เมนู

ในเวลาเปิด จะกระทบส่วนของฝาประมาณคืบหนึ่งบ้าง เกินกว่าบ้าง. ก็ใน
คำว่าอโลกสันธิ นี้ ย่อมได้อุปจารในทิศทั้งปวง เพราะเหตุนั้น โอกาสประมาณ
เท่าความกว้างแห่งบานหน้าต่างในทิศทั้งปวง. ภิกษุพึงฉาบเองหรือพึงให้ฉาบ
เพื่อประโยชน์แก่การบริกรรมบานหน้าต่าง.
คำว่า เสตวณฺณํ เป็นต้น ไม่ใช่เป็นการแจกบทมาติกา. จริงอยู่
ชื่อว่าวิหารจะเป็นของหนักด้วยสีขาวเป็นต้นนี้ หามิได้ เหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาต (สีขาวเป็นต้น ) ไว้ในบทภาชนะนั่นแล. เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุพึงทำกิจทุกอย่างมีการฉาบปูนขาวเป็นต้นนี้ตามสบาย.

[ว่าด้วยการอำนวยให้การพอกบนหลังคา]


เพื่อทรงแสดงกรรม คือการฉาบอันภิกษุพึงทำอย่างนั้นแล้ว แสดง
กรรมที่ภิกษุพึงทำบนหลังคาอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ทฺวิตฺติจฺ-
ฉทนสฺส
เป็นต้น . พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น ดังนี้
คำว่า ทฺวิตฺติจฺฉทนสฺส ปริยายํ คือ (อำนวยให้) การพอกหลังคา
ได้ 2-3 ชั้น. การพอกเรียกว่า ปริยาย. อธิบายว่า พึงอำนวยให้พอกได้
2 ครั้ง หรือพอกได้ 3 ครั้ง
สองบทว่า อปหริเต ฐิเตน คือ ยืนอยู่ในที่ปราศจากของสดเขียว.
ก็ในคำว่า หริตํ นี้ ทรงประสงค์เอาบุพพัณชาติต่างโดยเป็นข้าวเปลือก
7 ชนิด และอปรัณชาติต่างโดยเป็นถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ถั่วพู น้ำเต้า
และฟักเขียวเป็นต้น . ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า ที่ชื่อว่า ของสดเขียว
ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ.
ก็ในคำว่า สเจ หริเต ฐิโต อธิฏฺฐาติ อปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้
พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ พืชที่เขาหว่านในนาแม้ใด ชั้นแรกยังไม่สำเร็จ

(ยังไม่งอก) ก็หรือว่า เมื่อฝนตกแล้ว จักสำเร็จ (จักงอก) พืชแม้นี้ ก็ถึง
การนับว่าของสดเขียวเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ภิกษุยืนอยู่ แม้ในนาเห็นปาน
นั้น ก็ไม่อำนวยการ. พึงยืนอำนวยการในที่ปราศจากของสดเขียวเท่านั้น.
ในเรื่องอำนวยการปราศจากของสดเขียวในนาที่หว่านพืชแล้ว แม้นั้น
มีกำหนดดังต่อไปนี้คือ ภิกษุนั่งอยู่ที่ข้างอกไก่ก็ดี ช่อฟ้าเรือนยอดก็ดี ยอดโดม
ข้างบนก็ดี มองดูทางริมขอบเชิงชายแห่งหลังคาเห็นคนผู้ยืนอยู่บนภูมิภาคใด.
และคนยืนอยู่ที่ภูมิภาคใด ย่อมเห็นภิกษุนั้น ผู้นั่งอยู่ข้างบน, พึงยืนอยู่ที่ภูมิภาค
นั้น, ย่อมไม่ได้เพื่อจะยืนอำนวยการในที่แม้เป็นที่ปราศจากของสดเขียว ภายใน
แห่งภูมิภาคนั้นเข้ามา เพราะเหตุไร ? เพราะว่าภูมิภาคนี้ เป็นโอกาสที่จะ
พังลงมาแห่งวิหารเมื่อจะพัง.
การมุงตรง ๆ ไปไม่อ้อม ชื่อว่า การมุงตามทางแถว ในคำว่า
มคูเคน ฉาเทนฺตสฺส นี้. การมุงตามทางแถวนั้น ย่อมมีได้ด้วยอิฐ ศิลา
และปูนขาว.
คำว่า เทฺว มคฺเค อธิฏฺฐหิตฺวา มีความว่า ทางแถว 2 แถว
ถ้ามุงไม่ดี, ย่อมได้แม้เพื่อจะรื้อออกเสียแล้วให้มุงบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น พึง
มุงเอง 2 แถว อย่างที่ตนต้องการ แล้วแถวที่ 3 พึงสั่งว่า ต่อไปนี้ จงมุง
อย่างนี้ แล้วหลีกไป.
บทว่า ปริยาเยน แปลว่า ด้วยการพอกเป็นชั้น ๆ (การมุงเป็นชั้น ๆ).
ก็การมุงอย่างนั้น ย่อมได้ด้วยหญ้าและใบไม้. เพราะเหตุนั้น ในการมุงแม้นี้
ภิกษุพึงมุงเอง 2 ชั้น อย่างที่ตนต้องการแล้ว ชั้นที่ 3 พึงสั่งว่า ทีนี้ จงมุง
อย่างนี้ แล้วหลีกไป ก็ถ้าว่า ไม่หลีกไป พึงยืนนิ่งเสีย. ก็การมุงทั้งหมดนี้
พึงทราบว่า ในเบื้องบนหลังคา. ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่า ก็วิหารที่มุงเป็นชั้น ๆ
ฝนจะไม่รั่วได้นาน จึงมุอย่างนี้.

คำว่า ตโต เจ อุตฺตรึ มีความว่า เลย 3 แถว หรือ 3 ชั้นขึ้นไป
คือในแถวที่ 4 หรือในชั้นที่ 4.
คำว่า กรเฬ คือ ในกำหญ้าทุก ๆ กำ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้
ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ 9 จบ

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 10


เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี


[402] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคา-
ฬวเจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้นพวกภิกษุชาวรัฐอาฬวี กำลังกระทำนวกรรม
รู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ จึงรดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบ้าง ดินบ้าง
บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุ
ชาวรัฐอาฬวีรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ จึงได้รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบ้าง
ดินบ้างเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอบถามภิกษุชาวรัฐอาฬวีว่า ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง
ซึ่งหญ้าบ้าง ดินบ้าง จริงหรือ.
พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย พวก
เธอรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ ไฉนจึงได้รดเองบ้าง ให้คนอื่นรดบ้าง ซึ่งหญ้าบัาง
ดินบ้าง การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-