เมนู

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ก็เพราะเมื่อภิกษุปูลาด
ที่นอน 10 อย่าง มีประการดังที่กล่าวแล้วในภายในห้อง เป็นต้น และในที่
คุ้มกันได้ แล้วไปเสีย, ที่นอนก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเสียหายเพราะปลวก
เป็นต้น จะกลายเป็นจอมปลวกไปทีเดียว ฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นปาจิตตีย์.
แต่สำหรับภิกษุผู้ปูไว้ในที่มีอุปัฏฐานศาลาเป็นต้น ในภายนอกแล้วไป เพียง
แต่ที่นอนเท่านั้นเสียหายไป เพราะสถานที่คุ้มกันไม่ได้, เสนาสนะไม่เสียหาย.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏในอุปัฏฐานศาลาเป็นต้นนี้.
วินิจฉัยในคำว่า มญฺจํ วา ปีฐํ วา เป็นต้นนี้ พึงทราบดังนี้
ก็เพราะตัวปลวกทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะกัดเตียงและตั่งทันที ฉะนั้นภิกษุวาง
เตียงตั่งนั้นไว้แม้ในวิหารแล้วไป ท่านก็ปรับเป็นทุกกฏ. ส่วนในอุปจารแห่ง
วิหาร พวกภิกษุแม้เมื่อเที่ยวตรวจดูวิหาร เห็นเตียงและตั่งนั้นแล้วจักเก็บ.
วินิจฉัยในคำว่า อุทฺธริตฺวา คจฺฉติ นี้ พึงทราบดังนี้ ภิกษุ
เมื่อจะเก็บเองแล้วไป พึงรื้อเอาเครื่องถักร้อยเตียงและตั่งออกหมดแล้ว ม้วน
แขวนไว้ที่ราวจีวรแล้วจึงไป. ถึงภิกษุผู้มาอยู่ภายหลัง ถักเตียงและตั่งใหม่
เมื่อจะไป ก็พึงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ปูที่นอนจากภายในฝาไปถึง
ภายนอกฝาแล้วอยู่ ในเวลาจะไป พึงเก็บไว้ในที่ที่คนถือเอามาแล้ว ๆ นั่นเทียว.
แม้ภิกษุผู้ยกลงมาจากชั้นบนแห่งปราสาทแล้วอยู่ภายใต้ปราสาท ก็นัยนี้นั่นแล
แม้ภิกษุจะตั้งเตียงและตั่งไว้ในที่พักกลางวัน และที่พักกลางคืนแล้ว ในเวลา
จะไปพึงเก็บไว้ตามเดิม ในที่ซึ่งคนถือเอามานั่นแล.

[ว่าด้วยสถานที่ต้องบอกลาและไม่ต้องบอกลา]


ในคำว่า อาปุจฺฉํ คจฺฉติ นี้ มีวินิจฉัยสถานที่ควรบอกลา และ
ไม่ควรบอกลา ดังต่อไปนี้