เมนู

ก็สองบทว่า อปฺปปํสุ อปฺปมตฺติกา ซึ่งมีอยู่ตรงกลาง ผนวกเข้า
หมวด 5 มีหินโดยมากเป็นต้นนั่นแล. แท้จริง คำนี้ เป็นคำแสดงชนิดแห่ง
ปฐพีทั้ง 2 นั้น นั่นแล.
ในคำว่า สยํ ขนติ อาปตฺต ปาจิตฺติยสฺส นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า
เป็นปาจิตตีย์ทุก ๆ ครั้งที่ขุด.
คำว่า สกึ อาณตฺโต พทุกํปิ ขนติ มีความว่า ถ้าแม้นว่า ผู้รับ
สั่งขุดตลอดทั้งวัน ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้นแก่ผู้สั่ง. แต่ถ้าผู้รับสั่งเป็นคน
เกียจคร้าน ผู้สั่งต้องสั่งบ่อย ๆ เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สั่งให้เขาขุดทุก ๆ คำ.
พรรณนาบาลีเท่านี้ก่อน.

[บาลีมุตตกวินิจฉัยว่าด้วยการขุดดินเป็นต้น]


ส่วนวินิจฉัยนอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ ภิกษุกล่าวว่า เธอจงขุด
สระโบกขรณี ดังนี้ ควรอยู่. เพราะว่า สระที่ขุดแล้วเท่านั้น จึงชื่อว่า เป็น
สระโบกขรณี ฉะนั้น โวหารนี้ เป็นกัปปิยโวหาร. แม้ในคำเป็นต้นว่า
จงขุด บึง บ่อ หลุม ดังนี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แต่จะกล่าวว่า จงขุด
โอกาสนี้ จงขุดสระโบกขรณี ในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่ควร. จะกล่าวไม่กำหนด
แน่นอนลงไปว่า จงขุดเหง้า จงขุดราก ดังนี้ ควรอยู่ จะกล่าวว่า จงขุด
เถาวัลย์นี้ จงขุดเหง้า หรือรากในโอกาสนี้ ดังนี้ ไม่สมควร. เมื่อชำระ
สระโบกขรณี อาจจะเอาหม้อวิดเปือกตมเหลว ๆ ใดออกได้, จะนำเปือกตม
นั้นออก ควรอยู่. จะนำเปือกตมที่ข้นออก ไม่ควร. เปือกตมแห้งเพราะ
แสงแดด แตกระแหง ในเปือกตมแห้งนั้น ส่วนใดไม่เนื่องกับแผ่นดินใน