เมนู

เสนาสนวรรค ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ 5


พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยเสนาสนสิกขาบท ตั้งต่อไปนี้

[ว่าด้วยที่นอนมีฟูกเป็นต้น]


ฟูกเตียงก็ดี ฟูกตั่งก็ดี ชื่อว่า ฟูก. เครื่องลาดมีเครื่องลาดรักษา
ผิวพื้นเป็นต้น มีประการดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อนนั่น แล. ผ้าปูนั่งมีชาย
พึงทราบว่า นิสีทนะ. ท่านกล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า ผ้าปาวาร ผ้าโกเชาว์
(พรม) ชื่อว่า ผ้าปูนอน.
เครื่องลาดหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า เครื่องลาดทำด้วยหญ้า.
ในเครื่องลาดทำด้วยใบไม้ก็นัยนี้.
ในคำว่า ปริกฺเขปํ อติกฺกาเมนฺตสฺส นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ก้าวเท้าแรกไป, เป็นปาจิตตีย์ ในย่างเท้าที่ 2. 2 เลฑฑุ
บาตจากเสนาสนะ ชื่อว่า อุปจารแห่งอารามที่ไม่ได้ล้อม.

[ว่าด้วยการบอกลาและเก็บเครื่องเสนาสนะ]


ในคำว่า อนาปุจฺฉํ วา คจฺเฉยฺย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้
เมื่อมีภิกษุ พึงบอกลาภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นไม่มี พึงบอกลาสามเณร เมื่อ
สามเณรนั้นไม่มี พึงบอกลาคนทำการวัด. แม้เมื่อคนทำการวัดนั้นก็ไม่มี พึง
บอกลาเจ้าของวิหาร ผู้สร้างวัด หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวงศ์ตระกูลของเขา. แม้
เมื่อเจ้าของวิหาร หรือผู้เกิดในวงศ์ตระกูลของเขานั้น ก็ไม่มี. ภิกษุพึงวาง
เตียงลงบนหิน 4 ก้อน แล้วยกเตียงตั่งที่เหลือขึ้นวางบนเตียงนั้นรวมที่นอน
ทั้ง 10 อย่าง มีฟูกเป็นต้นกองไว้ข้างบน แล้วเก็บงำภัณฑะไม้ ภัณฑะดิน
ปิดประตูและหน้าต่าง บำเพ็ญคมิยวัตรแล้วจึงไป.

ก็ถ้าเสนาสนะฝนรั่วได้, และหญ้า หรืออิฐที่เขานำมาเพื่อมุงหลังคา
ก็มีอยู่. ถ้าอาจ ก็พึงมุง. ถ้าไม่อาจ พึงเก็บเตียงและตั่งไว้ในโอกาสที่ฝนจะ
ไม่รั่วรด แล้วจึงไป. ถ้าเสนาสนะฝนรั่วทั้งหมด, เมื่อสามารถพึงเก็บไว้ใน
เรือนของพวกอุบาสก ภายในบ้าน. ถ้าแม้พวกอุบาสกเหล่านั้น ไม่ยอมรับ
กล่าวว่า ท่านขอรับ ธรรมดาของสงฆ์เป็นของหนัก, พวกกระผมกลัวภัย
มีไฟไหม้เป็นต้น ดังนี้ ภิกษุจะวางเตียงลงข้างบนหิน แม้ในโอกาสกลางแจ้ง
แล้วเก็บเตียงตั่งเป็นต้นที่เหลือ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล เอาจำพวก
หญ้า และใบไม้ปกปิดแล้วจึงไป ก็ควร. จริงอยู่ ของที่ยังเหลือยู่ในที่นั้น
แม้จะเป็นเพียงชิ้นส่วน ( ตัวเตียงตั่ง) ก็จักเป็นอุปการะแก่พวกภิกษุเหล่าอื่น
ผู้มาในที่นั้น ฉะนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิหารสฺส อุปจาเร เป็นต้น ดังนี้
บริเวณ ชื่อว่า อุปจารแห่งวิหาร. โรงฉันที่เขาสร้างไว้ในบริเวณชื่อว่า
อุปัฏฐานศาลา. ปะรำที่เขาสร้างไว้ในบริเวณ ชื่อว่า มณฑป. โคนไม้
ในบริเวณ ชื่อว่า รุกขมูล. นี้เป็นนัยที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนทีก่อน.
ท่านกล่าวนัยไว้แล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น ห้องภายในก็ดี เสนาสนะที่คุ้ม
กันได้ บังทั้งหมดอย่างอื่นก็ดี พึงทราบว่า วิหาร.
สองบทว่า วิหารสฺส อุปจาเร ได้แก่ ในโอกาสภายนอกใกล้
วิหารนั้น.
บทว่า อุปฏฺฐานสาลายํ วา ได้แก่ ในโรงฉันก็ดี.
บทว่า มณฺฑเป วา ได้แก่ ในมณฑปเป็นที่ประชุมแห่งคนมาก
ซึ่งไม่ได้บังหรือแม้บังก็ดี. ในโคนไม้ไม่มีคำที่จะพึงกล่าว.

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ก็เพราะเมื่อภิกษุปูลาด
ที่นอน 10 อย่าง มีประการดังที่กล่าวแล้วในภายในห้อง เป็นต้น และในที่
คุ้มกันได้ แล้วไปเสีย, ที่นอนก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเสียหายเพราะปลวก
เป็นต้น จะกลายเป็นจอมปลวกไปทีเดียว ฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นปาจิตตีย์.
แต่สำหรับภิกษุผู้ปูไว้ในที่มีอุปัฏฐานศาลาเป็นต้น ในภายนอกแล้วไป เพียง
แต่ที่นอนเท่านั้นเสียหายไป เพราะสถานที่คุ้มกันไม่ได้, เสนาสนะไม่เสียหาย.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏในอุปัฏฐานศาลาเป็นต้นนี้.
วินิจฉัยในคำว่า มญฺจํ วา ปีฐํ วา เป็นต้นนี้ พึงทราบดังนี้
ก็เพราะตัวปลวกทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะกัดเตียงและตั่งทันที ฉะนั้นภิกษุวาง
เตียงตั่งนั้นไว้แม้ในวิหารแล้วไป ท่านก็ปรับเป็นทุกกฏ. ส่วนในอุปจารแห่ง
วิหาร พวกภิกษุแม้เมื่อเที่ยวตรวจดูวิหาร เห็นเตียงและตั่งนั้นแล้วจักเก็บ.
วินิจฉัยในคำว่า อุทฺธริตฺวา คจฺฉติ นี้ พึงทราบดังนี้ ภิกษุ
เมื่อจะเก็บเองแล้วไป พึงรื้อเอาเครื่องถักร้อยเตียงและตั่งออกหมดแล้ว ม้วน
แขวนไว้ที่ราวจีวรแล้วจึงไป. ถึงภิกษุผู้มาอยู่ภายหลัง ถักเตียงและตั่งใหม่
เมื่อจะไป ก็พึงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ปูที่นอนจากภายในฝาไปถึง
ภายนอกฝาแล้วอยู่ ในเวลาจะไป พึงเก็บไว้ในที่ที่คนถือเอามาแล้ว ๆ นั่นเทียว.
แม้ภิกษุผู้ยกลงมาจากชั้นบนแห่งปราสาทแล้วอยู่ภายใต้ปราสาท ก็นัยนี้นั่นแล
แม้ภิกษุจะตั้งเตียงและตั่งไว้ในที่พักกลางวัน และที่พักกลางคืนแล้ว ในเวลา
จะไปพึงเก็บไว้ตามเดิม ในที่ซึ่งคนถือเอามานั่นแล.

[ว่าด้วยสถานที่ต้องบอกลาและไม่ต้องบอกลา]


ในคำว่า อาปุจฺฉํ คจฺฉติ นี้ มีวินิจฉัยสถานที่ควรบอกลา และ
ไม่ควรบอกลา ดังต่อไปนี้