เมนู

เมื่อพวกสามเณรเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ภิกษุจะเหนี่ยวกิ่งลงให้ ก็ควร.
แต่ภิกษุอย่าพึงอบน้ำดื่มด้วยดอกไม้เหล่านั้น. ภิกษุต้องการอบกลิ่นน้ำดื่ม พึง
อุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บดอกไม้ให้. แม้กิ่งไม้ที่มีผล ตนเองต้องการจะขบฉัน
อย่าพึงเหนี่ยวลงมา. พึงอุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บผลไม้. จะจับฉุดมาร่วมกับ
สามเณรทั้งหลายผู้กำลังถอนไม้กอ หรือเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควร.
แต่เพื่อให้เกิดความอุตสาหะแก่สามเณรเหล่านั้น จะจับที่ปลายแสดงท่าทีฉุด
ดุจกำลังลากมา ควรอยู่
ภิกษุกรีดกิ่งต้นไม้ที่มีกิ่งงอกขึ้น อันตนมิได้ให้อุปสัมบันทำให้เป็น
กัปปิยะถือเอา เพื่อประโยชน์แก่พัดไล่แมลงวันเป็นต้น ที่เปลือกหรือที่ใบ
โดยที่สุดแม้ด้วยเล็บมือ เป็นทุกกฏ. แม้ในขิงสดเป็นต้นก็นัยนี้แล. ก็ถ้าหากว่า
รากแห่งขิงสดที่ภิกษุให้กระทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว เก็บไว้ในพื้นที่เย็น งอกขึ้น
จะตัดที่ส่วนเบื้องบนควรอยู่. ถ้าเกิดหน่อจะตัดที่ส่วนข้างล่าง ก็ควร. เมื่อราก
กับหน่อเขียวเกิดแล้ว จะตัดไม่ควร.

[ว่าด้วยการตัดทำลายเผาเองและใช้ให้ทำเป็นต้น]


สองบทว่า ฉินฺทติ วา ฉินฺทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุเมื่อจะ
กวาดพื้นดิน ด้วยคิดว่า เราจักตัดหญ้า ตัดเองก็ดี ใช้คนอื่นให้ตัดก็ดี โดย
ที่สุดแม้ด้วยซี่ไม่กวาด.
สองบทว่า ภินฺทติ วา ภินฺทาเปติ วา มีความว่า โดยที่สุด
แม้เมื่อจะเดินจงกรมแกล้งเอาเท้าทั้งสองเหยียบไป ด้วยคิดว่า สิ่งที่จะขาด
จงขาดไป สิ่งที่จะแตก จงแตกไป เราจักแสดงที่ที่เราจงกรม ดังนี้ ย่อม
ทำลายเองก็ดี ใช้คนอื่นให้ทำลายก็ดี ซึ่งหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น. ถ้าแม้นว่า
เมื่อภิกษุทำหญ้าและเถาวัลย์ให้เป็นขมวด หญ้าและเถาวัลย์จะขาด, แม้ทำให้
เป็นหมวด ก็ไม่ควร.

ก็ชนทั้งหลาย ย่อมดอกไม้แมลงมุม (หุ่นยนต์แมลงมุม) ผูกหนาม
ที่ต้นตาลเป็นต้น เพื่อต้องการไม่ให้พวกโจรขึ้นลัก. การกระทำอย่างนั้น
ไม่ควรแก่ภิกษุ ก็ถ้าว่า หุ่นยนต์แมลงมุมเป็นแค่เพียงติดอยู่ที่ต้นไม้เท่านั้น
ไม่บีบรัดต้นไม้ ควรอยู่ แม้จะกล่าวว่า เธอจงตัดต้นไม้ จงตัดเถาวัลย์
จงถอนเหง้า หรือราก ดังนี้ ก็ควรอยู่ เพราะเป็นคำพูด ไม่กำหนดลงแน่นอน.
แต่จะกำหนดลงไป พูดคำเป็นต้นว่า จงตัดต้นไม้นี้ ไม่ควร. ถึงแม้การระบุ
ชื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า จงตัด จงทุบ จงถอน ต้นมะม่วง เถาสี่เหลี่ยม หัว
เผือกมัน หญ้ามุงการตาย สะเก็ดต้นไม้โน้น ดังนี้ ก็เป็นคำที่ไม่กำหนด
แน่นอนเหมือนกัน. แท้จริง คำเป็นต้นว่า ต้นมะม่วงนี้ เท่านั้น ชื่อว่า
เป็นคำกำหนดแน่นอน คำนั้น ไม่ควร
สองบทว่า ปจติ วา ปจาเปติ วา มีความว่า บัณฑิตพึงทราบ
คำทั้งปวง โดยนัยดังได้กล่าวแล้วในปฐวีขนนสิกขาบทนั้นแลว่า ชั้นที่สุด
แม้ประสงค์จะระบมบาตร แกล้งก่อไฟข้างบนกองหญ้าเป็นต้น เผาเองก็ดี
ใช้คนอื่นให้เผาก็ดี ดังนี้ . แต่จะกล่าวไม่กำหนดแน่นอนว่า จงต้มถั่วเขียว
จงต้มถั่วเหลือง เป็นต้น ควรอยู่ จะกล่าวอย่างนี้ว่า จงต้มถั่วเขียวเหล่านี้
จงต้มถั่วเหลืองเหล่านี้ ไม่ควร.
ในคำว่า อนาปตฺติ อิมํ ชาน เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความ
อย่างนี้ว่า เธอจงรู้มูลเภสัชนี้ จงให้รากไม้ หรือ ใบไม้นี้ก็ดี จงนำต้นไม้
หรือเถาวัลย์นี้มาก็ดี ต้องการดอกไม้ หรือผลไม้ หรือใบไม้นี้ก็ดี จงกระทำ
ต้นไม้ หรือเถาวัลย์ หรือว่าผลไม้นี้ ให้เป็นกัปปิยะก็ดี. ด้วยคำเพียงเท่านี้
ย่อมเป็นอันภิกษุกระทำการปลดเปลื้องภูตคาม. แต่ภิกษุผู้จะบริโภคพึงให้
อนุปสัมบันทำให้เป็นกัปปิยะซ้ำอีก เพื่อปลดเปลื้องพีชคาม.

[อธิบายการทำกัปปิยะและวัตถุที่ใช้ทำกัปปิยะ]


ก็การกระทำกัปปิยะในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยกระแสแห่งสูตร
นี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเพื่อบริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะ (สมณโวหาร)
5 คือ ผลที่จี้ด้วยไฟ ที่แทงด้วยมีด ที่จิกด้วยเล็บ ผลที่ไม่มีเมล็ด ที่ปล้อน
เม็ดออกแล้ว เป็นที่คำรบ 5.1
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิปริจิตํ มีอรรถว่า ฉาบ คือ
ลวก เผา จี้แล้วด้วยไฟ.
บทว่า สตฺถกปริจิตํ มีอรรถว่า จด คือ ฝาน ตัด หรือแทง
แล้วด้วยมีดเล็ก ๆ. ในข้อว่า จิกด้วยเล็บ ก็นัยนั้นนั่นแล. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
และผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว เป็นกัปปิยะด้วยตัวมันเองแท้.
ภิกษุเมื่อจะทำกัปปิยะด้วยไฟ พึงทำกัปปิยะด้วยบรรดาไฟฟืนและไฟ
โคมัยเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยแต่งโลหะที่ร้อน. ก็แล
วัตถุนั้นจับไว้ข้างหนึ่ง พึงกล่าวคำว่า กัปปิยัง2 แล้วทำเถิด.
เมื่อจะทำด้วยมีด. แสดงรอยตัด รอยผ่า ด้วยปลาย หรือด้วยคม
แห่งมีดที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทีสุดแม้แห่งเข็มและมีดตัดเล็บ
เป็นต้น. พึงกล่าวว่า กัปปิยัง แล้วทำเถิด.
เมื่อจะทำกัปปิยะด้วยเล็บ อย่าพึงทำด้วยเล็บเน่า. ก็เล็บของพวก
มนุษย์ สัตว์ 4 เท้า มีสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง และลิงเป็นต้น และ
แห่งนกทั้งหลาย เป็นของแหลมคม, พึงทำด้วยเล็บเหล่านั้น. กีบแห่งสัตว์
1. วิ. จุลฺล. 7/11
2. อุปสัมบันผู้ให้ทำกัปปิยะกล่าวว่า "กปฺปิยํ กโรหิ" อนุปสัมบันผู้ทำกัปปิยะเอามือหนึ่งจับสิ่ง
ของที่จะทำกัปปิยะ มือหนึ่งจับวัตถุที่จะใช้ทำกัปปิยะ มีมีดเป็นต้นแล้ว ตัดหรือฝ่าหรือจี้ลงไป
ที่สิ่งของนั้นพร้อมกล่าวว่า "กปฺปิย ภนฺเต" เป็นเสร็จพิธี, =ผู้ชำระ.