เมนู

ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอันเทวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย 1 ภิกษุ
ขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของอันเทวาสิก หรือสัทธิวิหาริกนั้น 1 ภิกษุ
วิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติ.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ

เสนาสนวรรค นิกัฑฒนสิกขาบทที่ 7


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 7 ดังต่อไปนี้

[ว่าด้วยสถานที่และกิริยาที่ฉุดคร่า]


ข้อว่า อเกน ปโยเคน พหุเกปิ ทฺวาเร อติกฺกาเมติ มีความว่า
ในเสนาสนะทั้งหลาย เช่นปราสาท 4 ชั้น 5 ชั้นก็ดี ศาลา 4 เหลี่ยมจตุรัส
มีซุ้มประตู 6-7-8 ซุ้มก็ดี ภิกษุจับที่แขนทั้งสอง หรือที่คอให้ก้าวออกไป
ด้วยประโยคเดียว ไม่พักในระหว่าง เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียวเท่านั้น. เมื่อ
หยุดเป็นพัก ๆ ให้ก้าวออกไปด้วยประโยคต่าง ๆ เป็นปาจิตตีย์หลายตัวตาม
จำนวนประตู. แม้เมื่อไม่เอามือจับต้องฉุดออกไปด้วยวาจากล่าวว่า จงออกไป
ก็นัยนี้นั่นแล.
วินิจฉัยในคำว่า อฺญฺญํ อาณาเปติ นี้ พึงทราบดังนี้ เพียงแต่
สั่งว่า จงฉุดภิกษุนี้ออกไป เป็นทุกกฏ. ถ้าภิกษุผู้ได้รับสั่งคราวเดียวนั้นให้
ก้าวพ้นประตูแม้หลายแห่ง ก็ต้องปาจิตตีย์ตัวเดียว. แต่ถ้าว่า เธอได้รับสั่ง
กำหนดอย่างนี้ว่า จงฉุดผ่านประตูเท่านี้ออกไป ก็ดี ว่า จงฉุดไปจนถึง
ประตูใหญ่ ดังนี้ ก็ดี เป็นปาจิตตีย์ตามจำนวนประตู.

สองบทว่า ตสฺส ปริกฺขารํ มีความว่า ภิกษุใด ขนออกเองก็ดี
ใช้ให้ขนออกก็ดี ซึ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นของส่วนตัวแห่งภิกษุนั้น
เช่น บาตร จีวร ธมกรกกรองน้ำ เตียงตั่ง ฟูกและหมอนเป็นต้นโดยที่สุดแม้
สะเก็ดน้ำย้อม เป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้นหลายตัว ตามจำนวนแห่งวัตถุ. ท่านกล่าว
ไว้ในมหาปัจจรีว่า ก็ในสิ่งของเหล่านั้น อันเจ้าของผูกมัดไว้แน่น เป็นอาบัติ
ตัวเดียวเท่านั้น.
วินิจฉัยแม้ในคำว่า อญฺญสฺส ปุคฺคลิเก นี้ พึงทราบดังนี้
ของส่วนตัวแห่งบุคคลผู้คุ้นเคย เช่นเดียวกับของส่วนตัวของตนนั่นแล. ก็ในที่
ทุก ๆ แห่ง ผู้ศึกษาพึงทราบนัยเหมือนในคำนี้ . แต่ในที่ใดจักมีความแปลกกัน
พวกเราจักกล่าวไว้ในที่นั้น.
วินิจฉัยในคำว่า อลชฺชึ นิกฺกฑฺฒติ วา นิกฺกฑฺฒาเปติ วา
เป็นต้น พึงทราบดังนี้ ภิกษุย่อมได้เพื่อจะขับไล่ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง
และผู้ทำความทะเลาะกันเท่านั้น ออกจากสังฆารามทั้งสิ้น. เพราะว่า เธอได้
พรรคพวกแล้ว พึงทำลายสงฆ์ก็ได้. ส่วนพวกภิกษุอลัชชีเป็นต้น ภิกษุพึง
ฉุดออกจากที่อยู่ ของตนเท่านั้น จะขับเธอเหล่านั้นออกจากสังฆารามทั่วไป
ไม่ควร
บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เป็นบ้าเอง.
บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน 3 เกิดขึ้น ทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ฉะนั้นแล.
นิกัฑฒนสิกขาบทที่ 7 จบ

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 8


เรื่องภิกษุ 2 รูป


[392] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ 2
รูป อยู่บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ รูปหนึ่งอยู่ชั้นล่าง รูปหนึ่งอยู่ชั้นบน
ภิกษุอยู่ชั้นบนนั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงอันมีเท้าเสียบ เท้าเตียงตกโดนศีรษะ
ภิกษุผู้อยู่ชั้นล่าง ภิกษุนั้นส่งเสียงร้องลั่น ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปถาม
ภิกษุนั้นว่า ท่านส่งเสียงร้องทำไม จึงภิกษุนั้นได้ชี้แจงเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุที่มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุจึงนั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์. แล้ว
กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอ
นั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ จริงหรือ.
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
ได้นั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์เล่า การ
กระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .