เมนู

ภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบแล้ว.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ
ภิ. มีจริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุ
แห่งต้องเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


57. 8. อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตริมนุสธรรมแก่อนุปสัมบัน
เป็นปาจิตตีย์ เพราะมีจริง.

เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[306] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ความว่า ยกเว้น ภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า
อนุปสัมบัน.

บทภาชนีย์


[307] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้ แก่ ฌาน วิโมกข์
สมาธิ สมาบัติ ฌาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิด การทำผลให้แจ้ง
การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
[308] ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ติยฌาน
จตุตถฌาน.
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิ-
หิตวิโมกข์.
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิต-
สมาบัติ
ที่ชื่อว่า ฌาณ ได้แก่ วิชชา 3.
ที่ชื่อว่า การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8.
ที่ชื่อว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
. . .สกทาคามิผล . . . อนาคามิผล . ..อรหัตผล.
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ . . .โทสะ. . . . โมหะ.
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิต
จากโทสะ ความเปิดจิตจากโมหะ.
ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ ความยินดียิ่ง
ในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน . . . ด้วยทุติยฌาน .. . ด้วยคติยฌาน ... ด้วย
จตุตถฌาน.