เมนู

ที่ชื่อว่า อนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบัน
เปล่งเสียงรับว่า เวทนา อนิจฺจา.
บท ก็ดี อนุบท ก็ดี อนุอักขระ ก็ดี อนุพยัญชนะ ก็ดี ทั้งหมด
นั้น ชื่อว่าธรรมโดยบท.
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ บาลีที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต
เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.
บทว่า ให้กล่าว คือ ให้กล่าวโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท
ให้กล่าวโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ อักขระ.

บทภาชนีย์


ติกปาจิตตีย์


[287] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรม
โดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

ทุกกฏ


อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ไม่
ต้องอาบัติ.

อานาปัตติวาร


[288] ภิกษุให้สวดพร้อมกัน 1 ท่องพร้อมกัน 1 อนุปสัมบันผู้
กล่าวอยู่ สวดอยู่ ซึ่งคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

มุสาวาทวรรค ปทโสธัมมสิกขาบทที่ 4


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 ดังต่อไปนี้

[แก้อรรถบางปาฐะว่าด้วยการสอนธรรมโดยบท]


บทว่า อปฺปติสฺสา ได้แก่ ไม่ยำเกรง, อธิบายว่า เมื่อพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ! แม้ถ้อยคำก็ไม่อยากฟัง คือ ไม่
เอื้อเฟื้อ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ไม่มีความยำเกรง ไม่ประพฤติอ่อนน้อม.
บทว่า อสภาควุตฺติกา ได้แก่ ผู้มีความเป็นอยู่ไม่ถูกส่วนกัน ;
อธิบายว่า ผู้มีความประพฤติไม่ดำเนินไปเหมือนอย่างที่พวกอุบาสกควร
ประพฤติในหมู่ภิกษุ
คำว่า ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺย ความว่า ให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ
รวมกัน (กับ อนุปสัมบัน), อธิบายว่า ให้กล่าว (ธรรม) เป็นโกฏฐาส ๆ