เมนู

อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอนุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอก
แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อานาปัตติวาร


[283] ภิกษุไม่ต้องการจะให้เขาชอบ 1 ภิกษุไม่ประสงค์จะให้เขา
แตกกัน 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

มุสาวาทวรรค เปสุญญาวาทสิกขาบทที่ 3


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 ดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์]


บทว่า ภณฺฑนซาตานํ ได้แก่ ผู้เกิดบาดหมางกันแล้ว. ส่วนเบื้องต้น
แห่งความทะเลาะกัน ชื่อว่า ภัณฑนะ (ความบาดหมาง). คือ การปรึกษา
กันในฝักฝ่ายของตน อาทิว่า เมื่อเขากล่าวคำอย่างนี้ว่า กรรมอย่างนี้ อัน
คนนี้และคนนี้กระทำแล้ว พวกเราจักกล่าวอย่างนี้ (ชื่อว่า ภัณฑนะ ความ
บาดหมาง). การล่วงละเมิดทางกายและวาจา ให้ถึงอาบัติ ชื่อว่า กลหะ
(การทะเลาะ). การกล่าวขัดแยงกัน ชื่อว่า วิวาทะ. พวกภิกษุผู้ถึงความวิวาท
กันนั้น ชื่อว่า วิวาทาปันนะ.
บทว่า เปสุญฺญํ ได้แก่ ซึ่งวาจาส่อเสียด. มีคำอธิบายว่า ซึ่งวาจา
ทำให้สูญเสียความเป็นที่รักกัน.

บทว่า ภุกฺขุเปสุญฺเญ ได้แก่ ในเพราะคำส่อเสียดภิกษุทั้งหลาย,
อธิบายว่า ในเพราะคำส่อเสียดที่ภิกษุฟังจากภิกษุแล้วนำเข้าไปบอกแก่ภิกษุ.
สองบทว่า ทฺวีหิ อากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ 2 อย่าง.
บทว่า ปิยกมฺยสฺส วา คือ ของผู้ปรารถนาให้คนเป็นที่รักของเขาว่า
เราจักเป็นที่รักของผู้นี้ อย่างนั้น หนึ่ง
บทว่า เภทาธิปฺปายสฺส วา คือ ของผู้ปรารถนาความแตกร้าว
แห่งคนหนึ่งกับคนหนึ่ง ว่า คนนี้จักแตกกันกับคนนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ หนึ่ง.
บททั้งปวง มีบทว่า ชาติโต วา เป็นอาทิ มีนัยดังกล่าวแล้วใน
สิกขาบทก่อนนั่นแล. แม้ในสิกขาบทนี้ ชนทั้งหมดจนกระทั่งนางภิกษุณีเป็นต้น
ก็ชื่อว่า อนุปสัมบัน.
สองบทว่า น ปิยกมฺยสฺส น เภทาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เห็น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังด่า และรูปหนึ่งอดทนได้แล้วกล่าว
เพราะคนเป็นผู้มักติคนชั่วอย่างเดียว โดยท่านองนี้ว่า โอ! คนไม่มียางอาย
จักสำคัญคนดีชื่อแม้เช่นนี้ว่า ตนควรว่ากล่าวได้เสมอ บทที่เหลือมีอรรถตื้น
ทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน 3 เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1 วาจากับจิต 1
กายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 3 ฉะนั้นแล.
เปสุญญวาทสิกขาบทที่ 3 จบ

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[284] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ยังเหล่าอุบายสกให้กล่าวธรรมโดยบท พวกอุบายสกจึงไม่เคารพ
ไม่ยำเกรง ไม่พระพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ยังเหล่า
อุบายสกให้กล่าวธรรมโดยบท เหล่าอุบายสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติ
ให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่ แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอยังเหล่าอุบาสก ให้กล่าวธรรมโดยบท
เหล่าอุบายสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่
จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ยังเหล่าอุบาสกให้กล่าวธรรมโดยบทเล่า พวกอุบายสกจึงไม่เคารพ