เมนู

ในที่ประชุมใหญ่ ในทำแห่งเดียวเท่านั้นก็ได้. แม้ในอัญชลีกรรมก็นัยนี้. ก็
ภิกษุณีนั่งแล้วในที่ใดที่หนึ่งพึงกระทำการลุกรับ พึงกระทำกรรมนั้น ๆ ในที่
และเวลาอันสมควรแก่สามีจิกรรมนั้น ๆ.
บทว่า สกฺกตฺวา คือ กระทำโดยประการที่ธรรมซึ่งคนทำแล้ว จะ
เป็นอันทำแล้ว ด้วยดี.
บทว่า ครุกตฺวา คือ ให้เกดความเคารพในกรรมนั้น.
บทว่า มาเนตฺวา คือ กระทำความรักด้วยใจ (จริง).
บทว่า ปูเชตฺวา คือ บูชาด้วยการทำกิจ 3 อย่างเหล่านี้แหละ.
บทว่า นาติกฺกมนีโย คือ อันภิกษุณีไม่พึงล่วงละเมิด.

[ภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสไม่มีภิกษุ]


ในคำว่า อภิกฺขุเก อาวาเส นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายผู้ให้โอวาทไม่ได้อยู่ในโอกาสภายในระยะกึ่งโยชน์จากสำนักแห่งภิกษุณะ
อาวาสนี้ ชื่อว่า อาวาสไมีมีภิกษุ. ภิกษุณีทั้งหลาย ไม่พึงอยู่จำพรรษาใน
อาวาสไม่มีภิกษุนี้ . สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาวาสที่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ไม่อาจจะไปเพื่อโอวาท หรือเพื่ออยู่ร่วมกัน ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ และ
ไม่อาจเพื่อจะไปที่อื่นจากสำนักภิกษุณีนั้นในภายหลังภัต ฟังธรรมแล้วกลับมา.
ถ้าหมู่ญาติหรือพวกอุปัฏฐาก กล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายผู้ไม่ประสงค์จะอยู่
จำพรรษาในอาวาสนั้นอย่างนี้ว่า ขอจงอยู่เถิด แม่เจ้า พวกผมจักนำภิกษุ
ทั้งหลายมา. ดังนี้ ควรอยู่.
แต่ถ้า ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะอยู่ จำพรรษาในประเทศ มี
ประมาณดังเรากล่าวแล้ว มาพักค้างแม้ที่ปะรำกิ่งไม้คืนหนึ่ง ถูกพวกชาวบ้าน

นิมนต์ไว้ จึงไม่ประสงค์จะไป,* แม้ด้วยความปรารถนาที่ภิกษุจะมาอยู่
จำพรรษาเพียงเท่านี้ ก็ชื่อว่า อาวาสมีภิกษุ. พวกภิกษุณีจะเข้าจำพรรษาใน
อาวาสนี้ ก็ควร. และเมื่อเข้าพรรษา พึงขอร้องภิกษุทั้งหลายในวัน 13 ค่ำ
แห่งปักษ์นั้นแลว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! พวกดิฉันจักอยู่ด้วยโอวาทของท่าน
ทั้งหลาย.
สถานที่อยู่ของภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่กึ่งโยชน์ โดยทางตรงจากสำนัก
ภิกษุณีใด มีอันตรายแห่งชีวิต และอันตรายแห่งพรหมจรรย์ แก่พวกภิกษุณี
ผู้ไปโดยทางนั้น, เมื่อไปโดยทางอื่น มีระยะเกินกว่ากึ่งโยชน์, อาวาสนี้ ย่อม
ทั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวาสไม่มีภิกษุเหมือนกัน. แต่ถ้าว่ามีสำนักภิกษุณีอื่น อยู่
ในที่ปลอดภัยไกลจากสำนักภิกษุณีนั้น ประมาณคาวุตหนึ่ง, ภิกษุณีเหล่านั้น
พึงขอร้องภิกษุณีพวกนั้น แล้วกลับไปขอร้องภิกษุทั้งหลายว่า ข้าแต่พระผู้
เป็นเจ้าทั้งหลาย ! มีอันตรายในทางตรงแก่พวกดิฉัน, เมื่อไปทางอื่นมีระยะ
เกินกว่ากึ่งโยชน์, แต่ในระหว่างทาง มีสำนักภิกษุณีอื่นไกลจากสำนักของพวก
ดิฉันประมาณคาวุตหนึ่ง พวกดิฉันจักอยู่ด้วยโอวาทที่มาแล้ว ในสำนักภิกษุณี
นั้นจากสำนักพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นพึงรับรอง. ตั้งแต่นั้นไป
ภิกษุณีเหล่านั้น พึงมาสู่สำนักภิกษุณีนั้นกระทำอุโบสถ, หรือว่าเยี่ยมภิกษุณี
เหล่านั้นแล้ว กลับไปยังสำนักของ ในนั่นแหละ กระทำอุโบสถก็ได้.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายใคร่จะอยู่จำพรรษา มายังวิหารในวัน 18 ค่ำ
และพวกภิกษุณีถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจักอยู่จำพรรษาในที่นี้หรือ ? แล้วกล่าว
ว่า เออ ภิกษุณีเหล่านั้น กราบเรียนต่อไปว่า พระผู้เป็นเจ้า ! ถ้าอย่างนั้น
แม้พวกดิฉันก็จักอยู่อาศัยโอวาทของท่านทั้งหลาย ดังนี้, ในวันรุ่งขึ้น ไม่เห็น
* แปลตามฎีกาและโยชนา 2/41.

ความสมบูรณ์แห่งอาหารในบ้าน คิดว่า เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ จึงหลีกไป
ถ้าว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ไปสู่วิหารในวันอุโบสถ ไม่เห็นภิกษุเหล่านั้น. ถามว่า
ในอาวาสเช่นนี้ จะพึงทำอย่างไร ? แก้ว่า ภิกษุทั้งหลายอยู่ในอาวาสใด พึง
ไปเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง ณ อาวาสนั้น, หรือว่า ทำความผูกใจว่า
ภิกษุทั้งหลายจักมาเข้าพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง แล้วพึงอยู่ด้วยโอวาทใน
สำนักของพวกภิกษุผู้มาแล้ว.
ก็ถ้าว่า แม้ในวันเข้าปัจฉิมพรรษาก็ไม่มีภิกษุบางรูปมา, และใน
ระหว่างทาง มีราชภัย โจรภัย หรือทุพภิกขภัย, เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้อยู่
ในอาวาสไม่มีภิกษุ, แม้ผู้ขาดพรรษาไป ก็เป็นอาบัติ, พึงรักษาอาบัติ มีการ
ขาดพรรษาเป็นเหตุนั้นไว้. จริงอยู่ ในอันตรายทั้งหลาย ท่านปรับเป็นอนาบัติ
แก่ภิกษุณีผู้อยู่ในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ.
ถ้าภิกษุทั้งหลายมาเข้าพรรษาแล้ว หลีกไปเสียอีก ด้วยเหตุบางอย่าง
ก็ตาม, พวกภิกษุณีพึงอยู่ต่อไป. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้มีพวกภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หลีกไปก็ดี สึกเสียก็ดี
กระทำกาละเสียก็ดี ไปเข้าฝักฝ่ายอื่นก็ดี มีอันตรายก็ดี ผู้เป็นบ้าก็ดี ผู้เป็นต้น
บัญญัติก็ดี, แต่เมื่อจะปวารณาพึงไปปวารณาในอาวาสที่มีพวกภิกษุ.
บทว่า อนฺวฑฺฒมาสํ แปลว่า ทุก ๆ กึ่งเดือน.
สามบทว่า เทฺว ธมฺมา ปจฺจาสึสิตพฺพา คือ พึงปรารถนา
ธรรม 2 อย่าง.
บทว่า อุโปสถปุจฺฉกํ แปลว่า ถามถึงอุโบสถ ในการถามถึง
อุโบสถนั้น ในอุโบสถ 15 ค่ำ พึงไปถามอุโบสถในวัน 14 ค่ำแห่งปักษ์
ในอุโบสถ 14 ค่ำ พึงไปถามอุโบสถในวัน 13 ค่ำ แห่งปักษ์. แต่ในมหา-

ปัจจรีกล่าวว่า พึงไปถามในดิถีที่ 13 ค่ำแห่งปักษ์นั่นแลว่า อุโบสถนี้ 14 ค่ำ
หรือ 15 ค่ำ. ในวันอุโบสถ พึงเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่โอวาท ก็ตั้งแต่วัน
แรมค่ำ 1 ไป พึงไปเพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ทรงประทานโอกาสแก่กรรมอื่น ทรงบัญญัติการไปติดต่อกันในสำนักของ
ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น แก่พวกภิกษุณีด้วยประการอย่างนั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะ
มาตุคามมีปัญญาน้อย. จริงอยู่ มาตุคามมีปัญญาน้อย การฟังธรรมเป็นนิตย์
มีอุปการะมากแก่เธอ (แก่มาตุคามนั้น ). และเมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุณีทั้งหลาย
จักไม่กระทำมานะว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ย่อมรู้ธรรมที่พวกเรารู้อยู่เท่านั้น
แล้วจักเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุสงฆ์ กระทำการบรรพชาให้มีประโยชน์. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำ (การบัญญัติ) อย่างนั้น . ฝ่ายภิกษุณี
ทั้งหลาย สำคัญว่า เราทั้งหลายจักปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน จึงเข้าไปยังวิหาร
ไม่ขาดทั้งหมดทีเดียว.

[ว่าด้วยภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์เพื่อรับโอวาท]


สมจริงดังคำที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั่นแล
ภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมด ย่อมไปรับโอวาท. พวกมนุษย์ย่อมโพนทะนา ติเตียน
ยกโทษว่า ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นเมียของภิกษุพวกนี้, เหล่านี้ เป็นชู้สาวของภิกษุ
เหล่านั้น, บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จักอภิรมย์กับภิกษุณีเหล่านี้ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย
จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุณีสงฆ์ ไม่พึงไปรับโอวาททั้งหมด ถ้าไปรับ (ทั้งหมด)
ต้องทุกกฏ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุณี 4 - 5 รูปไปรับโอวาท
ดังนี้. ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านก็โพนทะนาอีกเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอีกว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุณี 2-3 รูปไปรับโอวาท
ดังนี้.