เมนู

เสนาสนวรรค ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ 4


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 4 ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป]


สองบทว่า เหมนฺติเก กาเล ได้แก่ ในฤดูเหมันต์ คือ ในคราว
หิมะตก.
สองบทว่า กายํ โอตาเปนฺตา ได้แก่ นั่งบนเตียงและตั่งเป็นต้น
แล้ว ผิงกายด้วยแดดอ่อนอยู่.
สองบทว่า กาเล อาโรเจติ ได้แก่ เมื่อเขาบอกเวลาแห่งอาหาร
อย่างใดอย่างหนึ่ง มียาคูและภัตเป็นต้น .
สองบทว่า โอวุฏฐํ โหติ ได้แก่ ถูกฝนหิมะตกชะเปียก.
บทว่า อวสฺสิกสงฺเกเต มีความว่า ตลอด 8 เดือน คือ 4 เดือน
ในฤดูเหมันต์ 4 เดือนในฤดูคิมหันต์ ที่มิได้บัญญัติอย่างนี้ว่า เดือนทั้งหลาย
แห่งฤดูฝน.
บทว่า มณฺฑเป ได้แก่ ในปะรำทำด้วยกิ่งไม้ หรือในปะรำทำด้วย
ไม้เลียบ.
บทว่า รุกฺขมูเล วา ได้แก่ ภายใต้แห่งต้นไม้ต้นใดต้น หนึ่ง.

[ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บเตียงตั่ง]


หลายบทว่า ยตฺถ กากา วา กุลลา วา น อูทหนฺติ มีความว่า
นกกาและนกตะกรุมเหล่านี้ หรือนกเหล่าอื่นทำรังอยู่ ด้วยการอยู่ประจำใน
ต้นไม้ใด จะไม่ถ่ายมูลรดเสนาสนะนั้น เราอนุญาตให้เก็บไว้ที่โคนไม้เช่นนั้น

เพราะเหตุอย่างนี้นั้น นกทั้งหลายเสาะแสวงหาเหยื่อ พักผ่อนที่ต้นไม้ใดแล้ว
บินไป จะเก็บไว้ที่โคนแห่งต้นนั้นก็ควร. แต่ว่า นกทั้งหลายทำรังอยู่ด้วยการ
อยู่เป็นประจำที่ต้นไม้ใด อย่าพึงเก็บไว้ที่โคนต้นไม้นั้น
เพราะพระบาลีว่า อฏฺฐ มาเส ดังนี้ ในชนบทเหล่าใด ฝนไม่ตก
ในฤดูฝน, แม้ในชนบทเหล่านั้น จะเก็บไว้ตลอด 4 เดือน ก็ไม่ควรเหมือนกัน.
เพราะพระบาลีว่า อวสฺสิกสงฺเกเต ดังนี้ ในชนบทเหล่าใดฝนตก
ในฤดูเหมันต์ ในชนบทเหล่านั้น จะเก็บไว้ในที่แจ้ง แม้ในฤดูเหมันต์ ก็ไม่ควร.
ส่วนในฤดูคิมหันต์ ท้องฟ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆในที่ทั่วไป ในเวลาเช่นนี้
จะเก็บเตียงและตั่งไว้ในที่แจ้ง ด้วยกรณีจำเป็นบางอย่าง ย่อมควร.
แม้ภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์ ก็ควรรู้วัตร. จริงอยู่ ถ้าเธอมีเตียง
ส่วนบุคคล ก็พึงนอนบนเตียงส่วนบุคคลนั่นแล เมื่อจะถือเอาเตียงของสงฆ์
พึงถือเอาเตียงที่ถักด้วยหวาย หรือด้วยปอ. เมื่อเดียงถักด้วยหวายหรือด้วยปอ
นั้นไม่มี พึงถือเอาเดียงเก่า. เมื่อเตียงเก่านั้นไม่มี พึงถือเอาเตียงที่ถักใหม่ ๆ
หรือที่บุด้วยหนัง ก็แล ครั้นถือเอาแล้ว คิดว่า เราจะถือรุกขมูลอย่างเคร่ง
ถืออัพโภกาสอย่างเคร่ง ดังนี้ แล้วไม่ทำแม้ซึ่งกุฎีจีวร (เพดานทำด้วยจีวร)
จัดตั้งเตียงตั่งนั้นในที่แจ้ง หรือที่โคนไม้ แล้วนอนในคราวที่มิใช่สมัย ย่อม
ไม่ควร. ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่อาจเพื่อจะรักษากุฎีที่ทำด้วยจีวรแม้ทั้ง 4 ชั้น ไม่ให้
เปียกได้ มีฝนตกพรำตลอด 7 วัน, (จะจัดตั้งเตียงน้อยนอน) ก็ควร เพราะ
เตียงนอนเป็นไปตามร่างกายของภิกษุ.
พวกมนุษย์มีจิตเลื่อมใสในสีลสัมปทาของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในกระท่อม
ใบไม้ในป่า จึงถวายเตียงและตั่งใหม่กล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงใช้สอย โดย
ใช้สอยเป็นของสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่แล้วจะไป พึงส่งข่าว (ไปบอก) แก่

ภิกษุผู้ชอบพอกันในวิหารที่ใกล้เคียงแล้วจึงไป. เมื่อไม่มีพวกภิกษุผู้ชอบกัน
พึงเก็บไว้ในที่ที่ฝนจะไม่รั่วรดแล้วจึงไป. เมื่อไม่มีที่ที่ฝนไม่รั่วรด พึงแขวน
ไว้ที่ต้นไม้ แล้วจึงไป.

[ว่าด้วยสถานที่ควรเก็บไม้กวาดและวิธีกวาด]


ภิกษุถือเอาไม่กวาดที่ลานพระเจดีย์ไปกวาดลานหอฉันก็ดี ลานโรง-
อุโบสถก็ดี ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีบริเวณที่พักกลางวัน และโรงไฟเป็นต้น
ล้าง เคาะ (ไม่กวาดนั้น) แล้ว พึงเก็บไม่กวาดไว้ในโรงนั่นแหละอีก. แม้
ภิกษุผู้ถือเอาไม้กวาด ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งมีโรงอุโบสถเป็นต้น ไปกวาด
บริเวณที่เหลือ ก็นัยนี้นั่นแล. ส่วนภิกษุใดกวาดทางเที่ยวภิกขาจารประสงค์
จะไป (บิณฑบาต) เลย. ภิกษุนั้นกวาดแล้ว พึงเก็บไว้ที่ศาลาซึ่งถ้ามีอยู่ใน
ระหว่างทางนั้น. ถ้าศาลาไม่มี กำหนดว่าเมฆฝนยังไม่ตั้งเค้าขึ้น รู้ว่า ฝนจัก
ยังไม่ตก จนกว่าเราจะออกมาจากบ้าน เก็บไว้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วกลับมา
พึง (นำมา) เก็บไว้ในที่เดิมอีก
ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ถ้าภิกษุรู้อยู่ว่า ฝนจักตก วางไว้ในกลางแจ้ง
เป็นทุกกฏ ดังนี้. แต่ถ้าว่า ไม้กวาดเป็นของอันเขาเก็บไว้เพื่อประโยชน์สำหรับ
กวาดในที่นั้น ๆ นั่งเอง ภิกษุจะกวาดที่นั้น ๆ แล้ว เก็บไว้ในที่นั้น ๆ แล
สมควรอยู่. ภิกษุผู้จะกวาดโรงฉัน ควรรู้จักวัตร. วัตรในการกวาดโรงฉันนั้น
ดังนี้ พึงกวาดทรายตั้งแต่ท่ามกลางตะล่อมมาไว้ตรงหน้าที่เท้ายืน. พึงเอา
มือทั้งสองกอบหยากเยื่อออกไปทิ้งข้างนอก.

[ว่าด้วยลักษณะเตียงตั่งเป็นต้น ]


เตียงที่เขาทำเจาะที่เท้าเตียง สอดแม่แคร่ทั้งหลายเข้าไปในเท้าเตียงนั้น
ชื่อว่า มสารกะ (เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา).