เมนู

ขุททกกัณฑวรรณนา


ขุททกสิกขาบทเหล่าใด สงเคราะห์
ตามวรรคเป็น 9 วรรค ประดิษฐานอยู่ด้วยดี
แล้ว บัดนี้ จะมีการพรรณนาสิกขาบท
เหล่านั้น ดังต่อไปนี้:-

ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ 1


มุสาวาทสิขาบทที่ 1


บรรดาวรรค 9 เหล่านั้น (บรรดาขุททกสิกิขาบทเหล่านั้น) พึงทราบ
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 1 แห่งมุสาวาทวรรดูก่อน.

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระหัตถกะ]


คำว่า หตฺถโก เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บุตรของพวกเจ้าศากยะ
ชื่อว่าศากยบุตร. ได้ยินว่า ในครั้งพุทธกาล บุรุษแปดหมื่นคน ได้ออกบวช
จากศากยตระกูล. ท่านพระหัตถกะนั้น เป็นคนใดคนหนึ่ง บรรดาบุรุษ
แปดหมื่นคนนั้น.
บทว่า วาทกฺขิตฺโต มีความว่า ถูกคำพูดที่ตนกำหนดไว้อย่างนี้ว่า
เราจักกระทำวาทะ (ทำการโต้วาทะกัน) ซัดไป คือ ผลักไป อธิบายว่า ดันไป
คือ ส่งไปสู่สำนักของพวกปรวาที. อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระหัตถกะนั้น ถูกจิต
ของตนซัดไปในวาทะ. ย่อมปรากฏในสถานที่ซึ่งมีการโต้วาทะกันทุกครั้งไป.
แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าถูกซัดไปในวาทะ (เป็นคนพูดสับปลับ).

ข้อว่า อวชานิตฺวา ปฏิชานาติ มีความว่า พระหัตถกะนั้น
กำหนดโทษบางอย่างในคำพูดของตนได้ ถลากไถลไปว่า นี้ไม่ใช่คำพูดของเรา
เมื่อพูดไป ๆ สังเกตได้ว่าไม่มีโทษ แล้วยอมรับว่า นี้ เป็นคำพูดของเราละ.
ข้อว่า ปฏิชานิตฺวา อวชานาติ มีความว่า ท่านเมื่อกำหนดอานิสงส์
ในคำพูดบางอย่างได้ ก็ยอมรับว่า นี้ เป็นคำพูดของเรา เมื่อพูดต่อไปอีก
กำหนดโทษในถ้อยคำนั้นได้ ก็ถลากไถลไปว่า นี้ ไม่ใช่คำพูดของเรา ดังนี้.
ข้อว่า อญฺเญนญฺญํ ปฏิจรติ มีความว่า ย่อมกลบเกลื่อน คือ
ย่อมปกปิด ได้แก่ ทับถมเหตุอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุอย่างหนึ่ง คือ กล่าวเหตุว่า
รูปไม่เที่ยง เพราะเป็นของพึงรู้ได้ แล้วกลับกล่าวเหตุเป็นต้นว่า เพราะมี
ความเกิดเป็นธรรมดา.
แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ย่อมพูดเรื่องอื่นเป็นอันมาก เพราะเหตุ
ที่จะปกปิดปฏิญญาและความถลากไถลนั่น.
ในคำว่า เอตสฺส เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า เธอย่อม
กล่าวคำเป็นอันมากมีอาทิอย่างนี้ว่า ใครกล่าว ? กล่าวว่าอย่างไร ? กล่าวที่ไหน ?
ดังนี้ เพื่อปกปิดคำปฏิญญาและคำถลากไถลนั้น.
ในมหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้อีกว่า ถลากไถลแล้วปฏิญาณ และ
ปฏิญาณแล้วถลากไถล นั่นแหละ ชื่อว่า กลบเกลื่อนเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น.
สองบทว่า สมฺปชานมุสา ภาสติ ได้แก่ กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.
หลายบทว่า สงฺเกตํ กตฺวา วิสํวาเทติ มีความว่า ทำการนัดหมายว่า
การโต้วาทะ จงมีในประเทศชื่อโน้น ในบรรดากาลมีปุเรภัตเป็นต้น ชื่อโน้น
ดังนี้ แล้วไปก่อน หรือหลังจากเวลาที่ตนนัดหมายไว้ แล้วกล่าวว่า จงดูเอาเถิด
ผู้เจริญ ! พวกเดียรถีย์ ไม่มาแล้ว แพ้แล้ว ดังนี้ หลีกไปเสีย.

บทว่า สมฺปชานมุสาวาเท ได้แก่ ในเพราะการพูดเท็จทั้งที่รู้ตัว
แล้วและกำลังรู้.
บทว่า วิสํวาทนปุเรกฺขารสฺส ได้แก่ ผู้พูดทำจิตที่คิดจะพูดให้
คลาดเคลื่อนไว้เป็นเบื้องหน้า.
เจตนายังคำพูดอันนับเนื่องในมิจฉาวาจาให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า วาจา.
ท่านแสดงเสียงอันตั้งขึ้นด้วยเจตนานั้น ด้วยคำว่า คิรา.
ทางแห่งถ้อยคำ ชื่อว่า พยบถ. ก็วาจานั่นแล ท่านเรียกว่า พยบถ
เพราะเป็นแนวทางแม้ของชนเหล่าอื่น ผู้ถึงทิฏฐานุคติ.
การเปล่งวาจาที่มีความเข้าใจกันว่าคำพูด ชื่อว่า วจีเภท. วาจามี
ชนิดต่าง ๆ กันนั่นเอง ท่านเรียกอย่างนี้ (ว่าวจีเภท).
วจีวิญญัตติ ชื่อว่า วิญญัตติที่เป็นไปทางวาจา. ด้วยอาการอย่างนั้น
ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ด้วยบทแรก ท่านพระอุบาลีกล่าวเพียงเจตนาล้วน, ด้วย
3 บทท่ามกลาง กล่าวเจตนาที่ประกอบด้วยเสียงซึ่งตั้งขึ้นด้วยเจตนานั้น. ด้วย
บทเดียวสุดท้าย กล่าวเจตนาที่ประกอบด้วยวิญญัตติ.
โวหาร (คำพูด) ของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยเจ้า คือเหล่าพาลปุถุชน
ชื่อว่า อนริยโวหาร.
พระอุบาลีเถระ. ครั้นแสดงสัมปชานมุสาวาทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ
จะแสดงลักษณะแห่งอนริยโวหาร ที่นับเป็นสัมปชานมุสาวาท ซึ่งกล่าวไว้ใน
ที่สุด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อทิฏฺฐํ นาม ดังนี้.

[อรรถาธิบายอนริยโวหาร 8 อย่าง]


ในคำว่า อทิฏฺฐํ เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบอรรถโดยนัยนี้ว่า
ถ้อยคำ หรือ เจตนาเป็นเหตุยังถ้อยคำนั้นให้ตั้งขึ้น ของภิกษุผู้กล่าวเรื่องที่ตน
ไม่เห็นอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่า อนริยโวหารอย่างหนึ่ง.