เมนู

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 1


พรรณนาปัตตสิกขาบท


ปัตตสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในปัตตสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปตฺตวณิชฺชํ มีความว่า พวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จักเที่ยวทำการขายบาตร หรือออกร้านขายภาชนะดินในบ้านและนิคม
เป็นต้น. ภาชนะท่านเรียกว่า อามัตตะ (ในคำว่า อามตฺติกาปณํ).
ภาชนะเหล่านั้นเป็นสินค้าของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ชื่อว่า อามัตติกา
(ผู้มีภาชนะเป็นสินค้า). ร้านตลาดของผู้มีภาชนะเป็นสินค้าเหล่านั้น ชื่อว่า
อามัตติกาปณะ. อธิบายว่า ร้านขายสินค้าของพวกช่างหม้อ.

[อธิบายขนาดบาตร 3-9 ขนาด ]


หลายบทว่า ตโย ปตฺตสฺส วณฺณา ได้แก่ ขนาดแห่งบาตร
3 ขนาด.
สองบทว่า อฑฺฒาฬฺหโกทนํ คณฺหติ มีความว่า ย่อมจุข้าวสุก
แห่งข้าวสาร 2 ทะนาน โดยทะนานมคธ. ในอันธกอรรถกถาท่านกล่าว
ว่า ที่ชื่อว่า ทะนานมคธ มี 12 ปละครึ่ง. ในมหาอรรถกถาท่านกล่าว
ว่า ในเกาะสิงหล ทะนานตามปกติใหญ่ ทะนานของชาวทมิฬเล็ก, ทะนาน
มคธ ได้ขนาด. ทะนานครั้ง โดยทะนานมคธนั้น เป็นหนึ่งทะนานสิงหล.
บทว่า จตุพฺภาคขาทนียํ มีความว่า ของเคี้ยว ประมาณเท่า
ส่วนที่ 4 แห่งข้าวสุก. ขาทนียะนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งแกง ถั่วเขียว
พอหยิบด้วยมือได้.

สองบทว่า ตทุปิยญฺจ พฺยญฺชนํ มีความว่า กับข้าวมีปลาเนื้อ
ผักดองผลไม้และหน่อไม้เป็นต้น อันสมควรแก่ข้าวสุกนั้น.
ในบาตรนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- พึงเอาข้าวสารแห่งข้าวสาลีเก่า
(ซึ่งเก็บไว้แรมปี) ที่ไม่หัก ซึ่งซ้อมบริสุทธิ์ดีแล้ว 2 ทะนานมคธ หุง
ให้เป็นข้าวสุกด้วยข้าวสารเหล่านั้นไม่เช็ดน้ำ ไม่เป็นข้าวท้องเล็น ไม่แฉะ
ไม่เป็นก้อน สละสลวยดี เช่นกับกองดอกมะลิตูมในหม้อ แล้วบรรจุลง
ในบาตรไม่ให้เหลือ เพิ่มแกงถั่วที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงทุกอย่าง ไม่ข้นนัก
ไม่เหลวนัก พอมือหยิบได้ลงไป ประมาณเท่าส่วนที่ 4 แห่งข้าวสุกนั้น.
แต่นั้น จึงเพิ่มกับข้าวมีปลา เนื้อเป็นต้น ลงไปสมควรแก่คำข้าวเป็นคำๆ
จนเพียงพอกับคำข้าวเป็นอย่างยิ่ง. ส่วนเนยใส น้ำมัน รสเปรียงและน้ำ
ข้าวเป็นต้น ไม่ควรนับ. เพราะของเหล่านั้น มีคติอย่างข้าวสุกนั่นเทียว
ไม่อาจเพื่อจะลดลงและไม่อาจจะเพิ่มขึ้นได้. อาหารที่บรรจุลงอย่างนี้แม้
ทั้งหมดนั่น ถ้าตั้งอยู่เสมอแนวล่างแห่งขอบปากบาตร, เมื่อเอาเส้นด้าย
หรือไม้ซีก (เสี้ยนตาล) ปาดไป (ของในบาตรนี้ ) ถูกที่สุดภายใต้เส้นด้าย
หรือไม้ซีกนั้น(คือของในบาตรมีข้าวสุกทะนานครึ่งเป็นต้นนี้ถูกที่สุดเบื้อง
ล่างแห่งด้ายหรือเสี้ยนตาลของบุคคลผู้ตัดด้วยด้ายหรือเสี้ยนตาล), บาตรนี้
ชื่อว่าบาตรขนาดใหญ่ (อย่างกลาง). ถ้าของในบาตรนั้นพูนเป็นจอม
เลยแนว (ขอบปากบาตร) นั้นขึ้นมา, บาตรนี้ชื่อว่าบาตรขนาดใหญ่อย่าง
เล็ก. ถ้าของในบาตรนั้น ไม่ถึงแนวขอบ (ปากบาตร) พร่องอยู่ภายใน
เท่านั้น, บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่อย่างใหญ่.
บทว่า นาฬิโกทนํ ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาร 1 ทะนานโดย
ทะนานมคธ.

บทว่า ปตฺโถทนํ ได้แก่ ข้าวสุกกึ่งทะนานโดยทะนานมคธ. บทที่
เหลือ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. แต่มีความแปลกกันในเหตุ
สักว่าชื่อ ดังต่อไปนี้:- ถ้าของมีข้าวสุก 1 ทะนานเป็นต้นแม้ทั้งหมด
ที่บรรจุลงแล้ว อยู่เสมอแนวขอบล่าง โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง. บาตรนี้
ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง (อย่างกลาง). ถ้าของพูนเป็นจอมเลยแนวขอบ
นั้นขึ้นมา, บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดกลางอย่างเล็ก. ถ้าไม่ถึงแนว
ขอบนั้น, พร่องอยู่เพียงภายในเท่านั้น, บาตรนี้ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง
อย่างใหญ่.
ถ้าของทั้งหมดมีข้าวสุกประมาณกึ่งทะนานเป็นต้น ที่บรรจุลงแล้ว
อยู่เสมอแนวล่าง (แห่งขอบปากบาตร), บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก
(อย่างกลาง). ถ้าของพูนเป็นจอมเลยแนวขอบนั้นขึ้นมา, บาตรนี้ ชื่อว่า
บาตรขนาดเล็กอย่างเล็ก. ถ้าของไม่ถึงแนวขอบนั้นพร่องอยู่ภายในเท่า
นั้น, บาตรนี้ ชื่อว่า บาตรขนาดเล็กอย่างใหญ่. ผู้ศึกษาพึงทราบบาตร
9 ชนิดเหล่านี้ โดยประการดังกล่าวมาฉะนี้แล.
บรรดาบาตร 9 ชนิดนั้น บาตร 2 ชนิด คือ บาตรขนาดใหญ่
อย่างใหญ่ 1 บาตรเล็กอย่างเล็ก 1 ไม่จัดเป็นบาตร (เป็นบาตรใช้ไม่ได้).
จริงอยู่ คำว่า ใหญ่กว่านั้น ไม่ใช่บาตร เล็กกว่านั้น ไม่ใช่บาตร นี้ตรัส
หมายเอาบาตร 2 ชนิดนั่น. แท้จริง บรรดาบาตร 2 ชนิด บาตรขนาด
ใหญ่อย่างใหญ่ คือใหญ่กว่านั้น ตรัสว่า ไม่ใช่บาตร เพราะใหญ่กว่า
ขนาดใหญ่. และบาตรขนาดเล็กอย่างเล็ก คือ เล็กกว่านั้น ตรัสว่า
ไม่ใช่บาตร เพราะเล็กกว่าขนาดเล็ก. เพราะฉะนั้น บาตรเหล่านี้ ควร

ใช้สอยอย่างใช้สอยภาชนะ ไม่ควรอธิษฐาน ไม่ควรวิกัป. ส่วนบาตร
7 ชนิดนอกนี้ พึงอธิษฐานหรือวิกัปไว้ใช้เถิด.
เมื่อภิกษุไม่กระทำอย่างนี้ ให้บาตรนั้นล่วง 10 วันไป เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ เมื่อภิกษุให้บาตรแม้ทั้ง 7 ชนิด ล่วงกาลมี
10 วันเป็นอย่างยิ่งไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แล.
ข้อว่า นิสฺสคฺคิยํ ปตฺตํ อนิสฺสชฺชิตฺวา ปริภุญฺชติ พึงทราบ
ความว่า เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยคอย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุดื่มยาคูแล้ว
ล้างบาตร เป็นทุกกฏ. เมื่อฉันของควรเคี้ยว ฉันภัตตาหารแล้วล้างบาตร
เป็นทุกกฏ.

[อธิบายบาตรที่ควรอธิษฐานและวิกัป]


ก็ในคำว่า อนาปตฺติ อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเฐติ วิกปฺเปติ นี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบแม้บาตรที่ได้ประมาณเป็นบาตรควรอธิษฐานและวิกัป โดยนัย
ดังจะกล่าวอย่างนี้:-
บาตรเหล็ก ระบมแล้วด้วยการระบม 5 ไฟ บาตรดินระบมแล้ว
ด้วยการระบม 2 ไฟ จึงควรอธิษฐาน. บาตรทั้ง 2 ชนิด เมื่อให้มูลค่า
ที่ควรให้แล้วนั่นแล ถ้าระบมยังหย่อนอยู่แม้เพียงหนึ่งไฟหรือยังไม่ได้ให้
มูลค่าแม้เพียงกากณิกหนึ่ง ไม่ควรอธิษฐาน. ถ้าเจ้าของบาตรกล่าวว่า
ท่านจงให้ในเวลาท่านมีมูลค่า ท่านจงอธิษฐานใช้สอยเถิด ดังนี้ ก็ยัง
ไม่ควรอธิษฐานแท้. เพราะว่า ยังไม่ถึงการนับว่าเป็นบาตร เพราะการ
ระบมยังหย่อนอยู่, ยังไม่ถึงความเป็นบาตรของตน ยังเป็นของผู้อื่นอยู่
ทีเดียว เพราะมูลค่าทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งยังไม่ได้ให้; เพราะฉะนั้น