เมนู

ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ


อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระ-
อาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอ
ยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน
ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
หรือ.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้
เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจ
กัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระ
พุทธเจ้าข้า.

พุทธประเพณี


พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่
ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระตถาคตทรง
กำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลานย่อมทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายด้วยอาการ 2 อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.

ตรัสถาม


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร.

ภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบแล้ว.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ
ภิ. มีจริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุ
แห่งต้องเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


57. 8. อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตริมนุสธรรมแก่อนุปสัมบัน
เป็นปาจิตตีย์ เพราะมีจริง.

เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[306] บทว่า อนึ่ง. . . ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ความว่า ยกเว้น ภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่า
อนุปสัมบัน.