เมนู

ส่วนภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี พึงเรียนปิฎก 3 พร้อมทั้งอรรถกถา. เมื่อ
ไม่อาจ พึงทำอรรถกถาแห่งนิกายหนึ่ง บรรดา 4 นิกายให้ชำนาญ. เพราะว่า
ด้วยนิกายเดียว ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาแม้ในนิกายที่เหลือได้. บรรดา
ปกรณ์ 7 พึงทำอรรถกถาแห่ง 4 ปกรณ์ให้ชำนาญ . เพราะว่า ด้วยนัยที่ได้
ในอรรถกถาแห่ง 4 ปกรณ์นั้น ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาในปกรณ์ที่
เหลือได้. ส่วนวินัยปิฏกมีอรรถต่าง ๆ กัน มีเหตุต่าง ๆ กัน เพราะเหตุนั้น
ภิกษุผู้สั่งสอนนางภิกษุณีพึงกระทำวินัยปิฎกนั้นพร้อมทั้งอรรถกถาให้ชำนาญ
ทีเดียว. ก็ด้วยการเรียนสุตะมีประมาณเท่านี้ ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ชื่อว่า
เป็นผู้มีสุตะมากแล.

[ปาฏิโมกข์ทั้งสองของเธอมาดีแล้วโดยพิสดาร]


ส่วนคำว่า อุภยานิ โข ปนสฺส เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ต่างหาก ก็เพราะเมื่อพาหุสัจจะ แม้มีองค์ 9 อย่างอื่นมีอยู่ครบทั้งหมด
จะเว้นวินัยปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาเสีย ย่อมไม่ควรทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตฺถาเรน ได้แก่ พร้อมด้วยอุภโตวิภังค์.
บทว่า สฺวาคตานิ คือ มาแล้วด้วยดี. ก็ปาฎิโมกข์ทั้ง 2 มาแล้ว
โดยประการใด จึงจัดว่ามาแล้วด้วยดี เพื่อแสดงประการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า สุวิภตฺตานิ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิภตฺตานิ ได้แก่ จำแนกได้ดี คือเว้น
จากโทษ คือบทที่ตกหล่นภายหลังและสับสนกัน.
บทว่า สุปฺปวตฺตินี ได้แก่ ช่ำชอง คล่องปาก.
สองบทว่า สุวินิจฺฉิตา สุตฺตโส ได้แก่ มีวินิจฉัยดีแล้ว ด้วยอำนาจ
แห่งสูตรที่จะพึงนำมาจากขันธกะและบริวาร.

บทว่า อนุพฺยญชนโส ได้แก่ วินิจฉัยได้เรียบร้อย โดยความ
บริบูรณ์แห่งอักขรบท และ โดยอำนาจแห่งสูตร คือไม่ขาดตก ไม่มีอักษรที่
ผิดพลาด. อรรถกถา ท่านแสดงไว้ด้วยบทว่า โดยอนุพยัญชนะนี้ จริงอยู่
วินิจฉัยนี้ ย่อมมีมาจากอรรถกถา.
บทว่า กลฺยาณวาโจ มีความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวาจาของชาวเมือง
ซึ่งมีบทและพยัญชนะกลมกล่อม ตามคำที่สมควรแก่การจัดเป็นสถิลและธนิต
เป็นต้น คือ ประกอบด้วยวาจาให้รู้แจ้งซึ่งอรรถอันสละสลวย ไม่มีโทษ.
บทว่า กลฺยาณวากฺกรโณ แปลว่า มีเสียงอ่อนหวาน จริงอยู่
มาตุคาม ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสมบูรณ์แห่งเสียง เพราะเหตุนั้น หล่อน
จึงดูแคลนคำพูดที่เว้นจากความสมบูรณ์แห่งเสียง แม้ที่มีบทและพยัญชนะ
กลมกล่อม.
คำว่า เยภุยฺเยน ภิกขุนีนํ ปิโย โหติ มนาโป มีความว่า ชื่อว่า
ภิกษุผู้เป็นที่รักแห่งภิกษุณีทั้งหมด หาได้ยาก. แต่ต้องเป็นที่รักเป็นที่จำเริญใจ
ของพวกภิกษุณีผู้เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิต เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลและ
อาจาระ.
คำว่า ปฏิพโล โหติ ภิกฺขุนิโย โอวทิตุํ มีความว่า เมื่อแสดง
สูตรและเหตุ ชื่อว่าเป็นผู้สามารถ เพื่อจะขู่ด้วยภัยในวัฏฏะ แล้วกล่าวสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย คือ เมื่อแสดงธรรมแก่ภิกษุณีเหล่านั้น .
บทว่า ถาสายวตฺถวสนาย แปลว่า ผู้นุ่งผ้าย้อมฝาด.
บทว่า ครุธมฺมํ มีความว่า ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ไม่เคยต้องกาย
สังสัคคะกับภิกษุณี หรือว่าไม่เคยต้องเมถุนธรรมในนางสิกขมานาและสามเณรี
จริงอยู่ มาตุคาม ระลึกถึงกรรมที่ภิกษุกระทำไว้ในก่อน ย่อมไม่ทำความ

เคารพในธรรมเทศนา ของภิกษุแม้ผู้ตั้งอยู่ในสังวร. อีกอย่างหนึ่ง หล่อนจะ
ยังความคิดให้เกิดขึ้นในอสัทธรรมนั่นเอง.
บทว่า วีสติวสฺโส วา มีความว่า ผู้มีพรรษา 20 โดยอุปสมบท
หรือว่า มีพรรษาเกินกว่า 20 แต่อุปสมบทนั้น. ภิกษุนั้น แม้จะคลุกคลีอยู่
กับวัตถุที่เป็นข้าศึกกัน มีรูปเห็นปานนั้นบ่อย ๆ ก็จะไม่พลันถึงความเสียศีล
เหมือนภิกษุหนุ่ม. ภิกษุนั้นพิจารณาดูวัยของตนแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกำลังพอที่
จะขจัดฉันทราคะ ในฐานะอันไม่สมควรเสีย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า วีสติวสฺโส วาโหติ อติเรกวสติวสฺโส วา.
ก็บรรดาองค์ 8 เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า คำว่า เป็นผู้มีศีลเป็นต้น
เป็นองค์ที่ 1, คำว่า เป็นพหูสูตเป็นต้น เป็นองค์ที่ 2, คำว่า ก็ (ปาฏิโมกข์)
ทั้ง 2 แลของเธอ เป็นต้น เป็นองค์ที่ 3, คำว่าเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีเสียง
อ่อนหวาน เป็นองค์ที่ 4, คำว่า เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพวกนางภิกษุณี
โดยมาก เป็นองค์ที่ 5, คำว่า เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกนางภิกษุณี เป็น
องค์ที่ 6, คำว่า ก็ข้อนั้นหามิได้แลเป็นต้น เป็นองค์ที่ 7, คำว่า มีพรรษา
20 เป็นต้น เป็นองค์ที่ 8.
บทว่า ญตฺติจตุตฺเถน ได้แก่ (ด้วยญัตติจตุตถกรรม) มีนัยดังกล่าว
แล้วในเรื่องก่อน ๆ นั่น แหละ.

[ว่าด้วยคุณธรรม 8 ของนางภิกษุณี]


บทว่า ครุธมฺเมหิ คือด้วยธรรมอันหนัก จริงอยู่ ธรรมเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ครุธรรม เพราะเป็นธรรมอันภิกษุณีทั้งหลาย
พึงกระทำความเคารพรับรอง.