เมนู

ส่วนภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี พึงเรียนปิฎก 3 พร้อมทั้งอรรถกถา. เมื่อ
ไม่อาจ พึงทำอรรถกถาแห่งนิกายหนึ่ง บรรดา 4 นิกายให้ชำนาญ. เพราะว่า
ด้วยนิกายเดียว ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาแม้ในนิกายที่เหลือได้. บรรดา
ปกรณ์ 7 พึงทำอรรถกถาแห่ง 4 ปกรณ์ให้ชำนาญ . เพราะว่า ด้วยนัยที่ได้
ในอรรถกถาแห่ง 4 ปกรณ์นั้น ก็จักสามารถเพื่อกล่าวแก้ปัญหาในปกรณ์ที่
เหลือได้. ส่วนวินัยปิฏกมีอรรถต่าง ๆ กัน มีเหตุต่าง ๆ กัน เพราะเหตุนั้น
ภิกษุผู้สั่งสอนนางภิกษุณีพึงกระทำวินัยปิฎกนั้นพร้อมทั้งอรรถกถาให้ชำนาญ
ทีเดียว. ก็ด้วยการเรียนสุตะมีประมาณเท่านี้ ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ชื่อว่า
เป็นผู้มีสุตะมากแล.

[ปาฏิโมกข์ทั้งสองของเธอมาดีแล้วโดยพิสดาร]


ส่วนคำว่า อุภยานิ โข ปนสฺส เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ต่างหาก ก็เพราะเมื่อพาหุสัจจะ แม้มีองค์ 9 อย่างอื่นมีอยู่ครบทั้งหมด
จะเว้นวินัยปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาเสีย ย่อมไม่ควรทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตฺถาเรน ได้แก่ พร้อมด้วยอุภโตวิภังค์.
บทว่า สฺวาคตานิ คือ มาแล้วด้วยดี. ก็ปาฎิโมกข์ทั้ง 2 มาแล้ว
โดยประการใด จึงจัดว่ามาแล้วด้วยดี เพื่อแสดงประการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า สุวิภตฺตานิ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิภตฺตานิ ได้แก่ จำแนกได้ดี คือเว้น
จากโทษ คือบทที่ตกหล่นภายหลังและสับสนกัน.
บทว่า สุปฺปวตฺตินี ได้แก่ ช่ำชอง คล่องปาก.
สองบทว่า สุวินิจฺฉิตา สุตฺตโส ได้แก่ มีวินิจฉัยดีแล้ว ด้วยอำนาจ
แห่งสูตรที่จะพึงนำมาจากขันธกะและบริวาร.