเข้ามา
เพื่อรับโอวาท, นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้ ... นัยว่า ภิกษุณีทั้งหลายจงได้...
และนัยว่า ภิกษุณีจงได้การเข้ามาเพื่อรับโอวาท. *
ฝ่ายภิกษุผู้สวดปาฏิโมกข์ ถ้ามีภิกษุผู้ที่สงฆ์สมมติ พึงกล่าวโดยนัย
ก่อนนั่นแหละว่า ภิกษุณีสงฆ์ จงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ภิกษุณีทั้งหลาย จง
เข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ภิกษุณีจงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น, ดังนี้. ถ้าภิกษุผู้ได้รับ
สมมติไม่มี, พึงกล่าวว่า ภิกษุณีสงฆ์จงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมที่น่าเลื่อมใสเถิด
ภิกษุณีทั้งหลายจงให้ถึงพร้อม ... ภิกษุณีจงให้ถึงพร้อมด้วยกรรมทีน่าเลื่อมใส
เถิด. ภิกษุผู้รับโอวาทพึงนำกลับไปบอกเหมือนอย่างนั้น ในวันปาฏิบท.
ก็ภิกษุอื่น เว้นภิกษุผู้เป็นพาล ผู้อาพาธ และผู้เตรียมจะไปเสีย
ถ้าแม้นเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร จะไม่รับโอวาทไม่ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มี
* ข้อนี้เวลาแปลจริงต้องแยกแปลเป็นข้อ ๆ เหมือนข้างต้น. - ผู้ชำระ.

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ
รับโอวาท เว้นภิกษุผู้เป็นพาล ผู้อาพาธ ผู้เตรียมจะไปเสีย1.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้มีความประสงค์จะไปในวันอุโบสถที่
14-15 ค่ำ หรือในวันปาฏิบท ชื่อว่า ผู้เตรียมจะไป ถึงจะไปในวันแห่ง
ปักษ์ที่ 2 จะไม่รับ ก็ไม่ได้ คือ ต้องอาบัติที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุจะไม่รับโอวาทไม่ได้, ภิกษุใดไม่รับ. ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ2 ดังนี้นั่นแล.
ภิกษุรับโอวาทแล้ว ไม่บอกในโรงอุโบสถ หรือไม่นำกลับไปบอก
แก่ภิกษุณีทั้งหลายในวันปาฏิบท ย่อมไม่ควร. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุจะไม่บอกโอวาทไม่ได้. ภิกษุใดไม่บอก,
ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ3. แม้คำอื่นก็ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุจะไม่
พึงนำโอวาทไปบอกไม่ได้, ภิกษุใดไม่นำไปบอก. ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ4 ดังนี้.
บรรดาภิกษุผู้นำโอวาทไปบอกเหล่านั้น ภิกษุผู้ถืออรัญญิกธุดงค์ พึง
ทำการนัดหมายเพื่อนำไปบอก. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร รับโอวาทและทำ
การนัดหมายว่า เราจักนำไปบอก5 ในที่นี้ ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร ถ้าหากได้ภิกษาในบ้านเป็นที่อยู่ของภิกษุณีทั้งหลาย. พึงเที่ยวไปใน
บ้านนั้นนั่นแหละ พบพวกภิกษุณีบอกแล้วจึงไป. ถ้าที่บ้านนั้น ภิกษาเป็น
ของหาไม่ได้ง่ายสำหรับเธอ, พึงเที่ยวไปในบ้านใกล้เคียง แล้วมาบ้านของ
พวกภิกษุณีทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ถ้าหากจะต้องไปไกล พึงทำการ
นัดหมายว่า เราจักเข้าไปยังสภา มณฑป หรือว่า โคนไม้ ชื่อโน้น ใกล้
ประตูบ้านของพวกท่าน, พวกท่านพึงมาที่สภาเป็นต้นนั้น . พวกภิกษุณีพึงไป
1. วิ. จุล ล. 7/342. 2-3-4-5 วิ. จุลฺล. 7/341 - 343.

ที่สภาเป็นต้นนั้น จะไม่ไปไม่ได้, สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ไปสู่ที่นัดหมายไม่ได้, ภิกษุณีใดไม่ไป,
ภิกษุณีนั้น ต้องทุกกฏ1 ดังนี้.

[ข้อว่าพึงปวารณาในสงฆ์ 2 ฝ่ายโดย 3 สถาน]


ในคำว่า อุภโตสงฺเฆ ตีหิ ฐาเนหิ ปวาเรตพฺพํ นี้ มีวินิจฉัยว่า
ภิกษุณีทั้งหลาย ปวารณาด้วยตนเองในวัน 14 ค่ำ แล้วพึงปวารณาใน
ภิกษุสงฆ์ในวันอุโบสถ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ (ภิกษุณีทั้งหลาย) ปวารณาในวันนี้แล้ว พึง
ปวารณากะภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีก2 ดังนี้.
ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ โดยนัยดังที่ตรัสไว้ในภิกขุนีขันธกะ
นั่นแล. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้น แล ภิกษุณี
สงฆ์ทั้งปวง ขณะปวารณาได้ทำการไกลาหล. ภิกษุณีทั้งหลายบอกเรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้
สมมติภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้ฉลาด สามารถ ให้ปวารณากะภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์
แก่ภิกษุณีสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แลภิกษุณีสงฆ์พึงสมมติอย่างนั้น คือ
ภิกษุณีสงฆ์ พึงขอร้องภิกษุณีรูปหนึ่งก่อน. ครั้นขอร้องแล้ว ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถ พึงเผดียงสงฆ์ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ! ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความ
พรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์
เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุณีสงฆ์, นี้เป็นคำญัตติ. ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงพึง
ข้าพเจ้า, สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่
1-2 วิ. จุลฺล. 7/343.