เมนู

จึงตรัสว่า ว่างแล้ว . ก็แลจำเดิมแต่ปางนั้นมา เทวดานั้น ได้ความคุ้มครอง
จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เป็นพุทธอุปัฎฐายิกา. ในคราวมีเทวสมาคม เมื่อ
เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายมาอยู่ เทวดาเหล่าอื่นผู้มีศักดิ์น้อย ย่อมถอยร่นไป
จนจดมหาสมุทร และภูเขาจักรวาล. ส่วนเทวดานี้ นั่งฟังธรรม อยู่ในที่อยู่
ของตนนั่นแหละ. เทวดานั้น นั่งฟังปัญหาทั้งหมด แม้ที่พวกภิกษุถามใน
ปฐมยาม (และ) ที่พวกเทวดาถามในมัชฌิมยามบนวิมานนั้นนั่นแล. แม้ท้าว
มหาราชทั้ง 4 มาสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะไป ก็เยี่ยมเทวดา
นั้นก่อนแล้วจึงไป.

[แก้อรรถปาฐะว่าภูตคามปาตัพยตาย]


ในบทว่า ภูตคามปาตพฺยตาย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ ที่ชื่อว่า
ภูตะ เพราะอรรถว่า เกิดอยู่ด้วย เติบโตขึ้นอยู่ด้วย. อธิบายว่า ย่อมเกิด
ย่อมเจริญ หรือว่า เกิดแล้ว เจริญแล้ว.
บทว่า คาโม แปลว่า กอง. กองแห่งภูตทั้งหลาย เหตุนั้นจึงชื่อว่า
ภูตคาม. อีกอย่างหนึ่ง กอง คือ ภูต ชื่อภูตคาม. คำว่า ภูตคาม นั่น
เป็นชื่อแห่งหญ้า และต้นไม้เขียวสดที่ยืนต้นแล้ว เป็นต้น.
ภาวะแห่งการพราก ชื่อ ปาตัพยตา (ความเป็นแห่งการพราก).
อธิบายว่า ภาวะอันบุคคลพึงบริโภคใช้สอยตามความพอใจ. ด้วยการตัดและ
การทุบเป็นต้น . ในเพราะความเป็นผู้พรากภูตคามนั้น แห่งภิกษุนั้น. คำนี้
เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิต. อธิบายว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะความ
เป็นผู้พรากภูตคามเป็นเหตุ คือ เพราะการตัดภูตตามเป็นต้นเป็นปัจจัย.

[อธิบายภูตคาม 5 ชนิด มีมูลแพะเป็นต้น]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงภูตคามนั้น จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า ภูตคาโม นาม ปญฺจ วีชชาตานิ ดังนี้.

ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า ในคำว่า ภูตคามเป็นต้นนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกภูตคามขึ้นด้วยคำว่า ภูตคาโม นาม ดังนี้ แล้ว
ตรัสคำ ปญฺจ วาชชาตานิ เป็นต้น เพื่อทรงแสดงพืชที่เมื่อมันมีอยู่ ภูตคาม
จึงมี. แม้เมื่อมีอย่างนี้ คำว่า ยานิ วา ปนญฺญานิปิ อตฺถิ มูเล ชายนฺติ
เป็นต้น. ก็ไม่สมกัน. จริงอยู่ พืช 5 ชนิด มีพืชเกิดจากเหง้าเป็นต้น ไม่ใช่
เกิดอยู่ทีเหง้าเป็นต้น, แต่พืชเหล่านั้น เมื่อจะเกิดที่เหง้าเป็นต้น ก็ชื่อว่ามูลพืช
เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบวรรณนาในคำว่า ภูตคาโม นาม
เป็นต้นนี้ (โดยนัยที่กำลังจะกล่าว) อย่างนี้
บทว่า ภูตคาโม นาม เป็นบทควรแจก.
บทว่า ปญฺจ เป็นการกำหนดชนิดแห่งภูตคามนั้น.
บทว่า วีชชตานิ เป็นบทแสงไขธรรมที่ได้กำหนดไว้. ใจความ
แห่งบทว่า วีชชาตานิ นั้นว่า ที่ชื่อว่า พีชชาต เพราะอรรถว่า เกิดจาก
จำพวกเมล็ด คำนี้เป็นชื่อแห่งพืชมีต้น ไม้เป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง พืชเหล่านั้นด้วย
เกิดแล้วด้วย คือ ผลิแล้ว ได้แก่ มีใบและรากงอกออกแล้ว เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า พีชชาต. ด้วยคำว่า พีชชาต นี้ เป็นอันท่านทำการสงเคราะห์
เอาพืช มีขิงเป็นต้น ที่เขาชำไว้ในทรายเปียกเป็นต้น ซึ่งมีใบและรากงอก
ขึ้นแล้ว .
บัดนี้ พืชมีต้น ไม้เป็นต้น ที่ตรัสเรียกว่า พีชชาต เพราะเกิดจากพืช
เหล่าใด, เมื่อจะทรงแสดงพืชเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า มูลพืช
เป็นต้น . อุเทศแห่งพืช มีพืชเกิดจากรากเหง้าเป็นต้นนั้น ปรากฏชัดเจน
แล้วแล. ในคำว่า ก็หรือว่าพืชแม้อย่างอื่นใด บรรดามี ซึ่งเกิดที่เหง้า งอก
ที่เหง้า นี้ ในอุเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพืชที่เกิดจากเมล็ด

เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำว่า ยานิ วา ปนญญานิ เป็นต้นนี้
อย่างนี้ว่า ก็หรือพืชแม้อย่างอื่นใดบรรดามี เป็นต้นว่า ไม้กอ ไม้เถา และ
ไม้ต้น ซึ่งเกิดและงอกขึ้นที่เหง้า มีชนิด เช่น รากเหง้าเชือกเขา* (รากเหง้า
เถามัน) กระจับ บัวแดง บัวเขียว บัวขาบ บัวขาว (บัวสาย) เผือก มัน
และแคฝอยเป็นต้น. ไม้กอ ไม้เถา และไม้ต้นเป็นอาทินั้น ย่อมเกิดและย่อม
งอกที่เหง้าใด, ก็เหง้านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในบาลี พืชเกิด
จากเหง้า มีขมิ้นเป็นต้นนี้ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า มูลพืช. ในขันธพืชเป็นต้น
(พืชเกิดจากลำต้น) ก็นัยนี้ .
ก็อีกอย่างหนึ่ง บรรดาพืชทั้งหลาย มีพืชที่เกิดจากลำต้น เป็นอาทินี้
พืชเหล่าใด มีต้นมะกอก ต้นช้างน้าว (อ้อยช้างก็ว่า) สลัดได ทองหลาง
กรรณิการ์เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิดจากลำต้น พืชทั้งหลาย มีเถาส้ม
เถาสี่เหลี่ยม และเถาดีปลี (ยี่หร่าก็ว่า) เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิด
แต่ข้อ, พืชมี ปอ มะลิ หงอนไก่ เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิดจากยอด.
พืชมีเมล็ดมะม่วง หว้า และขนุนเป็นต้น พึงทราบว่า พืชเกิดจากเมล็ด.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติ อนาบัติ
และชนิดแห่งความถูกพราก ด้วยอำนาจสัญญา (ชื่อ) ในคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติยํ (เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความถูกพรากแห่ง
ภูตคาม) จึงตรัสดำว่า พีเช พีชสญฺญี เป็นต้น.
ภูตคามที่เกิดจากเมล็ด บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส-
เรียกว่า พืช ในคำว่า พีเช พีชสญฺญี นั้น ดุจข้าวสุกแห่งข้าวสารข้าวสาลี
เขาเรียกกันว่า ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ในคำว่า สาลีนญฺเจว โอทนํ ภุญชติ
* สมัยนี้แปลกันว่ามันฝรั่ง แต่ชาวอินเดียเรียกว่า "อาล." -ผู้ชำระ.

เป็นต้น ฉะนั้น. ส่วนพืชที่ท่านคัดออกไว้ให้พ้นไปจากภูตคาม ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต เป็นต้น
เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงประกอบกับบทต้นแห่งสิกขาบทวิภังค์ที่ว่า
ภูตคาโม นาม แล้ว พึงทราบเนื้อความในคำว่า พีเช พืชสญญี นี้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุมีความสำคัญในพืชที่มีชื่อว่าภูตคาม ว่าเป็นพืช เอาศัสตราเป็นต้น ตัดเอง
ก็ดี ใช้ให้คนอื่นตัดก็ดี เอาก้อนหินเป็นต้นทุบเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทุบก็ดี
นำเอาไฟเข้าไปเผาเองก็ดี ใช้คนอื่นให้เผาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. แต่บัณฑิตไม่
พึงถือเอาตามพระบาลี ปรับปาจิตตีย์ ในเพราะความพราก มีชนิดตัดพืชนอก
ไปจากภูตคามเป็นต้น .

[อธิบายพีชคามและภูตคามเป็นต้น]


จริงอยู่ ในภูตคามสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยกถา ดังต่อไปนี้
ภิกษุพรากภูตคาม เป็นปาจิตตีย์. พรากพีชคามแม้ทั้ง 5 อย่าง อัน
นอกจากภูตคาม เป็นทุกกฏ. ชื่อว่า พีชคามและภูตคามนี้ อยู่ในน้ำก็มี อยู่
บนบกก็มี. บรรดาพีชคามและภูตคามที่อยู่ในน้ำและบนบกทั้งสองนั้น พีชคาม
และภูตคามที่อยู่ในน้ำ คือ เสวาลชาติ (สาหร่าย) ทั้งที่มีใบและไม่มีใบทั้งหมด
มีชนิดเช่นแหนและจอกเป็นต้น โดยที่สุดกระทั่งฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) บัณฑิต
พึงทราบว่า ภูตคาม. ชื่อว่าฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) ข้างบนแข็ง มีสีกร้าน
ข้างล่างอ่อน มีสีเขียว.
บรรดาเสวาลชาตินั้น รากของสาหร่ายใดหยั่งลงไปอยู่ในแผ่นดิน
แผ่นดินเป็นฐานของสาหร่ายนั้น. น้ำเป็นฐานของสาหร่ายที่ลอยไปมาบนน้ำ
เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่อยู่ในแผ่นดินในที่ใดที่หนึ่งก็ดี ยกขึ้นย้าย