เมนู

ไม่ต้องอาบัติ


อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ไม่
ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร


[288] ภิกษุให้สวดพร้อมกัน 1 ท่องพร้อมกัน 1 อนุปสัมบันผู้
กล่าวอยู่ สวดอยู่ ซึ่งคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

มุสาวาทวรรค ปทโสธัมมสิกขาบทที่ 4


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถบางปาฐะว่าด้วยการสอนธรรมโดยบท]


บทว่า อปฺปติสฺสา ได้แก่ ไม่ยำเกรง, อธิบายว่า เมื่อพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ! แม้ถ้อยคำก็ไม่อยากฟัง คือ ไม่
เอื้อเฟื้อ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ไม่มีความยำเกรง ไม่ประพฤติอ่อนน้อม.
บทว่า อสภาควุตฺติกา ได้แก่ ผู้มีความเป็นอยู่ไม่ถูกส่วนกัน ;
อธิบายว่า ผู้มีความประพฤติไม่ดำเนินไปเหมือนอย่างที่พวกอุบาสกควร
ประพฤติในหมู่ภิกษุ
คำว่า ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺย ความว่า ให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ
รวมกัน (กับ อนุปสัมบัน), อธิบายว่า ให้กล่าว (ธรรม) เป็นโกฏฐาส ๆ

(เป็นต้นส่วน ๆ). ก็เพราะบทที่มีชื่อว่าโกฎฐาสนั้น มีอยู่ 4 อย่าง. ฉะนั้น เพื่อ
แสดงบททั้ง 4 อย่างนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า บท
อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ.
บรรดาบทเป็นต้นนั้น บท หมายเอาคาถาบาทหนึ่ง. อนุบท หมายเอา
บาทที่สอง. อนุอักขระ หมายเอาอักขระตัวหนึ่ง ๆ (หมายเอาอักขระแต่ละตัว).
อนุพยัญชนะ หมายเอาพยัญชนะตัวท้ายคล้ายกับพยัญชนะตัวต้น. ผู้ศึกษาพึง
ทราบความต่างกัน ในบทเป็นต้นนั่นอย่างนี้ คือ อักขระแต่ละตัวชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อนุอักขระ ประชุมอักขระ ชื่อว่า อนุพยัญชนะ, ประชุม
อักขระและอนุพยัญชนะ ชื่อว่า บท, บทแรก ชื่อว่า บทเหมือนกัน บท
ที่สอง ชื่อว่า อนุบท.
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปทํ นาม เอกโต ปฏฺฐ-
เปตฺวา เอกโต โอสาเปนฺติ
ต่อไป เมื่อภิกษุให้กล่าวธรรม เนื่องด้วย
คาถา เริ่มบทแต่ละบทนี้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา พร้อมกันกับอนุปสัมบัน
แล้วให้จบลงก็พร้อมกัน. แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์
หลายตัวตามจำนวนบท.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนุปทํ นาม ปาเฏกฺกํ ปฏฺฐเปตฺวา
เอกโต โอสาเปนฺติ
ต่อไป :- เมื่อพระเถระกล่าวว่า มโนปุพฺพงฺคมา
ธมฺมา
ดังนี้ สามเณรกล่าวบทนั้นไม่ทัน จึงกล่าวบทที่สองพร้อมกันว่า
มโนเสฏฺฐา มโนมยา. ภิกษุและสามเณรทั้งสองรูปนี้ ชื่อว่าขึ้นต้นต่างกัน
ให้จบลงพร้อมกัน. แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัว
ตามจำนวนอนุบท.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนฺวกฺขรํ นาม รูปํ อนิจฺจนฺติ
วุจฺจมาโน รูติ โอปาเตติ
ต่อไป:- ภิกษุสอนสามเณรว่า แน่ะสามเณร !
เธอจงว่า รูปํ อนิจฺจํ กล่าวพร้อมกันเพียงรู- อักษรเท่านั้น แล้วหยุดอยู่.
แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตานจำนวนอนุ-
อักขระ. และแม้ในคาถาพันธ์ บัณฑิตก็ย่อมได้นัยเช่นนี้เหมือนกันแท้ทีเดียว.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนุพฺยญฺชนํ นาม รูปํ อนิจฺจนฺติ
วุจฺจมาโน เวทนา อนิจฺจาติ สทฺทํ นิจฺฉาเรติ
ต่อไป:- สามเณร
ให้บอกสูตรนี้ว่า รูปํ ภิกฺขเว อนิจฺจํ เวทนา อนิจฺจา เป็นต้น พระเถระ
บอกว่า รูปํ อนิจจํ ดังนี้ เปล่งวาจากล่าวอนิจจบทนี้ว่า เวทนา อนิจฺจา
พร้อมกับอนิจจบทของพระเถระว่า รูปํ อนิจฺจํ นี้ เพราะเป็นผู้มีปัญญาว่องไว.
แม้สำหรับภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ พระวินัยธรก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตาม
จำนวนอนุพยัญชนะ. ส่วนความสังเขปในบทเหล่านี้มีดังนี้ว่า บรรดาบท
เป็นต้นนี้ ภิกษุกล่าวบทใด ๆ พร้อมกัน ย่อมต้องอาบัติด้วยบทนั้น ๆ.

[ว่าด้วยภาษิต 4 มีพุทธภาษิตเป็นต้น]


วินัยปิฎกทั้งสิ้น อภิธรรมปิฎก ธรรมบท จริยาปิฎก อุทาน
อติวุทคกะ ชาตกะ สุตตนิบาท วิมานวัตถุ เปตวัตถุ และพระสูตรทั้งหลาย
มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า พุทธภาษิต.
ธรรมที่พวกสาวกผู้นับเนื่องในบริษัท 4 ภาษิตไว้ มีอนังคณสูตร
สัมมาทิฏฐิสูจร อนุมานสูตร จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า
สาวกภาษิต.
ธรรมที่พวกปริพาชกภายนอกกล่าวไว้ มีอาทิอย่างนี้ คือ ปริพาชก
วรรคทั้งสิ้น คำปุจฉาของพราหมณ์ 16 คน ผู้เป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์
ชื่อพาวรี ชื่อว่า อิสิภาษิต.