เมนู

เตียงที่เขาทำให้แม่แคร่คาบเท้าเตียง โดยลักษณะคล้ายบัลลังก์ ชื่อว่า
พุนธิกาพัทธ์ (เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา).
เตียงที่เขาทำด้วยเท้าเช่นกับเท้าแห่งสัตว์ มีม้าและแพะเป็นต้น ชื่อว่า
กุลีรปาท (เตียงมีขาดังก้ามปู) ก็หรือว่า เตียงที่มีเท้างอย่างใดอย่างหนึ่ง
นี้ท่านเรียกว่า เตียงมีขาดังก้ามปู. ก็เตียงชื่อว่า อาหัจจปาทกะ นี้ ท่านกล่าว
ไว้ในบาลีข้างหน้านั่นแลอย่างนี้ว่า เตียงที่เจาะด้วยเตียงทำ ชื่อว่า อาหัจจ-
ปาทกะ (เตียงมีขาจรดแม่แคร่). เพราะเหตุนั้น เ ตียงที่ทำเจาะแม่แคร่
ทั้งหลาย แล้วสอดปลายขาเข้าไปในแม่แคร่นั้น สลักลิ่มในเบื้องบน บัณฑิต
พึงทราบว่า เตียงมีขาจรดแม่แคร่. แม้ในตั่ง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
หลายบทว่า อนฺโต สํเวเฐตฺวา พทฺธํ โหติ มีความว่า เก้าอี้
ที่เขาถักให้กว้างทั้งข้างล่างและข้างบน ตรงกลางสอบ (แคบ) มีสัณฐานคล้าย
บัณเฑาะว์. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายกระทำเก้าอี้นั้น ให้หุ้มด้วยหนังสีหะ และ
เสือโคร่งที่ตรงกลางก็มี. ในเสนาสนะนี้ ชื่อว่าหนังที่เป็นอกัปปิยะไม่มี. จริงอยู่
แม้เสนาสนะที่เป็นวิการแห่งทอง ก็ควร. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะนั้น จึง
เป็นของมีค่ามาก
ข้อว่า อนุปฺปสมฺปนฺนํ สนฺถราเปติ ตสฺส ปริโพโธ มีความว่า
เป็นธุระของอนุปสัมบันผู้ซึ่งถูกใช้ให้วาง.
ข้อว่า เลฑฺฑุปาตํ อติกฺกมนฺตสฺส อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส
มีความว่า ภิกษุผู้เดินเลยเลฑฑุบาต ของบุรุษผู้มีกำลังกลางคนไปต้องปาจิตตีย์.

[ว่าด้วยผู้รับผิดชอบเสนาสนบริขารมีเตียงเป็นต้น]


ก็ในคำว่า เลฑฺฑุปาตํ อติกฺกมนฺตสฺส เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ พระเถระกระทำภัตกิจในโรงฉัน แล้วสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอจงไป

แต่งตั้ง เตียง ตั่ง ในที่พักกลางวัน. ภิกษุหนุ่มนั้นกระทำตามสั่งแล้วนั่ง.
พระเถระเที่ยวไปตามความพอใจแล้วจึงไปในที่พักกลางวันนั้น วางถุงย่ามและ
อุตราสงค์ไว้. จำเดิมแต่นั้นไปเป็นธุระของพระเถระ. พระเถระนั่งแล้ว เมื่อ
จะไป ไม่เก็บเอง ไม่สั่งให้เก็บ เป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป.
ก็ถ้าพระเถระไม่วางถุงย่ามและอุตราสงค์ไว้บนเตียงและตั่งนั่น จงกรม
พลางสั่งภิกษุหนุ่มว่า เธอไปได้, เธอพึงบอกว่า นี้เตียงตั่ง ขอรับ ถ้า
พระเถระรู้จักธรรมเนียม พึงกล่าวว่า เธอไปเถิด เราจักกระทำให้เป็นปรกติ
เดิม ถ้าภิกษุผู้เถระ เป็นคนเขลาไม่ได้ศึกษาธรรมเนียม กลับขู่ตะคอกภิกษุ
หนุ่มว่า ไปเถิด อย่ามายืนในที่นี้ เราจะไม่ให้ (ใคร) นั่ง ไม่ให้ (ใคร) นอน,
ภิกษุ หนุ่มเรียนว่า ท่านนอนตามสบายเถิด ขอรับ ได้ข้ออ้างไหว้แล้ว พึง
ไปเถิด. เมื่อภิกษุหนุ่มนั้นไปแล้ว เป็นธุระของพระเถระเท่านั้น และบัณฑิต
พึงทราบว่า เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น โดยนัยก่อนนั้นเทียว.
ก็ถ้าว่า ในขณะที่สั่งนั่นเอง ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ. ผมมีกิจ
จำต้องทำบางอย่าง มีการซักล้างสิ่งของเป็นต้น และพระเถระกล่าวกะเธอว่า
เธอแต่งตั้งแล้วจงไปเถิด ดังนี้ แล้วออกจากโรงฉันไปเสียในที่อื่น พระวินัยธร
พึงปรับ (พระเถระ) ตัวอย่างเท้า. ถ้าพระเถระไปนั่งในที่นั้นนั่น เอง, และ
เป็นอาบัติแก่พระเถระนั้น ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป โดยนัยก่อนนั่นแหละ.
ก็ถ้าว่า พระเถระสั่งสามเณร. เมื่อสามเณรแม้จัดตั้งเตียงและตั่งใน
โรงฉันนั้นแล้วนั่ง พระเถระไปเสียที่อื่นจากโรงฉัน พระวินัยธรพึงปรับด้วย
ย่างเท้าเดิน. พระเถระไปนั่งแล้ว ในเวลาไปต่อไป พึงปรับด้วยอาบัติในเมื่อ
เดินเลยเลฑฑุบาตไป.

ก็ถ้าว่า พระเถระเมื่อจะสั่ง สั่งว่า เธอจัดตั้งเตียงและตั่งแล้ว จงนั่ง
รอที่เตียงและตั่งนั้นนั่นแหละ ดังนี้. ย่อมได้เพื่อจะไปในที่ที่คนปรารถนา.
ส่วนผู้รับสั่งเมื่อไม่ทำให้เป็นปกติเสียเอง เดินไปเป็นปาจิตตีย์ ในเมื่อเดินเลย
เลฑฑุบาตไป.
ในระหว่างการประชุม ภิกษุทั้งหลายแต่งตั้งเตียงและตั่งแล้วนั่งในเวลา
จะไปพึงบอกแก่อารามิกบุรุษ (คนทำการวัด) ว่า ท่านทั้งหลายจงเก็บเตียง
และตั่งนี้ ดังนี้ เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่สั่ง ไปเสีย ในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาต
ธรรมดาการฟังธรรมครั้งใหญ่ ย่อมจะมี ภิกษุทั้งหลายนำเอาเตียง
และตั่งมาจากโรงอุโบสถบ้าง จากโรงฉันบ้าง จัดตั้งไว้ในสถานที่ฟังธรรมนั้น.
เป็นภารธุระของพวกภิกษุเจ้าถิ่นเท่านั้น. ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะถือเอาไปด้วย
อ้างว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของเรา นี้สำหรับอาจารย์ของเรา ดังนี้. จำเติมแต่
นั้นไป เป็นภารธุระของพวกภิกษุอาคันตุกะนั้นเท่านั้น. ในเวลาไป เมื่อไม่
กระทำไว้ตามเติม เดินเลยเลฑฑุบาตไป เป็นอาบัติ.
แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ชั่วเวลาที่ภิกษุพวกอื่นยังไม่มานั่ง
เป็นภาระของพวกภิกษุผู้จัดตั้ง, เมื่อพวกภิกษุเหล่าอื่นมานั่งเป็นภาระของพวก
ภิกษุผู้นั่ง ถ้าพวกภิกษุผู้นั่งเหล่านั้นไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้เก็บก็ดี ไปเสีย
เป็นทุกกฏ. เพราะเหตุไร เพราะจัดตั้งโดยไม่ได้สั่ง.
เมื่อแต่งตั้งธรรมาสน์แล้ว ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมยังไม่มา
เพียงใด เป็นภารธุระของพวกภิกษุผู้แต่งตั้งเพียงนั้น. เมื่อภิกษุผู้สวดหรือผู้
แสดงธรรมมานั่งแล้ว เป็นภารธุระของภิกษุนั้น มีการฟังธรรมตลอดวันและ
คืนทั้งสิ้น. ภิกษุผู้สวดหรือผู้แสดงธรรมอื่นลุกไป ภิกษุอื่นมานั่ง ภิกษุใด ๆ

มานั่ง เป็นภาระของภิกษุนั้น ๆ. แต่เมื่อลุกขึ้น พึงกล่าวว่า อาสนะนี้ เป็น
ภาระของท่าน แล้วจึงไป. ถ้าแม้นว่า เมื่อภิกษุผู้สวดผู้แสดงธรรมนอกนี้ยัง
ไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่งอยู่ก่อนลุกไป และภิกษุผู้นั่งก่อนนอกนี้ มานั่งอยู่
ภายในอุปจาร สถานที่นั้นนั่นเอง พระวินัยธรไม่พึงปรับเธอผู้ลุกไปด้วยอาบัติ
ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุผู้สวดและผู้แสดงธรรมนอกนี้ ยังไม่มานั่นแหละ ภิกษุผู้นั่ง
อยู่ก่อนลุกจากอาสนะ เดินเลยเลฑฑุบาตไป, พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยอาบัติ.
แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าววินัยนี้ไว้ว่า ทุก ๆ แห่งในเมื่อเดินเลยเลฑฑุบาตไป
เป็นทุกกฏในย่างเท้าที่ 1, เป็นปาจิตตีย์ในย่างเท้าที่ 2.

[ว่าด้วยเครื่องปูลาดและหน้าที่ในการรักษา]


พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า จิมิลิกํ วา เป็นต้น ดังนี้ .
เครื่องลาดที่เขาทำไว้ เพื่อรักษาผิวของพื้นที่ทำบริกรรมด้วยปูนขาว
เป็นต้น ชื่อว่า จิมิลกา. ชนทั้งหลายปูเครื่องลาดนั้นไว้ข้างล่าง แล้วปูเสื่อ
ลำแพนทับไว้ข้างบน.
เครื่องลาดที่ควรปูลาดไว้บนเตียงและตั่ง ชื่อว่าเครื่องลาดเตียง ชนิด
แห่งเครื่องปูลาด มีเสื่อลำแพนเป็นต้น ที่ควรลาดไว้บนพื้น ชื่อว่า เครื่องลาด
พื้น. เสื่ออ่อนที่เขาทำด้วยใบตาลก็ดี ด้วยเปลือกปอก็ดี ชื่อว่า เสืออ่อน.
แม้บรรดาหนังสัตว์ มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว และหมีเป็นต้น
หนังชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า แผ่นหนัง. จริงอยู่ ชื่อว่าหนังที่ท่านห้าม ใน
การบริโภคเสนาสนะไม่ปรากฎในอรรถกถาทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า ห้ามเฉพาะในการบริหารหนังสีหะเป็นต้น .
เครื่องเช็ดที่เขาทำด้วยเชือกเล็ก ๆ ก็ดี ด้วยผ้าเก่าก็ดี เพื่อเช็ดเท้า
ชื่อว่า เครื่องเช็ดเท้า.