เมนู

[อธิบายอนาปัตติวาร]


บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นก็ดี
ฉุดลากกิ่งไม้ก็ดี เอาไม้เท้ายันพื้นดินเดินไปก็ดี หญ้าเป็นต้นขาดไป. หญ้า
เหล่านั้น ย่อมชื่อว่า เป็นอันภิกษุไม่ได้จงใจทำให้ขาด เพราะไม่ได้จงใจตัด
อย่างนี้ว่า เราจักตัดหญ้า ด้วยการกลิ้งเป็นต้นนั้น. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่
แกล้งตัดอย่างนี้.
บทว่า อสติยา มีความว่า ส่งใจไปทางอื่นยืนพูดอะไร ๆ กับใคร ๆ
เอาหัวแม่เท้า หรือมือเด็ดหญ้า หรือเถาวัลย์อยู่. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ตัด
เพราะไม่มีสติอย่างนี้.
บทว่า อชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุไม่รู้ว่า พีชคาม หรือว่า
ภูตคาม มีอยู่ในภายในนี้ ทั้งไม่รู้ว่า เรากำลังตัด วางสิ่ง เสียมและจอบ
ที่รั้ว หรือที่กองฟาง เพื่อต้องการเก็บรักษาอย่างเดียว หรือว่า มือถูกไฟไหม้
ทิ้งไฟลงก็ดี, ถ้าว่าในที่นั้น หญ้าเป็นต้น ขาดก็ดี ถูกไฟไหม้ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ.
แต่ในทุก ๆ อรรถกถาในมนุสสวิคคหปาราชิกวรรณนา ท่านกล่าว
ไว้ว่า ถ้าภิกษุถูกต้นไม้โค่นทับ หรือว่าตกลงในหลุม และอาจเพื่อจะตัดต้นไม้
แล้ว กลิ้งต้นไม้นั้นไปเสีย หรือขุดแผ่นดินแล้วออกมาได้. ภิกษุไม่ควรจะ
กระทำด้วยตนเอง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แต่ภิกษุอื่นจะขุดพื้นดิน หรือตัด
ต้นไม้ หรือว่าตัดท่อนไม้จากต้นไม้สด งัดต้นไม้นั้นไปแล้ว ให้ (ภิกษุนั้น)
ออกมาควรอยู่ ไม่เป็นอาบัติ. เหตุในคำนั้น ไม่ปรากฏ. แต่ปรากฏเพียง
สูตรเดียวนี้เท่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตอนุญาตให้จุดไฟรับ
ให้ทำการป้องกัน ในเมื่อไฟป่ากำลังไหม้มา* ดังนี้. ถ้าว่า (การขุดดินเป็นต้น )
* วิ จลฺล. 7/69.