เมนู

[อธิบายการทำกัปปิยะและวัตถุที่ใช้ทำกัปปิยะ]


ก็การกระทำกัปปิยะในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยกระแสแห่งสูตร
นี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเพื่อบริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะ (สมณโวหาร)
5 คือ ผลที่จี้ด้วยไฟ ที่แทงด้วยมีด ที่จิกด้วยเล็บ ผลที่ไม่มีเมล็ด ที่ปล้อน
เม็ดออกแล้ว เป็นที่คำรบ 5.1
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิปริจิตํ มีอรรถว่า ฉาบ คือ
ลวก เผา จี้แล้วด้วยไฟ.
บทว่า สตฺถกปริจิตํ มีอรรถว่า จด คือ ฝาน ตัด หรือแทง
แล้วด้วยมีดเล็ก ๆ. ในข้อว่า จิกด้วยเล็บ ก็นัยนั้นนั่นแล. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
และผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว เป็นกัปปิยะด้วยตัวมันเองแท้.
ภิกษุเมื่อจะทำกัปปิยะด้วยไฟ พึงทำกัปปิยะด้วยบรรดาไฟฟืนและไฟ
โคมัยเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยแต่งโลหะที่ร้อน. ก็แล
วัตถุนั้นจับไว้ข้างหนึ่ง พึงกล่าวคำว่า กัปปิยัง2 แล้วทำเถิด.
เมื่อจะทำด้วยมีด. แสดงรอยตัด รอยผ่า ด้วยปลาย หรือด้วยคม
แห่งมีดที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทีสุดแม้แห่งเข็มและมีดตัดเล็บ
เป็นต้น. พึงกล่าวว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด.
เมื่อจะทำกัปปิยะด้วยเล็บ อย่าพึงทำด้วยเล็บเน่า. ก็เล็บของพวก
มนุษย์ สัตว์ 4 เท้า มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง และลิงเป็นต้น และ
แห่งนกทั้งหลาย เป็นของแหลมคม, พึงทำด้วยเล็บเหล่านั้น. กีบแห่งสัตว์
1. วิ. จุลฺล. 7/11
2. อุปสัมบันผู้ให้ทำกัปปิยะกล่าวว่า "กปฺปิยํ กโรหิ" อนุปสัมบันผู้ทำกัปปิยะเอามือหนึ่งจับสิ่ง
ของที่จะทำกัปปิยะ มือหนึ่งจับวัตถุที่จะใช้ทำกัปปิยะ มีมีดเป็นต้นแล้ว ตัดหรือฝ่าหรือจี้ลงไป
ที่สิ่งของนั้นพร้อมกล่าวว่า "กปฺปิย ภนฺเต" เป็นเสร็จพิธี, =ผู้ชำระ.

มีม้า กระบือ สุกร เนื้อ และโคเป็นต้น ไม่คม อย่าพึงทำด้วยกีบเหล่านั้น.
แม้ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ. ส่วนเล็บช้าง ไม่เป็นกีบ. จะทำกัปปิยะด้วยเล็บช้าง
เหล่านั้น ควรอยู่ แต่การทำกัปปิยะด้วยเล็บเหล่าใด สมควร, พึงแสดง
การตัด การจิก ด้วยเล็บเหล่านั้นที่เกิดอยู่ในที่นั้นก็ดี ที่ยกขึ้นถือไว้ก็ดี กล่าวว่า
กัปปิยัง แล้วกระทำเถิด.
บรรดาพืชเป็นต้นเหล่านั้น ถ้าแม้นว่าพืชกองเท่าภูเขาก็ดี ต้นไม้
จำนวนพันที่เขาตัดแล้ว ทำให้เนื่องเป็นอันเดียวกันกองไว้ก็ดี อ้อยมัดใหญ่ที่
เขามัดรวมไว้ก็ดี, เมื่อทำพืชเมล็ดหนึ่ง กิ่งไม้กิ่งหนึ่งหรืออ้อยลำหนึ่งให้เป็น
กัปปิยะแล้ว ย่อมเป็นอันทำให้เป็นกัปปิยะแล้วทั้งหมด. อ้อยลำและไม้ฟืน
เป็นของอันเขามัดรวมกันไว้. อนุปสัมบัน จะแทงไม้ฟืนด้วยตั้งใจว่า เราจัก
กระทำอ้อยให้เป็นกัปปิยะ ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. แต่ถ้าเป็นของที่เขาผูกมัด
ด้วยเชือกหรือด้วยเถาวัลย์ใด จะแทงเชือกหรือเถาวัลย์นั้น ไม่ควร. ชนทั้งหลาย
บรรจุกระเช้าให้เต็มด้วยลำอ้อยท่อนแล้วนำมา. เมื่อทำอ้อยท่อนลำหนึ่งให้เป็น
กัปปิยะแล้ว อ้อยท่อนทั้งหมด ย่อมเป็นอันทำให้กัปปิยะแล้วเหมือนกัน.
ก็ถ้าว่า พวกทายำนำภัตปนกับพริกสุกเป็นต้นมา เมื่อภิกษุกล่าวว่า
จงกระทำกัปปิยะ ถ้าแม้นว่า อนุปสัมบันแทงที่เมล็ดข้าวสวย ก็สมควร
เหมือนกัน. แม้ในเมล็ดงาและข้าวสารเป็นต้น ก็นัยนั้นนั่นแล. แต่พริกสุก
เป็นต้นนั้น ที่เขาใส่ลงในข้าวต้ม ไม่ตั้งอยู่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. บรรดา
พริกสุกเป็นต้นนั้น พึงทำกัปปิยะแทงที่ละเมล็ดนั่นเทียว. เยื่อในแห่งผลมะขวิด
เป็นต้น ร่อนเปลือกแล้วคลอนอยู่ (หลุดจากกะลาคลอนอยู่ช้างใน) ภิกษุพึง
ให้ทุบแล้วให้ทำกัปปิยะ. (ถ้า) ยังติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน (กับเปลือก),
จะทำ (กัปปิยะ) แม้ทั้งเปลือก (ทั้งกะลา) ก็สมควร .

[อธิบายอนาปัตติวาร]


บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นก็ดี
ฉุดลากกิ่งไม้ก็ดี เอาไม้เท้ายันพื้นดินเดินไปก็ดี หญ้าเป็นต้นขาดไป. หญ้า
เหล่านั้น ย่อมชื่อว่า เป็นอันภิกษุไม่ได้จงใจทำให้ขาด เพราะไม่ได้จงใจตัด
อย่างนี้ว่า เราจักตัดหญ้า ด้วยการกลิ้งเป็นต้นนั้น. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่
แกล้งตัดอย่างนี้.
บทว่า อสติยา มีความว่า ส่งใจไปทางอื่นยืนพูดอะไร ๆ กับใคร ๆ
เอาหัวแม่เท้า หรือมือเด็ดหญ้า หรือเถาวัลย์อยู่. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ตัด
เพราะไม่มีสติอย่างนี้.
บทว่า อชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุไม่รู้ว่า พีชคาม หรือว่า
ภูตคาม มีอยู่ในภายในนี้ ทั้งไม่รู้ว่า เรากำลังตัด วางสิ่ง เสียมและจอบ
ที่รั้ว หรือที่กองฟาง เพื่อต้องการเก็บรักษาอย่างเดียว หรือว่า มือถูกไฟไหม้
ทิ้งไฟลงก็ดี, ถ้าว่าในที่นั้น หญ้าเป็นต้น ขาดก็ดี ถูกไฟไหม้ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ.
แต่ในทุก ๆ อรรถกถาในมนุสสวิคคหปาราชิกวรรณนา ท่านกล่าว
ไว้ว่า ถ้าภิกษุถูกต้นไม้โค่นทับ หรือว่าตกลงในหลุม และอาจเพื่อจะตัดต้นไม้
แล้ว กลิ้งต้นไม้นั้นไปเสีย หรือขุดแผ่นดินแล้วออกมาได้. ภิกษุไม่ควรจะ
กระทำด้วยตนเอง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แต่ภิกษุอื่นจะขุดพื้นดิน หรือตัด
ต้นไม้ หรือว่าตัดท่อนไม้จากต้นไม้สด งัดต้นไม้นั้นไปแล้ว ให้ (ภิกษุนั้น)
ออกมาควรอยู่ ไม่เป็นอาบัติ. เหตุในคำนั้น ไม่ปรากฏ. แต่ปรากฏเพียง
สูตรเดียวนี้เท่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราตถาคตอนุญาตให้จุดไฟรับ
ให้ทำการป้องกัน ในเมื่อไฟป่ากำลังไหม้มา* ดังนี้. ถ้าว่า (การขุดดินเป็นต้น )
* วิ จลฺล. 7/69.