เมนู

[ว่าด้วยการะขุดเองและการใช้ให้ขุดแผ่นดินเป็นต้น]


สองบทว่า ขนติ วา ขนาเปติ วา มีความว่า ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้
ผู้อื่นขุดก็ดี (ซึ่งแผ่นดิน) ชั้นที่สุดด้วยปลายนิ้วเท้าบ้าง ด้วยซี่ไม้กวาดบ้าง
สองบทว่า ภินฺทติ วา ภินฺทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุทำลาย
เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นทำลายก็ดี (ซึ่งแผ่นดิน) ชั้นที่สุด แม้จะเทน้ำ.
สองบทว่า ทหติ วา ทหาเปติ วา มีความว่า ภิกษุเผาเองก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นเผาก็ดี ชั้นที่สุดจะระบมบาตร. ภิกษุจุดไฟเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นจุด
ในที่มีประมาณเท่าใด เป็นปาจิตตีย์มีประมาณเท่านั้นตัว. ภิกษุ แม้เมื่อจะ
ระบมบาตร พึงระบมในที่เคยระบมแล้วนั่นแหละ. จะวางไฟลงบนแผ่นดินที่
ไฟยังไม่ไหม้ ไม่ควร. แต่จะวางไฟลงบนกระเบื้องสำหรับระบมบาตร ควรอยู่.
วางไฟลงบนกองฟืน, ไฟนั้นไหม้ฟืนเหล่านั้น แล้วจะลุกลามเลยไปไหม้ดิน
ไม่ควร. แม้ในที่มีอิฐและหินเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ใน
ที่แม้นั้น จะวางไฟลงบนกองอิฐเป็นต้นนั่นแล ควรอยู่. เพราะเหตุไร ?
เพราะอิฐเป็นต้นนั้น มิใช่เชื้อไฟ. จริงอยู่ อิฐเป็นต้นนั้น ไม่ถึงอันนับว่า
เป็นเชื้อแห่งไฟ. จะติดไฟแม้ที่ตอไม้แห้ง และต้นไม้แห้งเป็นต้น ก็ไม่ควร.
แต่ถ้าว่า ภิกษุจะติดไฟด้วยคิดว่า เราจักดับไฟที่ยังไม่ทัน ถึงแผ่นดิน
เสียก่อนแล้วจึงจักไป ดังนี้ ควรอยู่. ภายหลังไม่อาจเพื่อจะดับได้ ไม่เป็นอาบัติ
เพราะไม่ใช่วิสัย ภิกษุถือคบเพลิงเดินไป เมื่อมือถูกไฟไหม้จึงทิ้งลงที่พื้น,
ไม่เป็นอาบัติ. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า จะเติมเชื้อก่อไฟ ในที่คบเพลิงตก
นั่นแหละ ควรอยู่. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีนั้นนั่นแลว่า ก็ที่มีประมาณเท่าใด
ในแผ่นดินซึ่งถูกไฟไหม้ ไอร้อนระอุไปถึง จะโกยที่ทั้งหมดนั้น ออก ควรอยู่.

ก็ภิกษุใด ยังไม่รู้จะสีให้ไฟเกิดด้วยไม้สีไฟ เอามือหยิบขึ้นแล้วกล่าวว่า
ผมจะทำอย่างไร ? ภิกษุอื่นบอกว่า จงทำให้ลุกโพลงขึ้น. เธอกล่าวว่า มัน
จะไหม้มือผม จึงบอกว่า จงทำอย่างที่มันจะไม่ไหม้. แต่ไม่พึงบอกว่า จงทิ้ง
ลงที่พื้น. ถ้าว่า เมื่อไฟไหม้มือ เธอทิ้งลง ไม่เป็นอาบัติ เพราเธอไม่ได้
ทิ้งลงด้วยตั้งใจว่า เราจักเผาแผ่นดิน. ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีว่า ถึงจะก่อไฟ
ในที่ไฟตกลง ก็ควร
ก็ในคำว่า อนาปตฺติ อิมํ ชาน เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบใจความ
อย่างนี้ คือ (ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กล่าวว่า) เธอจงรู้หลุมสำหรับเสานี้, จงรู้
ดินเหนียวก้อนใหญ่ จงรู้ดินปนแกลบ จงให้ดินเหนียวก้อนใหญ่ จงให้ดิน
ปนแกลบ. จงนำดินเหนียวมา. จงนำดินร่วนมา, ต้องการดินเหนียว, ต้องการ
ดินร่วน จงทำหลุมให้เป็นกัปปิยะสำหรับเสานี้, จงทำดินเหนียวนาให้เป็น
กัปปิยะ, จงทำดินร่วนนี้ให้เป็นกัปปิยะ.
บทว่า อสญฺจิจฺจ มีความว่า เมื่อภิกษุกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้นไป
หรือเดินเอาไม้เท้ายัน ๆ ไป แผ่นดินแตก. แผ่นดินนั้นชื่อว่า อันภิกษุไม่ได้
แกล้งทำแตก เพราะเธอไม่ได้จงใจทำลายอย่างนี้ว่า เราจักทำลาย (แผ่นดิน)
ด้วยไม้เท่านี้, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่แกล้งทำลาย ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อสติยา มีความว่า ภิกษุส่งใจไปทางอื่นยืนพูดอะไรกับคน
บางคนเอานิ้วหัวแม่เท้า หรือไม้เท้าขีดเขียนแผ่นดินไปพลาง ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้ขีดเขียน หรือทำลาย (ดิน) ด้วยไม่มี สติอย่างนี้.
บทว่า อาชานนฺตสฺส มีความว่า ภิกษุไม่รู้แผ่นดินที่ฝนตกรดภาย-
ในเรือน ซึ่งมุงหลังคาปิดแล้วว่า เป็นอกัปปิยปฐพี จึงโกยออก ด้วยสำคัญว่า
เป็นกัปปิยปฐพี ก็ดี ไม่รู้ว่า เราขุด เราทำลาย เราเผาไฟ ก็ดี เก็บเสียม

เป็นต้น เพื่อต้องการรักษาไว้อย่างเดียวก็ดี มือถูกไฟไหม้ ทิ้งไฟลงก็ดี, ไม่
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รู้อย่างนี้ บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น..
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 ทางวาจากับจิ 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สาญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม มีเวทนา 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
ปฐวีขนนสิกขาบทที่ 10 จบ
มุสาวาทวรรคที่ 1 จบบริบูรณ์
ตามวรรณนานุกรม

ปาจิตตีย์ วรรคที่ 2


ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 1


เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี


[354] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬว-
เจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีทำนวกรรม ตัดต้นไม้
เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง แม้ภิกษุชาวรัฐอาฬวีรูปหนึ่งก็ตัดต้นไม้ เทวดาผู้
สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นั้น ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ท่านประสงค์
จะทำที่อยู่ของท่าน โปรดอย่าตัดต้นไม้อันเป็นที่อยู่ของข้าพเจ้าเลย ภิกษุรูปนั้น
ไม่เชื่อฟังได้ตัดลงจนได้ แลฟันถูกแขนทารกลูกของเทวดานั้น เทวดาได้คิด
ขึ้นว่า ถ้ากระไรเราพึงปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้แหละ แล้ว ติดต่อไปว่า
ก็การที่เราจะพึงปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้นั้นไม่สมควรเลย ถ้ากระไรเรา
ควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนั้น เทวาดานั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานสาธุการว่า ดีแล้ว ๆ เทวดา ดีนักหนา
ที่ท่านไม่ปลงชีวิตภิกษุรูปนั้น ถ้าท่านปลงชีวิตภิกษุรูปนั้นในวันนี้ ตัวท่านจะ
พึงได้รับบาปเป็นอันมาก ไปเถิดเทวาดา ต้นไม้ในโอกาสโน้นว่างแล้ว ท่าน
จงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น.
ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พวกพระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ตัดต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลาย ย่อมเบียดเบียนอินทรีย์ อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ