เมนู

ใช้สอยอย่างใช้สอยภาชนะ ไม่ควรอธิษฐาน ไม่ควรวิกัป. ส่วนบาตร
7 ชนิดนอกนี้ พึงอธิษฐานหรือวิกัปไว้ใช้เถิด.
เมื่อภิกษุไม่กระทำอย่างนี้ ให้บาตรนั้นล่วง 10 วันไป เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ เมื่อภิกษุให้บาตรแม้ทั้ง 7 ชนิด ล่วงกาลมี
10 วันเป็นอย่างยิ่งไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แล.
ข้อว่า นิสฺสคฺคิยํ ปตฺตํ อนิสฺสชฺชิตฺวา ปริภุญฺชติ พึงทราบ
ความว่า เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยคอย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุดื่มยาคูแล้ว
ล้างบาตร เป็นทุกกฏ. เมื่อฉันของควรเคี้ยว ฉันภัตตาหารแล้วล้างบาตร
เป็นทุกกฏ.

[อธิบายบาตรที่ควรอธิษฐานและวิกัป]


ก็ในคำว่า อนาปตฺติ อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเฐติ วิกปฺเปติ นี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบแม้บาตรที่ได้ประมาณเป็นบาตรควรอธิษฐานและวิกัป โดยนัย
ดังจะกล่าวอย่างนี้:-
บาตรเหล็ก ระบมแล้วด้วยการระบม 5 ไฟ บาตรดินระบมแล้ว
ด้วยการระบม 2 ไฟ จึงควรอธิษฐาน. บาตรทั้ง 2 ชนิด เมื่อให้มูลค่า
ที่ควรให้แล้วนั่นแล ถ้าระบมยังหย่อนอยู่แม้เพียงหนึ่งไฟหรือยังไม่ได้ให้
มูลค่าแม้เพียงกากณิกหนึ่ง ไม่ควรอธิษฐาน. ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า
ท่านจงให้ในเวลาท่านมีมูลค่า ท่านจงอธิษฐานใช้สอยเถิด ดังนี้ ก็ยัง
ไม่ควรอธิษฐานแท้. เพราะว่า ยังไม่ถึงการนับว่าเป็นบาตร เพราะการ
ระบมยังหย่อนอยู่, ยังไม่ถึงความเป็นบาตรของตน ยังเป็นของผู้อื่นอยู่
ทีเดียว เพราะมูลค่าทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งยังไม่ได้ให้; เพราะฉะนั้น

เมื่อระบม และเมื่อให้มูลค่าเสร็จแล้วนั่นแล จึงเป็นบาตรควรอธิษฐาน
บาตรใบที่ควรอธิษฐานเท่านั้น จึงควรวิกัป. บาตรนั้น จะมาถึงมือแล้ว
ก็ตาม ยังไม่มาถึงก็ตาม ควรอธิษฐาน หรือควรวิกัปไว้เสีย.
ก็ถ้าว่า ช่างบาตรได้มูลค่าแล้ว หรือเป็นผู้ประสงค์จะถวายเอง
กล่าวว่า ท่านขอรับ ! ผมจักทำบาตรถวายท่าน ระบมแล้วในวันชื่อโน้น
จัก เก็บไว้ และภิกษุให้ล่วง 10 วันไป จากวันที่ช่างบาตรนั้นกำหนดไว้
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ก็ถ้าว่า ช่างบาตรกล่าวว่า ผมจักทำบาตรถวาย
ท่าน ระบมแล้วจักส่งข่าวมาให้ทราบ แล้วทำเหมือนอย่างนั้น, ส่วน
ภิกษุผู้ที่ช่างบาตรนั้นวานไปไม่บอกแก่ภิกษุนั้น, ภิกษุอื่นเห็น หรือได้ยิน
จึงบอกว่า ท่านขอรับ ! บาตรของท่านเสร็จแล้ว, การบอกของภิกษุ
นั่นไม่เป็นประมาณ. แต่ในเวลาที่ภิกษุซึ่งช่างบาตรนั้นวานนั่นแหละบอก,
เมื่อภิกษุให้ล่วง 10 วันไปจำเดิมแต่วันที่ได้ยินคำบอกกล่าวของภิกษุนั้น
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ถ้าช่างบาตรกล่าวว่า ผมจักทำบาตรถวายท่าน
ระบมแล้วจักส่งไปในมือของภิกษุบางรูป แล้วกระทำตามพูดนั้น, แต่ภิกษุ
ผู้รับบาตรมาเก็บไว้ในบริเวณของตนแล้วไม่บอกแก่เธอ ภิกษุอื่นบางรูป
กล่าวว่า ท่านขอรับ ! บาตรที่ได้มาใหม่สวยดีบ้างไหม ? เธอกล่าวว่า
คุณ ! บาตรที่ไหนกัน ? ภิกษุบางรูปนั้นกล่าวว่า ช่างบาตรส่งมาในมือ
ของภิกษุชื่อนี้. ถ้อยคำของภิกษุแม้นี้ก็ไม่เป็นประมาณ. แต่ในเวลาที่ภิกษุ
นั้นให้บาตร, เมื่อเธอให้ล่วง 10 วันไปนับแต่วันที่ได้บาตรมา เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์. เพราะฉะนั้น อย่าให้ล่วง 10 วัน พึงอธิษฐานหรือ
พึงวิกัปเสีย.

[อธิบายการอธิษฐานบาตร]


บรรดาการอธิษฐานและวิกัปนั้น อธิษฐานบาตรมี 2 คือ อธิษฐาน
ด้วยกายอย่าง 1 อธิษฐานด้วยวาจาอย่าง 1. ภิกษุเมื่อจะอธิษฐานด้วย
อำนาจแห่งการอธิษฐาน 2 อย่างนั้น พึงปัจจุทธรณ์บาตรเก่าที่ตั้งอยู่ต่อ
หน้าหรือในที่ลับหลังอย่างนี้ว่า อิมํ ปตฺตํ ปจฺจุทฺธรามิ แปลว่า ข้าพเจ้า
ถอนบาตรใบนี้ หรือว่า เอตํ ปตฺตํ ปจฺจุทฺธรามิ แปลว่า ข้าพเจ้าถอน
บาตรใบนั่น หรือให้แก่ภิกษุอื่นแล้ว เอามือลูบคลำบาตรใหม่ที่ตั้งอยู่
ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ทำความคำนึงด้วยใจ แล้วทำกายวิการ
อธิษฐานด้วยกาย หรือเปล่งวาจา แล้วอธิษฐานด้วยวาจาว่า อิมํ ปตฺตํ
อธิฏฺฐามิ
แปลว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้.
ในอธิษฐานวิสัยนั้น อธิษฐานมี 2 อย่าง. ถ้าบาตรอยู่ในหัตถบาส
พึงเปล่งวาจาว่า อิมํ ปตฺตํ อธิฏฺฐามิ ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้. ถ้า
บาตรนั้นอยู่ภายในห้องก็ดี ที่ปราสาทชั้นบนก็ดี ในวิหารใกล้เคียงก็ดี
ภิกษุพึงกำหนดสถานที่บาตรตั้งอยู่ แล้วพึงเปล่งวาจาว่า เอตํ ปตฺตํ อธิฏฺ-
ฐามิ
ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนั่น. ก็ภิกษุผู้อธิษฐานแม้อธิษฐานรูปเดียว
ก็ควร. แม้จะอธิษฐานในสำนักของภิกษุอื่น ก็ควร. การอธิษฐานใน
สำนักของภิกษุอื่นมีอานิสงส์ดังต่อไปนี้:- ถ้าเธอเกิดความเคลือบแคลงว่า
บาตร เราอธิษฐานแล้วหรือไม่หนอ ดังนี้, อีกรูปหนึ่งจักเตือนให้นึก
ได้ตัดความสงสัยเสีย. ถ้าภิกษุบางรูปได้บาตรมา 10 ใบ ตนเองประสงค์
จะใช้สอยทั้งหมดทีเดียว, อย่าพึงอธิษฐานทั้งหมด. อธิษฐานบาตรใบ
หนึ่งแล้ววันรุ่งขึ้นปัจจุทธรณ์บาตรนั้นแล้วพึงอธิษฐานใบใหม่. โดยอุบาย
นี้อาจจะได้บริหาร (การคุ้มครอง) ตั้ง 100 ปี.