เมนู

มุสาวาทวรรค สหเสยยสิกขาบทที่ 5


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ 5 ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถเรื่องพระนวกะและสามเณรราหุล]


สองบทว่า มุฏฺฐสฺสตี อสมฺปชานา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วย
อำนาจการไม่ทำสติสัมปชัญญะในบุรพภาค. ก็ในกาลที่จิตจิตหยั่งสู่ภวังค์ สติ-
สัมปชัญญะจักมีแต่ที่ไหน ?
บทว่า วิกุชฺชมานา คือ ละเมออยู่.
บทว่า กากากจฺฉมานา ได้แก่ เปล่งเสียงไม่มีความหมาย ดุจ
เสียงกา ทางจมูก.
บทว่า อุปาสกา ได้แก่ พวกอุบาสกที่ลุกขึ้นก่อนกว่า.
สองบทว่า เอตทโวจุํ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้ว่า
" ท่านราหุล ! สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว ดังนี้ ด้วย
เคารพในสิกขาบทนั่นเที่ยว. แต่โดยปกติ เพราะความเคารพในพระผู้มีพระภาค
เจ้า และเพราะท่านราหุลเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ภิกษุเหล่านั้น เมื่อท่านราหุล
นั้นมายังที่อยู่ จึงปูลาดเตียงเล็ก ๆ หรือพนักพิง อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่
แล้วถวายจีวร (สังฆาฎิ) หรืออุตราสงค์ เพื่อต้องการให้ทำเป็นเครื่องหนุน-
ศีรษะ. ในข้อที่ท่านพระราหุลเป็นผู้ใคร่ในการศึกษานั้น (มีคำเป็นเครื่องสาธก)
ดังต่อไปนี้.
ทราบว่า ภิกษุทั้งหลาย เห็นท่านราหุลนั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว ย่อม
วางไม้กวาดกำและกระเช้าเทขยะไว้ข้างนอก. ต่อมา เมื่อภิกษุพวกอื่นกล่าวว่า
ท่านผู้มีอายุ นี้ใครเอามาวางทิ้งไว้ ดังนี้ ภิกษุอีกพวกหนึ่งจะกล่าวว่าอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านราหุลเที่ยวมาในประเทศนี้ ชะรอยเธอวางทิ้งไว้กระมัง.
ส่วนท่านราหุลนั้น ไม่เคยพูดแม้ในวันหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่การกระทำของผมขอรับ
เก็บงำไม้กวาดกำเป็นต้นนั้นแล้ว ขอขมาภิกษุทั้งหลายก่อน จึงไป.
หลายบทว่า วจฺจกุฏิยํ เสยฺยํ กปฺเปสิ มีความว่า ท่านราหุลนั้น
เพิ่มพูนอยู่ซึ่งความเป็นผู้ใคร่ในสิกขานั้นนั่นเอง จึงไม่ไปสู่สำนักแห่งพระธรรม
เสนาบดี พระมหาโมคคัลลานะ และพระอานนทเถระเป็นต้น สำเร็จการนอน
ในเวจกุฎีที่บังคนของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้ยินว่า กุฎีนั้น เขาติดบานประตู
ไว้ ทำการประพรมด้วยของหอม มีพวงดอกไม้แขวนไว้เค็ม ตั้งอยู่ ดุจเจติย-
สถาน ไม่ควรแก่การบริโภคใช้สอยของตนเหล่าอื่น.
สองบทว่า อุตฺตริ ทฺวิรตฺตติรตฺตํ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงประทานบริหารสิ้น 3 ราตรี เพื่อต้องการทำความสงเคราะห์แก่พวก
สามเณร. จริงอยู่ การที่ภิกษุให้พวกเด็กในสกุลบวชแล้ว ไม่อนุเคราะห์ ไม่
สมควร.
บทว่า สหเสยฺยํ คือ การนอนร่วมกัน. แม้การนอน กล่าวคือ
การทอดกาย ท่านเรียกว่า ไสย. ภิกษุทั้งหลายนอนในเสนาสนะใด แม้
เสนาสนะนั้น (ท่านเรียกว่า ไสย ที่นอน). บรรดาที่นอนสองอย่างนั้น เพื่อ
ทรงแสดงเสนาสนะก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยา นาม
สพฺพจฺฉนฺนา
ดังนี้
เพื่อทรง แสดงการเหยียดกาย จึงตรัสคำมีว่า อนุปสมฺปนฺเน นิปนฺเน
ภิกฺขุ นิปชฺชติ
(เมื่ออนุปสัมบันนอน ภิกษุก็นอน) เป็นต้น. เพราะฉะนั้น
ในคำว่า เสยฺยํ กปฺเปยฺย นี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุเข้าไปสู่ที่นอน
กล่าวคือเสนาสนะ พึงสำเร็จ คือ พึงจัดแจง ได้แก่ ยังการนอน คือ การ
เหยียดกายให้สำเร็จ.

[อธิบายลักษณะแห่งที่นอนคือเสนาสนะต่าง ๆ กัน]


ก็ด้วยบทว่า สพฺพจฺฉนฺนา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสลักษณะ
แห่งที่นอน กล่าวคือเสนาสนะนั้น. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะใด มุงทั้งหมด
ทีเดียว ในเบื้องบนด้วยเครื่องมุง 5 ชนิด หรือด้วยวัตถุอะไร ๆ อื่นก็ตาม,
ที่นอนนี้ ชื่อว่ามุงทั้งหมด.
แต่ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านถือเอาโวหารที่ปรากฎ กล่าวด้วยอำนาจ
คำคล่องปากว่า ที่นอนอันมุงด้วยเครื่องมุง 5 ชนิด ชื่อว่า มุงทั้งหมด ดังนี้
แม้ท่านกล่าวคำนั้นไว้แล้วก็จริง, ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจทำให้ไม่เป็นอาบัติแม้แก่
ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีผ้าได้ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบเครื่องมุงและเครื่องบัง
ในสิกขาบทนี้ ชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งสามารถปิดบังได้.
จริงอยู่ เมื่อถือเอาเครื่องมุง 5 ชนิดเท่านั้น การนอนร่วมในกุฎี
แม้ที่มุงด้วยไม้กระดาน ก็ไม่พึงมีได้. ก็เสนาสนะใด ที่เขากั้นทั้งแต่พื้นดิน
จนจดหลังคาด้วยกำแพง หรือด้วยวัตถุอะไร ๆ อื่นก็ตาม โดยที่สุด แม้ด้วย
ผ้า ที่นอนนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า บังทั้งหมด.
ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนทีว่า ที่นอนแม้ที่เขากั้นด้วยเครื่องกั้นมี
กำแพงเป็นต้น สูงศอกคืบโดยบรรยายอย่างต่ำที่สุด ไม่จดหลังคา จัดว่าบัง
ทั้งหมดเหมือนกัน. ก็เพราะที่ที่มุงข้างบนมากกว่า ที่ไม่ได้มุงน้อย หรือว่าที่
ที่เขากั้นโดยรอบมากกว่า ที่ไม่ได้กั้นน้อย ฉะนั้น ที่นอนนี้ จึงชื่อว่า มุง-
โดยมาก บังโดยมาก.
ก็ปราสาทที่ประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้ ถ้าแม้นมีถึง 7 ชั้น มีอุปจาร
เดียวกัน หรือว่า ศาลา 4 มุข มีห้องตั้งร้อย ก็ถึงอันนับว่า ที่นอนอันเดียว
กันแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงที่นอนนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ใน