เมนู

[ว่าด้วยการวิกัปบาตร]


ก็ในการวิกัป มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- วิกัปมี 2 อย่าง คือวิกัป
ต่อหน้าอย่าง 1 วิกัปลับหลังอย่าง 1. วิกัปต่อหน้าเป็นอย่างไร ? คือ
ภิกษุพึงรู้ว่าบาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางไว้ใกล้หรือมิได้วางไว้
ใกล้ แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่ง
บาตรเหล่านี้ ก็ดี ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต
ซึ่งบาตรเหล่านั้น ก็ดี แล้วกล่าวว่า ตุยฺหํ วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่
ท่าน นี้ชื่อว่าวิกัปต่อหน้าอย่าง 1. ด้วยวิธีวิกัปเพียงเท่านี้จะเก็บไว้ควร
อยู่. แต่จะใช้สอย จะจำหน่าย หรือจะอธิษฐานไม่สมควร. แต่เมื่อ
ภิกษุผู้รับวิกัปกล่าวอย่างนี้ว่า มยฺหํ สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ
วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ
บาตรนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอย จง
จำหน่าย หรือจงกระทำตามปัจจัยก็ตาม ดังนี้ ชื่อว่าถอน. จำเดิมแต่
นั้น แม้การใช้สอยเป็นต้นควรอยู่.
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทราบว่าบาตรมีใบเดียวหรือหลายใบ และวางไว้
ใกล้หรือมิได้วางไว้ใกล้อย่างนั้นเหมือนกัน แล้วกล่าวว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่ง
บาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่งบาตรทั้งหลายเหล่านี้ ก็ดี ว่า เอตํ
ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต ซึ่งบาตรทั้งหลายเหล่านั่น
ก็ดี ในสำนักของภิกษุนั้นนั่นแหละ แล้วระบุชื่อแห่งบรรดาสหธรรมิก
ทั้ง 5 รูปใดรูปหนึ่ง คือ ท่านใดท่านหนึ่ง ที่ตนชอบใจแล้วพึงกล่าวว่า
ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุชื่อว่าติสสะ ดังนี้
ก็ดี ว่า ติสฺสาย ภิกฺขุนิยา... ติสฺสาย สิกฺขมานาย... ติสฺสสฺส
สามเณรสฺส... ติสฺสาย สามเณริยา วิกปฺเปมิ
ข้าพเจ้าวิกัปแก่ภิกษุณี

ชื่อติสสา... แก่สิกขมานาชื่อติสสา... แก่สามเณรชื่อติสสะ... แก่สามเณรี
ชื่อติสสา ดังนี้ ก็ดี นี้ชื่อว่าวิกัปต่อหน้า แม้อีกอย่างหนึ่ง. ด้วยคำเพียง
เท่านี้ จะเก็บไว้ สมควรอยู่, แต่บรรดากิจมีการบริโภคเป็นต้น แม้กิจ
อย่างหนึ่งก็ไม่ควร. แต่เมื่อภิกษุผู้รับวิกัปนั้นกล่าวว่า ติสฺสสฺส ภิกขุโน
สนฺตกํ ฯปฯ ติสฺสาย สามเณริยา สนฺตกํ ปริภุญฺชา วา วิสฺสชฺเชหิ
วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ
บาตรนี้ ของภิกษุชื่อติสสะ ฯลฯ ของ
สามเณรีชื่อติสสา ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงจำหน่ายก็ตาม จงกระทำตาม
ปัจจัยก็ตาม ดังนี้แล้ว ชื่อว่าถอน. จำเดิมแต่นั้น แม้การบริโภคเป็นต้น
ก็สมควร.
วิกัปลับหลังเป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุทราบว่าบาตรมีใบเดียวหรือ
หลายใบ และว่าวางไว้ใกล้ หรือมิได้วางไว้ใกล้อย่างนั้นนั่นแลแล้วกล่าว
ว่า อิมํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนี้ หรือว่า อิเม ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านี้ ก็ดี
ว่า เอตํ ปตฺตํ ซึ่งบาตรนั่น หรือว่า เอเต ปตฺเต ซึ่งบาตรเหล่านั้น
ก็ดี แล้วกล่าวว่า ตุยหํ วิกปฺปนตฺถาย ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อ
ต้องการวิกัป ดังนี้.
ภิกษุผู้รับวิกัปนั้น พึงถามเธอว่า ใครเป็นมิตรหรือเป็นเพื่อน
เห็นกันของท่าน. ลำดับนั้น ภิกษุผู้วิกัปนอกนี้ พึงกล่าวว่า ติสฺโส ภิกฺขุ
ภิกษุชื่อว่าติสสะ ฯ ล ฯ หรือว่า ติสฺสา สามเณรี สามเณรีชื่อว่าติสสา
โดยนัยก่อนนั่นแล. ภิกษุนั้น พึง่กล่าวอีกว่า อหํ ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน
ทมฺมิ ฯเปฯ
หรือว่า ติสฺสาย สามเณริยา ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุ
ชื่อติสสะ ฯ ล ฯ หรือว่า ข้าพเจ้าให้แก่สามเณรีชื่อติสสา. นี้ชื่อว่า
วิกัปลับหลัง. ด้วยการวิกัปเพียงเท่านี้จะเก็บไว้ ควรอยู่, แต่บรรดากิจมี

การบริโภคเป็นต้น กิจแม้อย่างเดียวไม่ควร. เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า
อิตถฺนฺนามสฺส สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา
กโรหิ
บาตรนี้ ของภิกษุชื่อนี้ ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงจำหน่ายก็ตาม
จงกระทำตามปัจจัยก็ตาม โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในวิกัปต่อหน้าอย่างที่
สองนั่นแล ย่อมชื่อว่าถอน. จำเดิมแต่นั้น แม้การจะใช้สอยเป็นต้น ก็ควร.
แต่ข้อแตกต่างกันแห่งวิกัปทั้งสองอย่างนี้ และลำดับแห่งวรรณนาที่ยัง
เหลือทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในวรรณนาแห่ง
ปฐมกฐินสิกขาบทนั่นแหละ พร้อมทั้งสมุฎฐานเป็นต้น ฉะนี้แล.
ปัตตสิกขาบทที่ 1 จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 2
เรื่องภิกษุหลายรูป


[128] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น นายช่างหม้อ
ผู้หนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า พระคุณเจ้าเหล่าใดต้องการบาตร
กระผมจักถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าเหล่านั้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาเป็นอันมาก
ภิกษุที่มีบาตรขนาดเล็ก ย่อมขอบาตรขนาดใหญ่ ภิกษุที่มีบาตรขนาดใหญ่
ย่อมขอบาตรขนาดเล็ก จึงนายช่างหม้อนั้น มัวทำบาตรเป็นอันมากถวาย
ภิกษุทั้งหลายอยู่ ไม่สามารถจะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้ แม้ตนเอง
ก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก