เมนู

[อธิบายการอธิษฐานบาตร]


บรรดาการอธิษฐานและวิกัปนั้น อธิษฐานบาตรมี 2 คือ อธิษฐาน
ด้วยกายอย่าง 1 อธิษฐานด้วยวาจาอย่าง 1. ภิกษุเมื่อจะอธิษฐานด้วย
อำนาจแห่งการอธิษฐาน 2 อย่างนั้น พึงปัจจุทธรณ์บาตรเก่าที่ตั้งอยู่ต่อ
หน้าหรือในที่ลับหลังอย่างนี้ว่า อิมํ ปตฺตํ ปจฺจุทฺธรามิ แปลว่า ข้าพเจ้า
ถอนบาตรใบนี้ หรือว่า เอตํ ปตฺตํ ปจฺจุทฺธรามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถอน
บาตรใบนั่น หรือให้แก่ภิกษุอื่นแล้ว เอามือลูบคลำบาตรใหม่ที่ตั้งอยู่
ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ทำความคำนึงด้วยใจ แล้วทำกายวิการ
อธิษฐานด้วยกาย หรือเปล่งวาจา แล้วอธิษฐานด้วยวาจาว่า อิมํ ปตฺตํ
อธิฏฺฐามิ
แปลว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้.
ในอธิษฐานวิสัยนั้น อธิษฐานมี 2 อย่าง. ถ้าบาตรอยู่ในหัตถบาส
พึงเปล่งวาจาว่า อิมํ ปตฺตํ อธิฏฺฐามิ ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้. ถ้า
บาตรนั้นอยู่ภายในห้องก็ดี ที่ปราสาทชั้นบนก็ดี ในวิหารใกล้เคียงก็ดี
ภิกษุพึงกำหนดสถานที่บาตรตั้งอยู่ แล้วพึงเปล่งวาจาว่า เอตํ ปตฺตํ อธิฏฺ-
ฐามิ
ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนั่น. ก็ภิกษุผู้อธิษฐานแม้อธิษฐานรูปเดียว
ก็ควร. แม้จะอธิษฐานในสำนักของภิกษุอื่น ก็ควร. การอธิษฐานใน
สำนักของภิกษุอื่นมีอานิสงส์ดังต่อไปนี้:- ถ้าเธอเกิดความเคลือบแคลงว่า
บาตร เราอธิษฐานแล้วหรือไม่หนอ ดังนี้, อีกรูปหนึ่งจักเตือนให้นึก
ได้ตัดความสงสัยเสีย. ถ้าภิกษุบางรูปได้บาตรมา 10 ใบ ตนเองประสงค์
จะใช้สอยทั้งหมดทีเดียว, อย่าพึงอธิษฐานทั้งหมด. อธิษฐานบาตรใบ
หนึ่งแล้ววันรุ่งขึ้นปัจจุทธรณ์บาตรนั้นแล้วพึงอธิษฐานใบใหม่. โดยอุบาย
นี้อาจจะได้บริหาร (การคุ้มครอง) ตั้ง 100 ปี.