เมนู

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 3


เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[255] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ เก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะ
ถึงวิวาทกัน ไปบอกคือฟังคำของฝ่ายนี้แล้ว บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลาย
ฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะ
เหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เก็บเอา
คำส่อเสียดของพวกภิกษุ ผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะถึงวิวาทกันไปบอก
คือฟังคำของฝ่ายนี้แล้ว บอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น
แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยัง
ไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ไม่เพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอเก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความ
บาดหมาง เกิดทะเลาะ ถึงวิวาทกันไปบอก คือ ฟังคำของฝ่ายนี้ แล้วบอก

แก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อ
ทำลายฝ่ายโน้น เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้น
แล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้เก็บเอาคำส่อเสียดของพวกภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง เกิดทะเลาะ
ถึงวิวาทกันไปบอก คือฟังคำของฝ่ายนี้ แล้วบอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลาย
ฝ่ายนี้ ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เพราะ
เหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น การ
กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


52.3. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[256] ที่ชื่อว่า ส่อเสียด ขยายความว่า วัตถุสำหรับเก็บมาส่อเสียด
มีได้ด้วยอาการ 2 อย่าง คือ ของคนผู้ต้องการจะให้เขาชอบ 1 ของคนผู้
ประสงค์จะให้เขาแตกกัน 1.