เมนู

ของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อด้วยยามเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


54. 5. ก. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับ อนุปสัมบัน
เป็นปาจิตตีย์ .
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระนวกะ จบ

เรื่องสามเณรราหุล


[290] กาลต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองอาฬวี ตาม
พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครโกสัมพี เสด็จ
จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครโกสัมพีแล้ว ข่าวว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ พทริ-
การาม เขตพระนครโกสัมพีนั้น
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้กะท่านสามเณรราหุลว่า อาวุโสราหุล พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงสำเร็จการนอนร่วมกับ อนุป-
สัมบัน อาวุโสราหุล ท่านจงรู้สถานที่ควรนอน
วันนั้น ท่านสามเณรราหุลหาที่นอนไม่ได้จึงสำเร็จการนอนในวัจจกุฎี
ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทมแล้ว ได้
เสด็จไปวัจจกุฎี ครั้นถึงจึงทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กะแอมรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ใครอยู่ในวัจจกุฎีนี้
ท่านสามเณรราหุลทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ดูก่อนราหุล เหตุไรเธอจึงนอน ณ ที่นี้
จึงท่านสามเณรราหุล กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ 2-3 คืน...
ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้แสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ


54. 5. ข. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
ยิ่งกว่า 2-3 คืน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องสามเณรราหุล จบ

สิกขาบทวิภังค์


[291] บทว่า อนึ่ง ...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. ..
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ...
นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์โนอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้น ภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน.
บทว่า ยิ่งกว่า 2 3 คืน คือเกินกว่า 2-3 คืน4
บทว่า ร่วม คือด้วยกัน.
ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ภูมิสถานเป็นที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บัง
ทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก