เมนู

อนาปัตติวาร


[405] ภิกษุไม่แกล้ง 1 ภิกษุไม่มีสติ 1 ภิกษุไม่รู้ 1 ภิกษุวิกลจริต 1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ 2 จบ


เสนาสนวรรค สัปปาณกสิกขาบทที่ 10


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 1. ดังต่อไปนี้

[ว่าด้วยเทน้ำมีตัวสัตว์รดหญ้าหรือดิน]


สองบทว่า ชานํ สปฺปาณกํ ได้แก่ รู้อยู่โดยประการใดประการหนึ่ง
ว่า น้ำนี้ มีตัวสัตว์เล็ก ๆ.
สองบทว่า สิญฺเจยฺย วา สิญฺจาเปยฺย วา มีความว่า ภิกษุพึง
เอาน้ำนั้นรดเองก็ดี สั่งคนอื่นให้รดก็ดี.
ก็คำเช่นนี้ว่า สิญเจยฺญาติ สยํ สิญฺจติ ดังนี้ ในพระบาลี ผู้ศึกษา
พึงทราบเนื้อความโดยนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อนนั่นแล. เมื่อภิกษุรดไม่
ทำให้สาย (น้ำ) ในน้ำนั้นขาด เป็นอาบัติเพียงตัวเดียวในหม้อน้ำหม้อเดียวกัน
ในภาชนะทุกอย่างก็นัยนี้ . แต่เป็นอาบัติทุก ๆ ประโยค แก่ภิกษุผู้รดทำให้

สายน้ำขาด. ภิกษุทำเหมืองให้เป็นทางตรง (น้ำ) จะไหลทั้งวันก็ตาม เป็น
อาบัติตัวเดียว. ถ้าภิกษุกั้นในที่นั้น ๆ แล้วไขน้ำไปทางอื่น ๆ เป็นอาบัติทุก ๆ
ประโยค. ถ้าแม้นหญ้าขนาดบรรทุกเต็มเล่มเกวียน ภิกษุใส่ลงในน้ำด้วยประโยค
เดียว ก็เป็นอาบัติตัวเดียว. ภิกษุทั้งหญ้าหรือใบไม้ลงทีละเส้น ทีละใบ เป็น
อาบัติทุก ๆ ประโยค. ในดินเหนียวก็ดี ในวัตถุอื่นมีไม้ โคลน และโคมัย
เป็นต้นก็ดี ก็นัยนี้นั้นและ ก็วิธีทิ้งหญ้าและดินลงในน้ำนี้ มิได้ตรัสหมายถึง
น้ำมาก. น้ำใด เมื่อทิ้งหญ้าและดินลงไป จะถึงความแห้งไป หรือจะเป็น
น้ำขุ่น, ในน้ำใด จำพวกสัตว์เล็ก ๆ จะตายเสีย, บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสหมายถึงน้ำเช่นนั้น . บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เกิดขึ้น ทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
สัปปาณกสิกขาบทที่ 10 จบ
เสนาสนวรรคที่ 2 จบบริบูรณ์
ตามวรรณนานุกรม

หัวข้อประจำเรื่อง


1. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยพรากของเขียว
2. อญัญูวาทสิกขาบท ว่าด้วยแกล้งกล่าวคำอื่น
3. อุชฌาปนสิกขาบท ว่าด้วยโพนทะนา
4. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยหลีกไปไม่เก็บเสนาสนะ
5. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยใช้เสนาสนะแล้วไม่เก็บ
6. อนูปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยนอนแทรกแซง
7. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดคร่าภิกษุ
8. เวทาสกุฎีสิกขาบท ว่าด้วยนั่งนอนบนร่างร้าน
9. มหัลลกสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
10. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยใช้น้ำมีตัวสัตว์.