เมนู

14. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ
สงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
15. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ
สำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.
[422] 16. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณี
สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
17. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสงสัย กล่าวสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกัน กล่าวสอน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[423] ภิกษุให้อุเทศ 1 ภิกษุให้ปริปุจฉา 1 ภิกษุอันภิกษุณีกล่าวว่า
นิมนต์ท่านสวดเถิด เจ้าข้า ดังนี้ สวดอยู่ 1 ภิกษุถามปัญหา 1 ภิกษุถูกถาม
ปัญหาแล้วแก้ 1 ภิกษุกล่าวสอนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอยู่ แต่พวกภิกษุณีฟังอยู่
ด้วย 1 ภิกษุกล่าวสอนสิกขมานา 1 ภิกษุกล่าวสอนสามเณรี 1 ภิกษุวิกลจริต 1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

ภิกขุนีวรรคที่ 3 โอวาทสิกขาบทที่ 1


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 1 แห่งภิกชุนีวรรค* ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถ เรื่องภิกษุไม่ได้รับสมมติสั่งสอนนางภิกษุณี ]


ในคำว่า ลาภิโน โหนติ นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ นาง
ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไม่ถวายเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ ถวายแก่พระเถระเหล่านั้น.
แต่พวกกุลธิดาผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ย่อมเจาะจงพระอสีติมหาสาวกว่า
พระเถระโน้นและโน้น ย่อมกล่าวสอน แล้วกล่าวสรรเสริญคุณ ที่มีอยู่. เช่นศีล
สุตะ อาจาระ ชาติ และโคตรเป็นต้น ของพระอสีติมหาสาวกเหล่านั้น ตาม
กระแสแห่งถ้อยคำของเหล่าญาติชนผู้มาสู่สำนักของตน ถามอยู่ว่า ข้าแต่แม่เจ้า
พวกท่านได้รับโอวาท อุเทศ ปริปุจฉา จากที่ไหน ร ดังนี้. จริงอยู่ คุณ
ที่มีอยู่เห็นปานนี้ ควรเพื่อจะกล่าว. เพราะเหตุนั้น พวกมนุษย์ผู้มีจิตเลื่อมใส
จึงได้นำเอาลาภและสักการะเป็นอันมาก เช่นจีวรเป็นต้น ไปถวายแก่พระเถระ
ทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะทั้งหลายจึงกล่าวว่า ลาภิโน
โหนฺติ จีวร ฯปฯ ปริกฺขารํ
ดังนี้.
สองบทว่า ภิกฺขุนิโย อุปสงฺกมิตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า บรรดา
นางภิกษุณีเหล่านั้น แม้ภิกษุณีรูปหนึ่งก็ไม่มาในสำนักของภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้น, แต่พ่วกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้มีใจอันตัณหาในลาภฉุดลากไปเนือง ๆ ได้
ไปสู่สำนักแห่งนางภิกษุณีเหล่านั้น . พระธรรมสังคาหกะทั้งหลาย หมายถึงการ
ไปสู่สำนักภิกษุณีแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์นั้น จึงได้กล่าวคำว่า ภิกฺขุนิโย อุปสงฺ-
กมิตฺวา
ดังนี้. แม้ภิกษุณีเหล่านั้น ได้กระทำตามถ้อยคำแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
* บาลี เป็นโอวาทวรรค.