เมนู

เป็นต้น ฉะนั้น. ส่วนพืชที่ท่านคัดออกไว้ให้พ้นไปจากภูตคาม ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต เป็นต้น
เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงประกอบกับบทต้นแห่งสิกขาบทวิภังค์ที่ว่า
ภูตคาโม นาม แล้ว พึงทราบเนื้อความในคำว่า พีเช พืชสญญี นี้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุมีความสำคัญในพืชที่มีชื่อว่าภูตคาม ว่าเป็นพืช เอาศัสตราเป็นต้น ตัดเอง
ก็ดี ใช้ให้คนอื่นตัดก็ดี เอาก้อนหินเป็นต้นทุบเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทุบก็ดี
นำเอาไฟเข้าไปเผาเองก็ดี ใช้คนอื่นให้เผาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. แต่บัณฑิตไม่
พึงถือเอาตามพระบาลี ปรับปาจิตตีย์ ในเพราะความพราก มีชนิดตัดพืชนอก
ไปจากภูตคามเป็นต้น .

[อธิบายพีชคามและภูตคามเป็นต้น]


จริงอยู่ ในภูตคามสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยกถา ดังต่อไปนี้
ภิกษุพรากภูตคาม เป็นปาจิตตีย์. พรากพีชคามแม้ทั้ง 5 อย่าง อัน
นอกจากภูตคาม เป็นทุกกฏ. ชื่อว่า พีชคามและภูตคามนี้ อยู่ในน้ำก็มี อยู่
บนบกก็มี. บรรดาพีชคามและภูตคามที่อยู่ในน้ำและบนบกทั้งสองนั้น พีชคาม
และภูตคามที่อยู่ในน้ำ คือ เสวาลชาติ (สาหร่าย) ทั้งที่มีใบและไม่มีใบทั้งหมด
มีชนิดเช่นแหนและจอกเป็นต้น โดยที่สุดกระทั่งฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) บัณฑิต
พึงทราบว่า ภูตคาม. ชื่อว่าฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) ข้างบนแข็ง มีสีกร้าน
ข้างล่างอ่อน มีสีเขียว.
บรรดาเสวาลชาตินั้น รากของสาหร่ายใดหยั่งลงไปอยู่ในแผ่นดิน
แผ่นดินเป็นฐานของสาหร่ายนั้น. น้ำเป็นฐานของสาหร่ายที่ลอยไปมาบนน้ำ
เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่อยู่ในแผ่นดินในที่ใดที่หนึ่งก็ดี ยกขึ้นย้าย

ไปสู่ที่อื่นก็ดี. เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่ลอยไปมาบนน้ำเหมือนกัน.
แต่จะเอามือทั้งสองแหวกไปทางโน้นทางนี้ แล้วอาบน้ำ ควรอยู่. แท้จริง
น้ำทั้งสิ้นเป็นฐานของสาหร่ายที่อยู่ในน้ำนั้น เพราะเหตุนั้น สาหร่ายนั้น ยังไม่
จัดว่าเป็นอันภิกษุย้ายไปสู่ที่อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. แต่จะแกล้งยกขึ้นจากน้ำ
โดยเว้นน้ำเสียไม่ควร. ยกขึ้นพร้อมทั้งน้ำ แล้ววางลงในน้ำอีก ควรอยู่.
สาหร่ายออกมาทางช่องผ้ากรองน้ำ, ควรให้ทำกัปปิยะก่อน จึงบริโภคน้ำ.
ภิกษุถอนเถาวัลย์และหญ้าที่เกิดในน้ำ มีกออุบลและกอปทุมเป็นต้น ขึ้นจากน้ำ
ก็ดี พรากเสียในน้ำนั้นเองก็ดี เป็นปาจิตตีย์. พรากกออุบลและกอปทุมเป็นต้น
ที่คนอื่นถอนขึ้นไว้แล้ว เป็นทุกกฏ. จริงอยู่ กออุบลและปทุมเป็นต้น ที่คนอื่น
ถอนขึ้นไว้นั้น ย่อมถึงรากสงเคราะห์เข้าในพีชคาม. แม้สาหร่ายคือจอกและ
แหน* ที่เขายกขึ้นจากน้ำแล้ว ยังไม่เหี่ยว ย่อมถึงซึ่งอันสงเคราะห์เข้าในพืช
ที่เกิดจากยอด. ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า แหน** ไม่มีราก
และหน่อและตระไคร้น้าเป็นต้น เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. เหตุในคำนั้นไม่ปรากฎ.
ในอันธกอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ยังไม่เป็นภูตคามที่สมบูรณ์ เหตุนั้น
จึงเป็นทุกกฏ. แม้คำในอันธกอรรถกถานั้น ก็ไม่สมกัน (กับพระบาลี). จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ในเพราะภูตคาม, ปรับทุกกฏในเพราะพีชคาม.
ชื่อว่า ภูตคามอันไม่สมบูรณ์ เป็นโกฎฐาสที่ 3 ไม่ได้มาในบาลี ไม่ได้
มาในอรรถกถาทั้งหลายเลย. ก็ถ้าจะพึงมีมติว่า แหนไม่มีรากและหน่อนั้น
1. โยชนาปาระ 2/25-1 ตตฺถ ติลพีชกเสวาโล นาม อุปริ ขฺทฺทกปตฺโต เหฏฺฐา ขุทฺทกมูโล
เสวาโล. สาสปเสวาโล นาม สาสปมตฺโค ขุทฺทกเสวาโล. แปลว่า บรรดาสาหร่ายเหล่านั้น
ที่ชื่อว่า ติลพีชกสาหร่าย ได้แก่ สาหร่ายที่ข้างบนมีใบเล็ก ๆ ข้างล่างมีรากเล็ก ๆ ทิ่มีชื่อว่า
สาสปสาหร่าย ได้แก่ สาหร่ายเล็ก ๆ มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด. 2. โยชนาปาฐะ 2/21
อนนฺตกติลกพืชโกติ อมูลงฺกุรติลพีชโก พืชขนาดเท่าเมล็ดงาไม่มีรากและหน่อ ชื่อว่าแหน.
-ผู้ชำระ.

จักถึงการสงเคราะห์เข้าในพีชคามไซร้, แม้คำนั้นก็ไม่ควร เพราะพืชเช่นนั้น
ไม่เป็นมูลเหตุแห่งภูตคามเลย. อีกนัยหนึ่ง คำว่า บรรดาฐานะที่หนักและเบา
ภิกษุควรตั้งอยู่ในฐานะที่หนัก นี้เป็นลักษณะแห่งวินัย.

[ว่าด้วยภูตคามที่เกิดบนบกและการพรากภูตคามนั้น ]


วินิจฉัยในภูตคามที่เกิดบนบกต่อไป ส่วนที่เหลือของจำพวกต้นไม้
ที่ถูกตัดจัดว่าเป็นดอกไม้ที่เขียวสด. ในตอไม้เขียวสดนั้น ตอแห่งไม้กุ่ม ไม้-
กระถินพิมาน ไม้ประยงค์ และไม้ขนุนเป็นต้น ย่อมงอกขึ้นได้. ตอไม้นั้น
ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยภูตคาม. ตอแห่งต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้น ย่อมไม่
งอกขึ้นได้. ตอแห่งต้นตาลเป็นต้นนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพีชคาม.
ส่วนตอกล้วยที่ยังไม่ตกเครือ ท่านสงเคราะห์ด้วยภูตคาม. ดอกกล้วย
ที่ตกเครือแล้ว ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพีชคาม. แต่ต้นกล้วยที่ตกเครือแล้ว
ท่านสงเคราะห์ เข้าด้วยภูตคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ยังมีโบเขียวอยู่. ไม้ไผ่
ที่ตกขุยแล้ว ก็อย่างนั้น. แต่ไม้ไผ่ ในเวลาแห้งลงมาตั้งแต่ยอด จึงถึงอัน
สงเคราะห์ด้วยพีชคาม. สงเคราะห์ด้วยพีชคามชนิดไหน. ด้วยพืชตามชนิด
เกิดจากข้อ อะไรเกิดจากต้นไผ่นั้น. จริงอยู่ ถ้าหากว่าอะไร ๆ ไม่พึงเกิด.
(ต้นไผ่ตกขุย) พึงถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคาม.
ชนทั้งหลายตัดไม้ช้างน้าวเป็นต้น รวมเป็นกองไว้. กิ่งทั้งหลายแม้
ประมาณศอกหนึ่งงอกออกจากท่อนไม้ที่รวมเป็นกองไว้ ย่อมถึงการสงเคราะห์
เข้าด้วยพีชคามเหมือนกัน. ชนทั้งหลายปักลงในพื้นดิน เพื่อประโยชน์เป็น
มณฑปก็ดี เพื่อประโยชน์เป็นรั้วก็ดี เพื่อประสงค์จะปลูกเถาวัลย์ก็ดี. เมื่อ
จำพวกรากและใบงอกออกแล้ว ย่อมถึงอันนับเข้าเป็นภูตคามอีกแม้โดยแท้
ถึงอย่างนั้นเมื่องอกเพียงทุ่มรากหรือเพียงตุ่มใบก็สงเคราะห์เข้าเป็นพืชคาม
เท่านั้น.