เมนู

ในเวลาเปิด จะกระทบส่วนของฝาประมาณคืบหนึ่งบ้าง เกินกว่าบ้าง. ก็ใน
คำว่าอโลกสันธิ นี้ ย่อมได้อุปจารในทิศทั้งปวง เพราะเหตุนั้น โอกาสประมาณ
เท่าความกว้างแห่งบานหน้าต่างในทิศทั้งปวง. ภิกษุพึงฉาบเองหรือพึงให้ฉาบ
เพื่อประโยชน์แก่การบริกรรมบานหน้าต่าง.
คำว่า เสตวณฺณํ เป็นต้น ไม่ใช่เป็นการแจกบทมาติกา. จริงอยู่
ชื่อว่าวิหารจะเป็นของหนักด้วยสีขาวเป็นต้นนี้ หามิได้ เหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาต (สีขาวเป็นต้น ) ไว้ในบทภาชนะนั่นแล. เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุพึงทำกิจทุกอย่างมีการฉาบปูนขาวเป็นต้นนี้ตามสบาย.

[ว่าด้วยการอำนวยให้การพอกบนหลังคา]


เพื่อทรงแสดงกรรม คือการฉาบอันภิกษุพึงทำอย่างนั้นแล้ว แสดง
กรรมที่ภิกษุพึงทำบนหลังคาอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ทฺวิตฺติจฺ-
ฉทนสฺส
เป็นต้น . พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น ดังนี้
คำว่า ทฺวิตฺติจฺฉทนสฺส ปริยายํ คือ (อำนวยให้) การพอกหลังคา
ได้ 2-3 ชั้น. การพอกเรียกว่า ปริยาย. อธิบายว่า พึงอำนวยให้พอกได้
2 ครั้ง หรือพอกได้ 3 ครั้ง
สองบทว่า อปหริเต ฐิเตน คือ ยืนอยู่ในที่ปราศจากของสดเขียว.
ก็ในคำว่า หริตํ นี้ ทรงประสงค์เอาบุพพัณชาติต่างโดยเป็นข้าวเปลือก
7 ชนิด และอปรัณชาติต่างโดยเป็นถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ถั่วพู น้ำเต้า
และฟักเขียวเป็นต้น . ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า ที่ชื่อว่า ของสดเขียว
ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ.
ก็ในคำว่า สเจ หริเต ฐิโต อธิฏฺฐาติ อปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้
พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ พืชที่เขาหว่านในนาแม้ใด ชั้นแรกยังไม่สำเร็จ