เมนู

วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่ง
ตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี
ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ติกทุกกฏ
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล เพราะเป็นส่วนตัวของภิกษุ
อื่น. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
วิหารเป็นส่วนตัวของตน. . ไม่ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร


[396] ไม่ใช่ร้าน 1 ร้านสูงพอกระทบศีรษะ 1 ข้างล่างไม่ได้ใช้
เป็นที่อยู่ 1 ข้างบนปูพื้นไว้ 1 เท้าเตียงเท้าตั่งไดตรึงสลักกับตัว 1 ภิกษุยืน
บนเตียงตั่งนั่นหยิบจีวรหรือพาดจีวรได้ 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1
ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 8 จบ

เสนาสนวรรค เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ 8


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 8 ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถเวทาสกุฎีและกิริยานั่งทับ]


บทว่า อุปริ เวหาสกุฏิยา ได้แก่ บนกุฎี 2 ชั้นก็ดี บนกุฎี 3
ชั้นก็ดี ที่ข้างบนไม่ได้ปูพื้นไว้
คำว่า มญฺจํ สหสา อภินิสีทติ ได้แก่ นั่งทับ คือ นั่งคร่อมเตียง
โดยแรง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มญฺจํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัตติ. ความว่า นั่งลงบนเตียง. ก็คำว่า อภิ นี้ เป็นเพียงอุปสรรค
เพื่อทำให้บทสวยงามเท่านั้น.
บทว่า ปติตฺวา คือ ตกลง หรือหลุดออกแล้ว . เพราะว่า ใน
เบื้องบนของเท้าเตียงนั้น แม้สลักก็ไม่ใส่ เพราะฉะนั้น เท้าเตียงจึงหลุดออก
บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือ ได้ทำเสียงร้องครวญครางผิดรูป
คำว่า เวหาสกุฎี นาม มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส อสีสฆฏฺฏา
มีความว่า กุฎีใดไม่กระทบศีรษะแห่งบุรุษผู้มีขนาดปานกลาง ด้วยขื่อที่ต่ำกว่า
เขาทั้งหมด, (กุฎีนั้น ชื่อว่า เวหาสกุฎี) ด้วยคำนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงเวหาสกุฎีที่ทรงประสงค์แล้วในสิกขาบทนี้ . (แต่) หาได้
ทรงแสดงลักษณะของเวหาสกุฎีไว้ไม่. จริงอยู่ กุฎีมี 2 ชนก็ดี กุฎีมี 3 ชั้น
เป็นต้นก็ดี ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเบื้องบนไม่ได้ปูพื้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า เวหาสกุฎี. แต่ในสิกขาบทนี้ประสงค์เอาเวหาสกุฎีที่ไม่กระทบ
ศีรษะ. บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งอาบัติ ในการนั่งทับเป็นต้น
ด้วยอำนาจแห่งประโยค โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล