เมนู

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ
เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฎิเสธ
เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว
ทำให้คลาดเคลื่อนเล่า การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส และเพื่อ ความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรง ติเตียนพระหัตถกะ ศากยบุตร โดยอเนก
ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลีความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น
ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักกับบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์10 ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่ง
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เพื่อป้องกัน อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อ
กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่

เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่น
แห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อถือตามพระวินัย 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น
ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


50.1 เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชานมุสาวาท.
เรื่องพระหัตถกะ ศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[174] ที่ชื่อว่า สัมปชานมุสาวาท ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่ง
ถ้อยคำเป็นแนวทาง การเปล่งวาจา เจตนาที่ให้เขาเข้าใจทางวาจา ของบุคคล
ผู้จงใจจะพูดให้คลาดจากความจริง ได้แก่คำพูดของอนารยชน 8 อย่าง คือ
ไม่เห็น พูดว่าข้าพเจ้าเห็น 1 ไม่ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าได้ยิน 1 ไม่ทราบ
พูดว่าข้าพเจ้าทราบ 1 ไม่รู้ พูดว่าข้าพเจ้ารู้ 1 เห็น พูดว่าข้าพเจ้าไม่เห็น .
ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน 1 ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ 1 รู้ พูดว่า
ข้าพเจ้าไม่รู้ 1.

บทภาชนีย์


[175] ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา
ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู.
ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่
ได้สัมผัสด้วยกาย.